สามารถเข้าใช้งานหัวข้อนี้ได้จากเมนู [ Data (ข้อมูล) -> Branch (สาขา)
]
หัวข้อนี้ มีไว้สำหรับ แก้ไข, ค้นหา และ เลือก ข้อมูล สาขา
และใช้สำหรับกำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา
สาขา (Branch) มีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้
1. ส่วนที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูล - เป็นส่วนที่ใช้ระบุขอบเขตในการค้นหาข้อมูลให้แคบลง ในกรณีที่มีข้อมูล
เยอะ การระบุขอบเขตในการค้นหาจะช่วยทำให้หาข้อมูลได้เร็วขึ้น สามารถค้นหาข้อมูลได้จาก
- Branch
Name (ชื่อสาขา)
2. ส่วนตารางที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่ค้นหามาได้ - มีหัวข้อดังต่อไปนี้
- ID - คือหมายเลขประจำตัวของสาขาที่โปรแกรมสร้างขึ้น
- รหัสสาขา - รหัสของสาขา
- ชื่อกิจการ - ชื่อกิจการ
- ชื่อสาขา - ชื่อสาขา
- ส่วนลด
(%)- ส่วนลด % ของสาขานี้
- จำนวนเครื่อง - จำนวนเครื่องคิดเงินในสาขานี้
- เบอร์โทรศัพท์ - เบอร์โทรศัพท์ของสาขา
- FAX - เบอร์ FAX ของสาขา
- เลขผู้เสียภาษี - เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของสาขา
- ที่อยู่ - ที่อยู่ของสาขา
- Status - บอกว่าสาขานี้อยู่ในสถานะไหน - ใช้อยู่ หรือ ไม่ใช้แล้ว
- Create
Officer - แสดงชื่อพนักงานที่เป็นคนสร้างรายการนี้ขึ้นมา
- Create
Time - แสดงวันที่และเวลาที่สร้างรายการนี้ขึ้นมา
- Update
Officer - แสดงชื่อพนักงานคนล่าสุดที่เป็นคนแก้ไขรายการนี้
- Update
Time - แสดงวันที่และเวลาล่าสุดที่มีการแก้ไขรายการนี้
3. ส่วนปุ่มที่ใช้กระทำการต่างๆ - ในนี้จะประกอบด้วย
- ปุ่ม
Search (ค้นหา) - มีไว้สำหรับค้นหารายการสาขา โดยก่อนค้นหา
สามารถระบุขอบเขตในการค้นหา ได้ที่ ส่วนที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูล (ส่วนที่ 1)
- ปุ่ม
Edit (แก้ไข) - มีไว้สำหรับแก้ไขข้อมูลสาขา
- ให้เลือกรายการสาขาที่ต้องการแก้ไขในตาราง
(ในส่วนที่ 2) แล้วกดปุ่ม Edit (แก้ไข) จะมี
Form ขึ้นมาให้แก้ไขสาขา ตามภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบน สามารถแก้ไขข้อมูลได้ โดยแต่ละช่องมีความหมายตามนี้
- Name (ชื่อกิจการ) - ชื่อของลูกหนี้ หรือ ชื่อลูกค้า
- Branch Code (รหัสสาขา) - รหัสของสาขา สามารถกำหนดได้เอง แต่รหัสสาขา
จะซ้ำกันไม่ได้
- Branch Name (ชื่อสาขา) - ชื่อสาขา
- Address (ที่อยู่) - ที่อยู่ของสาขา
- Tel (เบอร์โทรศัพท์) - เบอร์โทรศัพท์ของสาขา
- FAX (เบอร์โทรสาร) - เบอร์ FAX ของสาขา
- Tax Code (หมายเลขผู้เสียภาษี) - เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของสาขา
- Discount (ส่วนลด ของสาขานี้) - ส่วนลด % ของสาขานี้ จะมีผลตอนเปิดใบขาย
ส่วนลดที่กำหนดตรงนี้ จะเป็นส่วนลดท้ายบิลของใบขายที่เปิดจากสาขานี้
- เมื่อทำการแก้ไขข้อมูลสาขาแล้วให้กดปุ่ม
OK (แก้ไข) เพื่อทำการบันทึกการแก้ไข
- ปุ่ม
Set Default Property (กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรม ของสาขา) -
เอาไว้กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้ โปรแกรมของสาขา โดยเมื่อกดปุ่มนี้แล้ว จะมีหน้าจอขึ้นมาให้เลือกตั้งค่า
โดยแต่ละ Tab ก็จะมีหัวข้อย่อยให้เลือกในการตั้งค่าต่างๆ ซึ่งสามารถอธิบายการตั้งค่าต่างๆ ได้ต่อไปนี้
- Product (สินค้า) - ค่าตั้งต้นในส่วนของ หัวข้อ สินค้า (Product)
สามารถกำหนดค่าได้ตามนี้
1. เลือกขนาดกระดาษพิมพ์รายการสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 5.5 นิ้ว
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 11 นิ้ว
2. เน้นใช้ Comment (หมายเหตุ) แบบหลายบรรทัด -
สามารถใส่หมายเหตุของสินค้าได้หลาย บรรทัด เหมาะสำหรับเวลาพิพม์บาร์โค้ดสินค้า
แล้วต้องการพิพม์หมายเหตุ กำกับ เช่นวิธีการใช้เป็นต้น โดยจะมีตัวเลือกคือ
- ไม่เน้น - ใช้หมายเหตุแบบบรรทัดเดียว
- เน้น - ใช้หมายเหตุได้หลายบรรทัด (เวลาพิมพ์ Label Barcode
สามารถพิพม์ หมายเหตุ ได้หลายบรรทัด)
- PO (สั่งซื้อสินค้า) - ค่าตั้งต้นในส่วนของ หัวข้อ สั่งซื้อสินค้า Purchase Order
สามารถกำหนดค่าได้ตามนี้
1. ภาษีของการสั่งซื้อสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- ยกเว้นภาษี
- คิดภาษี
2. ลักษณะภาษีเวลาสั่งซื้อ - มีตัวเลือกคือ
- ราคาสินค้ายังไม่รวมภาษี (แยกนอก)
- ราคาสินค้ารวมภาษีแล้ว (รวมใน)
3. สร้างเลขที่บิลแบบอัตโนมัติ -
สำหรับให้โปรแกรมสร้างเลขที่บิลให้แบบอัตโนมัติ มีตัวเลือกคือ
- ป้อนเลขที่บิลเอง
-
Auto - เลข 7 หลัก เช่น บิลเลขที่ 77 ได้เป็น 0000077
-
Auto - ปี-ตามด้วยเลข 7 หลัก เช่น ปี 2575 ได้เป็น 750000077
-
Auto - ปี-เดือน-ตามด้วยเลข 7 หลัก เช่น ปี 2575 เดือน 9 ได้เป็น
75090000077
-
Auto - ปี-ตามด้วยเลข 7 หลัก ตัวเลขจะนับ 1 ใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนปี เช่น
750000077
-
Auto - ปี-เดือน-ตามด้วยเลข 5 หลัก ตัวเลขจะนับ 1
ใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนเดือน เช่น 750900077
4. แสดงหน้าจอเลือกแบบพิพม์หลังจากบันทึกรายการ - มีตัวเลือกคือ
- เวลาบันทึกรายการ ให้แสดง Dialog พิมพ์ ก่อนจะทำการพิมพ์ใบสั่งซื้อ
- เวลาบักทึกรายการ ไม่ต้องแสดง Dialog พิมพ์ และ
ให้สั่งพิมพ์ใบสั่งซื้อเลย
- เวลาบันทึกรายการ ไม่ต้องแสดง Dialog พิมพ์ และ
ไม่ต้องพิมพ์ใบสั่งซื้อ
5. เลือกกระดาษขนาดพิพม์ใบสั่งซื้อ - มีตัวเลือกคือ
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 5.5 นิ้ว
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 11 นิ้ว
- พิมพ์ใบ PO แบบพิมพ์เฉพาะส่วนข้อมูล (กระดาษที่ทำบล๊อกมาแล้ว)
6. พิมพ์เส้นขอบตารางในใบสั่งซื้อ - มีตัวเลือกคือ
- ไม่พิพม์
- พิมพ์
7. พิมพ์เลขที่สาขา ก่อนหน้าเลขที่บิล - มีตัวเลือกคือ
- ไม่พิพม์
- พิพม์ (เช่น สาขา 5 เลขที่บิลคือ 610000999 จะได้เป็น 5-610000999)
- Buy (ซื้อ) - ค่าตั้งต้นในส่วนของ หัวข้อ ซื้อ (Buy) สามารถกำหนดค่าได้ตามนี้
1. ภาษีของการซื้อสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- ยกเว้นภาษี
- คิดภาษี
2. ลักษณะภาษีเวลาซื้อสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- ราคาสินค้ายังไม่รวมภาษี (แยกนอก)
- ราคาสินค้ารวมภาษีแล้ว (รวมใน)
3. ราคาซื้อสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- ราคาซื้อแบบปกติ (เวลาเพิ่มสินค้าลงในรายการซื้อ
โปรแกรมจะใส่ราคาเป็นศูนย์)
- ดึงราคาที่เคยซื้อครั้งล่าสุด (โปรแกรมดังราคาสินค้าที่เคยซื้อไปล่าสุด
มาใส่ในรายการที่จะซื้อ)
4. เลือกขนาดกระดาษพิมพ์ใบซื้อ - มีตัวเลือกคือ
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 5.5 นิ้ว
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 11 นิ้ว
5. แสดงหน้าจอเลือกแบบพิมพ์หลังจากบันทึกใบซื้อ - มีตัวเลือกคือ
- เวลาบันทึกรายการ ให้แสดง Dialog พิมพ์ ก่อนจะทำการพิมพ์ใบซื้อ
- เวลาบักทึกรายการ ไม่ต้องแสดง Dialog พิมพ์ และ ให้สั่งพิมพ์ใบซื้อเลย
- เวลาบันทึกรายการ ไม่ต้องแสดง Dialog พิมพ์ และ ไม่ต้องพิมพ์ใบซื้อ
- Stock (คลังสินค้า) - ค่าตั้งต้นในส่วนของ หัวข้อ คลังสินค้า (Stock)
สามารถกำหนดค่าได้ตามนี้
1. เลือกขนาดกระดาษพิมพ์รายการคลังสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 5.5 นิ้ว
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 11 นิ้ว
2. เลือกขนาดกระดาษพิมพ์รายการโอนสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 5.5 นิ้ว
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 11 นิ้ว
3. ตัดสินค้าที่ใกล้หมดอายุออกก่อนโดยอัตโนมัติ - ใช้กับระบบสินค้าหมดอายุ
เท่านั้น มีตัวเลือกคือ
- ใช้ [Auto] (เวลาโอนโปรแกรมจะตัดสินค้าในคลังสินค้า
ที่ใกล้หมดอายุออกก่อน โดยอัตโนมัติ)
- ไม่ใช้ [Manual] (เลือกวันหมดอายุของสินค้าเองในตอนโอน)
4. เลือกขนาดกระดาษพิมพ์รายการตรวจนับสินค้าในคลังสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 5.5 นิ้ว
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 11 นิ้ว
- Quotation (เสนอราคา) - ค่าตั้งต้นในส่วนของ หัวข้อ เสนอราคา (Quotation)
สามารถกำหนดค่าได้ตามนี้
1. ภาษีของการเสนอราคา - มีตัวเลือกคือ
- ยกเว้นภาษี
- คิดภาษี
2. ลักษณะภาษีเวลาเสนอราคา - มีตัวเลือกคือ
- ราคาสินค้ายังไม่รวมภาษี (แยกนอก)
- ราคาสินค้ารวมภาษีแล้ว (รวมใน)
3. สร้างเลขที่บิลแบบอัตโนมัติ -
สำหรับให้โปรแกรมสร้างเลขที่บิลให้แบบอัตโนมัติ มีตัวเลือกคือ
- ป้อนเลขที่บิลเอง
-
Auto - เลข 7 หลัก เช่น บิลเลขที่ 77 ได้เป็น 0000077
-
Auto - ปี-ตามด้วยเลข 7 หลัก เช่น ปี 2575 ได้เป็น 750000077
-
Auto - ปี-เดือน-ตามด้วยเลข 7 หลัก เช่น ปี 2575 เดือน 9 ได้เป็น
75090000077
-
Auto - ปี-ตามด้วยเลข 7 หลัก ตัวเลขจะนับ 1 ใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนปี เช่น
750000077
-
Auto - ปี-เดือน-ตามด้วยเลข 5 หลัก ตัวเลขจะนับ 1
ใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนเดือน เช่น 750900077
4. แสดงหน้าจอเลือกแบบพิมพ์หลังจากบันทึกการขาย - มีตัวเลือกคือ
- เวลาบันทึกรายการ ให้แสดง Dialog พิมพ์ ก่อนจะทำการพิมพ์ใบ
เสนอราคา
- เวลาบักทึกรายการ ไม่ต้องแสดง Dialog พิมพ์ และ ให้สั่งพิมพ์ใบ
เสนอราคาเลย
- เวลาบันทึกรายการ ไม่ต้องแสดง Dialog พิมพ์ และ ไม่ต้องพิมพ์ใบ
เสนอราคา
5. เลือกขนาดกระดาษพิมพ์ใบเสนอราคา - มีตัวเลือกคือ
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 5.5 นิ้ว
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 11 นิ้ว
- พิมพ์ใบ เสนอราคา แบบพิมพ์เฉพาะส่วนข้อมูล
(กระดาษที่ทำบล๊อกมาแล้ว)
6. พิมพ์เส้นขอบตารางในใบเสนอราคา - มีตัวเลือกคือ
- ไม่พิพม์
- พิมพ์
7. พิมพ์เลขที่สาขา ก่อนหน้าเลขที่บิล - มีตัวเลือกคือ
- ไม่พิพม์
- พิพม์ (เช่น สาขา 5 เลขที่บิลคือ 610000999 จะได้เป็น 5-610000999)
8. พิมพ์หมายเหตุกำกับใบเสนอราคา - มีตัวเลือกคือ
- ไม่พิพม์
- พิมพ์
- Sell (ขาย) 1 - ค่าตั้งต้นในส่วนของ หัวข้อ ขาย (Sell) สามารถกำหนดค่าได้ตามนี้
1. ภาษีของการขายสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- ยกเว้นภาษี
- คิดภาษี
2. ลักษณะภาษีเวลาขายสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- ราคาสินค้ายังไม่รวมภาษี (แยกนอก)
- ราคาสินค้ารวมภาษีแล้ว (รวมใน)
3. สร้างเลขที่ใบกำกับแบบอัตโนมัติ - มีตัวเลือกคือ
- ป้อนเลขที่ใบกำกับภาษีเอง
-
Auto - เลข 7 หลัก เช่น บิลเลขที่ 77 ได้เป็น 0000077
-
Auto - ปี-ตามด้วยเลข 7 หลัก เช่น ปี 2575 ได้เป็น 750000077
-
Auto - ปี-เดือน-ตามด้วยเลข 7 หลัก เช่น ปี 2575 เดือน 9 ได้เป็น
75090000077
-
Auto - ปี-ตามด้วยเลข 7 หลัก ตัวเลขจะนับ 1 ใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนปี เช่น
750000077
-
Auto - ปี-เดือน-ตามด้วยเลข 5 หลัก ตัวเลขจะนับ 1
ใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนเดือน เช่น 750900077
4. การตัดสต็อกเวลาขายสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- ขายแบบ FIFO (First In First Out) - ตัด Stock
ตัวที่อยู่นานที่สุดออกก่อน
- ขายแบบ FILO (First In Last Out) - ตัด Stock
ตัวที่เพิ่งเข้ามาใหม่ล่าสุดออกก่อน
5. ตัดสินค้าที่ใกล้หมดอายุออกก่อนโดยอัตโนมัติ - ใช้คู่กับระบบสินค้าหมดอายุ
เท่านั้น โดยมีตัวเลือกคือ
- ใช้ [Auto] (เวลาขายโปรแกรมจะตัดสินค้าในคลังสินค้า
ที่ใกล้หมดอายุออกก่อน โดยอัตโนมัติ)
- ไม่ใช้ [Manual] (เลือกวันหมดอายุของสินค้าเองในตอนขาย)
6. ช่องราคาขาย เริ่มต้น - เวลาเข้าหน้าขายจะใช้ช่องราคาขายตามที่เลือก โดย
มีตัวเลือกคือ
- ใช้ราคาขายที่ผูกกับลูกค้า - ใช้ช่องราคาขายที่กำหนดในข้อมูลลูกค้า
- ราคาขาย 1 - ใช้ราคาขายช่อง 1
- ราคาขาย 2 - ใช้ราคาขายช่อง 2
- ราคาขาย 3 - ใช้ราคาขายช่อง 3
7. เปิดใช้ส่วนลดเงินสดในรายการขายแต่ละบรรทัด -
ปกติหน้าจอขายจะมีแต่ส่วนลด % แต่ถ้าเปิด option นี้จะสามารถใช้ได้ทั้งส่วนลด % และ ส่วนลดเงินสด
ในบรรทัดเดียวกัน โดยมีตัวเลือกคือ
- ไม่เปิด
- เปิด
8. การเปลี่ยนชื่อสินค้าเวลาขาย - ใช้ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อสินค้าที่จะพิมพ์
ออกใบขาย เพราะสำหรับบางกรณี ในโปรแกรมมีชื่อสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ แต่ลูกค้าต้องการต้องการ
ให้แสดงเป็นภาษาไทย โดยมีตัวเลือกคือ
- ไม่ได้ (ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อสินค้าเวลาขาย)
- ได้ (สามารถเปลี่ยนชื่อสินค้าเวลาขาย)
9. รวมจำนวนถ้าหากยิงบาร์โค้ดเหมือนกับรายการล่าสุด - มีตัวเลือกคือ
- รวม (ถ้ายิงบาร์โค้ดเหมือนกับรายการล่าสุด ให้เอาจำนวนไปรวมกับ
รายการล่าสุด)
- ไม่รวม (แยกรายการขายออกมาเป็นอีกบรรทัดหนึ่ง ถึงแม้ว่าบาร์โค้ด
จะเหมือนกับรายการล่าสุด)
0. ใส่จำนวนเงินสด ที่ได้รับจากการขาย อัตโนมัติ - เวลาเก็บเงินสด
ตรงช่องเงินที่ได้รับจากลูกค้า จะใส่จำนวนเงินในช่อง รวมยอดค้างชำระ โดยมีตัวเลือกคือ
- ใช้งาน (ใส่จำนวนเงินสดเท่ากับยอดที่ต้องเก็บเงินโดยอัตโนมัติ)
- ไม่ใช้งาน
A. กดปุ่ม รับเงินสดแบบอัตโนมัติ - ในหน้าเก็บเงินจะมีให้เลือกเก็บเงิน หลายแบบ
แต่ตัวเลือกนี้จะเลือกเก็บเงินสดให้อัตโนมัติ โดยมีตัวเลือกคือ
- ใช้งาน (ตอนรับเงินในหน้าขาย โปรแกรมจะกดปุ่มรับเงินสด
ให้อัตโนมัติ
- ไม่ใช้งาน
B. แสดงข้อความยืนยันเวลากดปุ่มขายสินค้า - มีตัวเลือกคือ
- แสดง ข้อความยืนยันการขายสินค้าหลังจากกดปุ่ม OK
- ไม่แสดง ข้อความยืนยันการขายสินค้าหลังจากกดปุ่ม OK
D. แสดงหน้าจอเลือกแบบพิมพ์หลังจากบันทึกการขาย - มีตัวเลือกคือ
- เวลาบันทึกรายการ ให้แสดง Dialog พิมพ์ ก่อนจะทำการพิมพ์ใบขาย
- เวลาบักทึกรายการ ไม่ต้องแสดง Dialog พิมพ์ และ ให้สั่งพิมพ์ใบขาย
- เวลาบันทึกรายการ ไม่ต้องแสดง Dialog พิมพ์ และ ไม่ต้องพิมพ์ใบขาย
E. แสดงข้อความหลังจากบันทึกการขาย - มีตัวเลือกคือ
- แสดง ข้อความว่าบันทึกรายการขาย เรียบร้อยแล้ว
- ไม่แสดง ข้อความว่าบันทึกรายการขาย เรียบร้อยแล้ว
F. เปิดหน้าจอขายสินค้าอย่างต่อเนื่อง - มีตัวเลือกคือ
- โหมดขายปกติ (บันทึกรายการขายเสร็จแล้ว
โปรแกรมจะปิดหน้าจอขาย)
- หลังจากบันทึกรายการขายเสร็จแล้ว ให้เตรียมหน้าจอขายพร้อม
สำหรับขายลูกค้าคนต่อไป
- Sell (ขาย) 2 - ค่าตั้งต้นในส่วนของ หัวข้อ ขาย (Sell) สามารถกำหนดค่าได้ตามนี้
1. กะพนักงาน กับการขาย - มีตัวเลือกคือ
- ขายได้เลยไม่ต้องเปิดกะ
- ต้องเปิดกะก่อนทำรายการขาย (มีผลต่อพนักงานทุกคนยกเว้น Admin
จะสามารถขายได้โดยไม่เปิดกะ
2. วิธีการบันทึก พนักงานขาย เวลาทำรายการขาย - มีตัวเลือกคือ
- บันทึกพนักงานขายตาม Login (ใคร Login เข้าโปรแกรม
คนนั้นก็เป็นคนขาย)
- ใส่ User name และ Password เวลาบันทึกรายการขายทุกครั้งเพื่อยืนยัน
พนักงานขาย
- ป้อน Barcode พนักงาน เวลาบันทึกราการขายทุกครั้งเพื่อยืนยัน
พนักงานขาย
3. เวลาแก้ไขใบขายให้ระบุพนักงานขาย ทุกครั้ง - สำหรับตัวเลือกนี้มีไว้สำหรับ
ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนพนักงานขาย ในใบขาย โดยมีตัวเลือกคือ
- ไม่ระบุ (จะไม่สามารถเปลี่ยนพนักงานขาย จากการแก้ไขใบขายได้)
- ระบุทุกครั้งที่แก้ไข (สามารถเปลี่ยนพนักงานขายได้จากการ
แก้ไขใบขาย)
4. เลือกขนาดกระดาษพิพม์ใบขาย - มีตัวเลือกคือ
- กระดาษขนาดเล็ก กว้าง 3 นิ้ว
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 5.5 นิ้ว
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 11 นิ้ว
5. เลือกแบบพิพม์ใบขาย - มีตัวเลือกคือ
- พิมพ์ใบขายแบบย่อ หัวกระดาษเป็น ใบส่งของชั่วคราว
- พิมพ์ใบขายแบบย่อ หัวกระดาษเป็น ใบส่งของ
- พิมพ์ใบขายแบบย่อ หัวกระดาษเป็น บิลเงินสด
- พิมพ์ใบขายแบบย่อ หัวกระดาษเป็น ใบส่งของ / ใบเสร็จรับเงิน
- พิมพ์ใบขายแบบย่อ หัวกระดาษเป็น ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี
- พิมพ์ใบขายแบบ พิพม์เฉพาะส่วนข้อมูล (กระดาษที่ทำบล๊อกมาแล้ว)
- พิมพ์ใบขายแบบใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ พิมพ์ทั้งหน้า
- พิมพ์ใบขายแบบย่อ หัวกระดาษเป็น ใบเสร็จรับเงิน /
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
6. รูปแบบ การพิมพ์สินค้าชุดในใบขาย - มีตัวเลือกคือ
- พิมพ์สินค้าชุดแบบรวม
- พิมพ์สินค้าชุดแบบแยกแล้วระบุจำนวน
- พิมพ์สินค้าชุดแบบแยกแล้วระบุจำนวน กับ ราคา
- ไม่พิมพ์รายการในสินค้าชุด
- พิมพ์สินค้าชุดแบบแยก แต่ไม่ระบุจำนวน กับ ราคา
7. พิมพ์เลขที่สาขา ก่อนหน้าเลขที่ใบกำกับ - มีตัวเลือกคือ
- ไม่พิพม์
- พิมพ์ (เช่น สาขา 12 เลขที่ใบกำกับคือ 750000999 จะได้เป็น 12-750000999)
8. พิมพ์ชื่อสาขาในใบขาย - มีตัวเลือกคือ
- ไม่พิพม์
- พิมพ์
9. แสดงเบอร์โทรในการพิพม์ใบขายแบบย่อ - มีตัวเลือกคือ
- พิมพ์ใบขายแบบย่อ แสดงเบอร์โทรศัพท์ด้วย
- พิมพ์ใบขายแบบย่อ ไม่ต้องแสดงเบอร์โทรศัพท์
0. พิมพ์เลขประจำตัวผู้เสียภาษีในใบขายที่ยกเว้นภาษี - มีตัวเลือกคือ
- ไม่พิมพ์ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีในใบขายที่ยกเว้นภาษี
- พิมพ์ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีในใบขายที่ยกเว้นภาษี
A. พิมพ์เวลาในใบขาย - มีตัวเลือกคือ
- ไม่พิมพ์ เวลาในใบขาย
- พิมพ์ เวลาในใบขาย
B. พิพม์หมายเหตุกำกับใบขาย (Sell Comment) ในใบขาย - มีตัวเลือกคือ
- ไม่พิพม์
- พิมพ์
D. พิมพ์ Serial Number ในใบขาย - มีตัวเลือกคือ
- ไม่พิพม์
- พิมพ์
E. แสดงยอดค้างชำระในการพิพม์ใบขายแบบย่อ - มีตัวเลือกคือ
- พิมพ์ใบขายแบบย่อ แสดงยอดค้างชำระของลูกค้าด้วย
- พิมพ์ใบขายแบบย่อ ไม่ต้องแสดงแสดงยอดค้างชำระของลูกค้า
F. พิพม์เส้นขอบตารางในใบขาย - พิมพ์ตารางในใบขายทำให้ใบขายดูสวยงามขึ้น
เหมาะกับเครื่องพิมพ์ ประเภท Laser หรือ Inkjet แต่ไม่เหมาะกับเครื่องพิพม์แบบหัวเข็มโดยมีตัวเลือกคือ
- ไม่พิพม์
- พิมพ์
- Sell (ขาย) 3 - ค่าตั้งต้นในส่วนของ หัวข้อ ขาย (Sell) สามารถกำหนดค่าได้ตามนี้
1. เลือกขนาดกระดาษพิมพ์ใบวางบิล - มีตัวเลือกคือ
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 5.5 นิ้ว
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 11 นิ้ว
- พิมพ์ใบ วางบิล แบบพิมพ์เฉพาะส่วนข้อมูล
(กระดาษที่ทำบล๊อกมาแล้ว)
F. พิพม์เส้นขอบตารางในใบวางบิล -
พิมพ์ตารางในใบขายทำให้ใบขายดูสวยงามขึ้น เหมาะกับเครื่องพิมพ์ ประเภท Laser หรือ Inkjet
แต่ไม่เหมาะกับเครื่องพิพม์แบบหัวเข็มโดยมีตัวเลือกคือ
- ไม่พิพม์
- พิมพ์
- Repair (ของซ่อม) - ค่าตั้งต้นในส่วนของ หัวข้อ ของซ่อม (Repair)
สามารถกำหนดค่าได้ตามนี้
1. เลือกขนาดกระดาษพิมพ์ใบรับงานซ่อม - มีตัวเลือกคือ
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 5.5 นิ้ว
- กระดาษขนาด 9 นิ้ว x 11 นิ้ว
- Other (อื่นๆ) - ค่าตั้งต้นในส่วนของ หัวข้อ อื่นๆ สามารถกำหนดค่าได้ตามนี้
1. เการใช้งาน เมนูอย่างง่าย (Smart Menu) - มีตัวเลือกคือ
- เน้นการใช้ Smart Menu
- ไม่เน้นการใช้ Smart Menu
2. ตำแหน่งทศนิยม (Decimal Places) - ใช้เปลี่ยนระบบการคำนวนตำแหน่ง
ทศนิยม แต่การเปลี่ยนทศนิยมจาก 4 ตำแหน่งเป็น 2 ตำแหน่งอาจทำให้จำนวนในคลังสินค้า แสดงผิดพลาด
ได้เนื่องจากการปัดเศษ โดยมีตัวเลือกคือ
- ทศนิยม 2 ตำแหน่ง
- ทศนิยม 4 ตำแหน่ง
3. จำกัดการค้นหาในบางหน้า (Limit Search) - จะช่วยได้มากเวลาใช้ระบบ Online
เพราะช่วยลดการค้นหาข้อมูลที่เครื่อง Server และลดอัตราการส่งข้อมูล จากเครื่อง Server มายัง Client
ให้น้อยลง โดยมีตัวเลือกคือ
- ไม่จำกัดการค้นหา (Unlimit Search Data)
- แสดงเฉพาะ 50 รายการแรก
- แสดงเฉพาะ 100 รายการแรก
- แสดงเฉพาะ 200 รายการแรก
- แสดงเฉพาะ 300 รายการแรก
- แสดงเฉพาะ 400 รายการแรก
- แสดงเฉพาะ 500 รายการแรก
- แสดงเฉพาะ 1,000 รายการแรก
4. แสดงตัวอย่างก่อนที่จะพิมพ์ (Print Preview) - มีตัวเลือกคือ
- ไม่แสดง
- แสดง - จะแสดงตัวอย่างพิมพ์ก่อนที่จะพิมพ์เสมอ
- หลังจากที่ตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม Save (บันทึก) เพื่อทำการบันทึกค่าที่ได้ตั้งไว้
- หรือกดปุ่ม
Close เพื่อออกจากหน้านี้โดยที่ไม่ Save
หากต้องการออกจากหน้านี้ สามารถกดปุ่ม ESC ที่ Keyboard หรือ กดปุ่ม Close
ที่หน้าจอเพื่อออกจากหน้านี้ได้