สามารถเข้าใช้งานหัวข้อนี้ได้จากเมนู [ Data (ข้อมูล) -> Product (สินค้า) ]
หัวข้อนี้ มีไว้สำหรับ เพิ่ม, แก้ไข, ยกเลิก, ค้นหา และ เลือก ข้อมูลของ สินค้า (Product),
ตั้งราคาขายให้กับสินค้า, ตั้งหน่วยให้กับสินค้า, ตั้งค่าคุณสมบัติต่างๆ ที่เกี่ยวกับสินค้า
สำหรับหัวข้อนี้ถือเป็นหัวข้อแรกๆ ในการใช้งานโปรแกรม SabuySoft เพราะเป็นส่วนที่ทำให้
โปรแกรมรู้จักว่า สินค้าที่เกี่ยวข้องกับกิจการของเรา มีอะไรบ้าง
สินค้า (Product) มีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้
1. ส่วนที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูล - เป็นส่วนที่ใช้ระบุขอบเขตในการค้นหาข้อมูลให้แคบลง ในกรณีที่มีข้อมูล
เยอะ การระบุขอบเขตในการค้นหาจะช่วยทำให้หาข้อมูลได้เร็วขึ้น สามารถค้นหาข้อมูลได้จาก
- Product
Name (ชื่อสินค้า) - ชื่อสินค้า
- Product
Code - รหัสสินค้า
- Barcode - บาร์โค้ดสินค้า
- Comment - หมายเหตุกำกับสินค้า
- Status - มีให้เลือก 3 กรณีดังต่อไปนี้
- ดูทั้งที่ใช้อยู่และไม่ได้ใช้แล้ว
- ดูเฉพาะที่ใช้อยู่
- ดูเฉพาะที่ไม่ได้ใช้แล้ว
- Product
Group (กลุ่มสินค้า) - กลุ่มสินค้า
- Brand (ยี่ห้อสินค้า) - ยี่ห้อสินค้า
- Limit Search (จำกัดการค้นหา) - จะจำกัดการแสดงผลที่ค้นหามาได้ มีประโยชน์ในกรณีที่ใช้ระบบ
Online เช่น จำกัดการค้นหาที่ 100 รายการแรก หมายความว่า ถ้าค้นหาได้ 300 รายการ
โปรแกรมจะดึงข้อมูลจากเครื่อง Server มาแสดงแค่ 100 รายการ เพื่อลดความล่าช้าในการส่งข้อมูลผ่านระบบ
Internet
2. ส่วนตารางที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่ค้นหามาได้ - มีหัวข้อดังต่อไปนี้
- ID - คือหมายเลขประจำตัวของสินค้าที่โปรแกรมสร้างขึ้น
- รหัสสินค้า - รหัสสินค้า
- Barcode - รหัสบาร์โค้ดของสินค้า
- ชื่อสินค้า - ชื่อสินค้า
- ราคาขาย
1 - ราคาขายช่อง 1 ของสินค้า
- ราคาขาย
2 - ราคาขายช่อง 2 ของสินค้า
- ราคาขาย
3 - ราคาขายช่อง 3 ของสินค้า
- หน่วยเล็กที่สุด - หน่วยเล็กที่สุดของสินค้า เช่น ชิ้น, ขวด, แผ่น เป็นต้น
- จำนวนสินค้าเป็นทศนิยมได้ - เช็คถูกหมายความว่า สามารถซื้อ, ขาย, ลดหนี้, โอน
สินค้าเป็นทศนิยมได้
- ส่วนลดสมาชิก
1(%) - ส่วนลด % สำหรับลูกค้าสมาชิกระดับ 1
- ส่วนลดสมาชิก
2(%) - ส่วนลด % สำหรับลูกค้าสมาชิกระดับ 2
- ส่วนลดสมาชิก
3(%) - ส่วนลด % สำหรับลูกค้าสมาชิกระดับ 3
- จำนวนที่เตือนเมื่อใกล้หมด - จำนวนที่เตือนเมื่อสินค้าใกล้หมด
- กลุ่มสินค้า - กลุ่มของสินค้า
- Brand
(ยี่ห้อสินค้า) - ยี่ห้อของสินค้า
- ระยะเวลารับประกัน - ระยะเวลารับประกันของสินค้า
- หมายเหตุ
(Comment) - หมายเหตุกำกับสินค้า
- Status - บอกว่าสินค้านี้อยู่ในสถานะไหน - ใช้อยู่ หรือ ไม่ใช้แล้ว
- Create
Officer - แสดงชื่อพนักงานที่เป็นคนสร้างรายการนี้ขึ้นมา
- Create
Time - แสดงวันที่และเวลาที่สร้างรายการนี้ขึ้นมา
- Update
Officer - แสดงชื่อพนักงานคนล่าสุดที่เป็นคนแก้ไขรายการนี้
- Update
Time - แสดงวันที่และเวลาล่าสุดที่มีการแก้ไขรายการนี้
3. ส่วนปุ่มที่ใช้กระทำการต่างๆ กับข้อมูลของสินค้า (ที่อยู่ในตารางในส่วนที่ 2) - ในนี้จะประกอบด้วย
- ปุ่ม
Search (ค้นหา) - มีไว้สำหรับค้นหารายการสินค้า โดยก่อนค้นหา
สามารถระบุขอบเขตในการค้นหา ได้ที่ ส่วนที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูล (ส่วนที่ 1)
- ปุ่ม
Add (เพิ่มสินค้า) - มีไว้สำหรับเพิ่มสินค้าใหม่ เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมี Form
ขึ้นมาให้ป้อนข้อมูลของสินค้า ที่ต้องการเพิ่มเข้าไปใหม่ ดังภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบน ให้ป้อนข้อมูลตามช่อง โดยมีความหมายตามนี้
- Name (ชื่อสินค้า) - ชื่อของสินค้า
- Product Code - รหัสสินค้า สามารถกำหนดได้เอง แต่จะซ้ำกันไม่ได้
- Barcode (บาร์โค้ดสินค้า) - รหัสบาร์โค้ดของสินค้า สามารถกำหนดได้เอง
แต่จะซ้ำกันไม่ได้
- Auto Generate Code (Same as ID) - ถ้าเช็คถูก โปรแกรมจะทำการสร้างรหัส
บาร์โค้ดของสินค้าให้อัตโนมัติ โดยจะสร้างตามเลข ID แต่จะใช้ตัวเลข 5 หลักโดยมีเลข 0
นำหน้า
- Picture Name (ไฟล์รูปภาพ) - ชื่อรูปของสินค้า ที่อยู่ภายใน
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ โปรแกรมไม่ได้เก็บรูปเอาไว้ใน Database แต่เก็บเฉพาะ Link
ไปยังรูปที่อยู่ภายในเครื่องนี้เท่านั้น ซึ่งถ้าต้องการให้เครื่องอื่นเห็นรูปด้วย ก็จะต้อง Copy
รูปจากเครื่องนี้ไปใส่อีกเครื่องด้วย โดยที่ตำแหน่งไฟล์จะต้องอยู่ที่เดียวกัน (
แนะนำให้นำรูปไปไว้ใน Folder "Pictures" ที่อยู่ใน Folder ของโปรแกรม เพราะเวลา Copy
รูปไปใช้เครื่องสาขาอื่นจะได้ Copy ไปไว้ในเดียวกันนี้ แล้วสามารถใช้งานได้ทันที
- Product Group (กลุ่มสินค้า - เลือกกลุ่มของสินค้า (หากยังไม่มีกลุ่มสินค้า
สามารถเพิ่มได้ที่เมนู Data (ข้อมูล) -> Product Group (กลุ่มสินค้า) - Brand (ยี่ห้อสินค้า) - เลือกยี่ห้อของสินค้า (หากยังไม่มียี่ห้อสินค้า
สามารถเพิ่มได้ที่เมนู Data (ข้อมูล) -> Brand (ยี่ห้อสินค้า) - Small Unit (หน่วยเล็กที่สุด) - เลือกหน่วยเล็กที่สุด ได้จาก Combo Box
ถ้าหากว่าหน่วยที่ต้องการ ไม่มีอยู่ในรายการ สามารถพิมพ์เข้าไปได้เลย
แล้วโปรแกรมจะจำไว้ และจะมีให้เลือกในคราวหน้า
- รูปแบบจำนวนสินค้า : Allow Decimal (จำนวนสินค้าเป็นทศนิยมได้) -
เช็คถูกหมายถึง สามารถซื้อ, ขาย, ลดหนี้, โอน สินค้ารายการนี้ เป็นจำนวนทศนิยมได้
- Use Min Number (เตือนเมื่อใกล้หมด) - เช็คถูกถ้าต้องให้เตือน
เมื่อสินค้าใกล้หมด โดยสามารถระบุจำนวนที่ต้องการให้เดือนที่ Text Box ด้านขวา
- Price 1 (ราคาขาย 1) - ราคาที่จะขายช่อง 1 (ราคาช่อง 1 จะเป็นราคา Default
ของโปรแกรม ซึ่งโดยมากจะใช้เป็นราคาขายปลิก)
- Price 2 (ราคาขาย 2) - ราคาที่จะขายช่อง 2 (โดยมากจะใช้เป็นราคาขายส่ง
และจะถูกกว่าราคาในช่อง 2)
- Price 3 (ราคาขาย 3) - ราคาที่จะขายช่อง 3 (โดยมากจะใช้เป็นราคาขายส่ง
ในกรณีที่ลูกค้าซื้อในประมาณมากๆ และจะถูกกว่าราคาช่อง 2)
- X Member Discount (ส่วนลดสมาชิก 1) - ส่วนลด % สำหรับลูกค้าสมาชิกระดับ
1
- Y Member Discount (ส่วนลดสมาชิก 2) - ส่วนลด % สำหรับลูกค้าสมาชิกระดับ
2
- Z Member Discount (ส่วนลดสมาชิก 3) - ส่วนลด % สำหรับลูกค้าสมาชิกระดับ
3
- Warranty (ระยะเวลารับประกัน) - ระยะเวลารับประกัน ของสินค้านี้
- Comment (หมายเหตุ) - หมายเหตุกำกับตัวสินค้า ในกรณีที่ต้องการ
ใช้หมายเหตุแบบหลายบรรทัด ให้เช็คถูกที่ช่อง (Multi Line) ที่อยู่ด้านซ้าย
(หมายเหตุหลายบรรทัด ใช้ในกรณีเช่น ร้านขายเครื่องสำอาง ต้องการพิมพ์ป้าย Label
ที่แสดง Barcode และวิธีการใช้ เป็นต้น)
- กดปุม OK (เพิ่ม) เพื่อทำการเพิ่มสินค้าใหม่
- ปุ่ม
Edit Price (แก้ไขราคา, ส่วนลดสมาชิก) - มีไว้สำหรับแก้ไขราคาสินค้า กับ ส่วนลดสมาชิก
โดยจะสามารถแก้ไขรายการสินค้าได้ครั้งละหลายรายการ โดยมีวิธีใช้งานคือ
- ให้เลือกรายการสินค้าที่ต้องการแก้ไขในตาราง
Product Detail (รายการสินค้า)
โดยสามารถเลือกได้มากกว่า 1 รายการ โดยการกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้ว Click Mouse เลือกทีละรายการ
หรือต้องการเลือกทั้งหมด ก็ให้ Click ขวาที่ตาราง Product Detail (รายการสินค้า) แล้วเลือก Select All Rows
จากนั้นกดปุ่ม Edit Price (แก้ไขราคา, ส่วนลดสมาชิก) จะมี Form ขึ้นมาให้แก้ไขราคา กับ ส่วนลดสมาชิก
ดังภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบน สามารถเลือกได้ว่าเราต้องการ แก้ไขเฉพาะราคาสินค้า หรือ แก้ไขเฉพาะ
ส่วนลดสมาชิก หรือ จะแก้ไขทั้งสองอย่างไปพร้อมๆกัน ก็ได้ โดยการ เช็คถูกที่ช่อง สี่เหลี่ยมด้านหน้า Edit
Price (ปรับราคา) เพื่อทำการปรับราคา หรือ เช็คถูกที่ช่อง Edit Member Discount (ปรับส่วนลดสมาชิก)
เพื่อทำการปรับส่วนลดสมาชิก หรือจะเช็คถูกทั้งคู่ เพื่อทำการแก้ไขทั้งราคา และ ส่วนลดสมาชิก ก็ได้
ซึ่งถ้าทำเครื่องหมายเช็คถูกทั้งคู่ แล้วหน้าตา Form จะเปลี่ยนไปดังนี้
- จากรูปด้านบน จะแบ่งออกได้เป็น
2 ส่วนคือ ส่วนปรับราคา กับ ส่วน ปรับส่วนลดสมาชิก
- Edit Price (ปรับราคา) - หากต้องการปรับราคาให้เลือกตัวเลือกที่มีในข้อ A, B
และป้อนค่าลงในตาราง C (สามารถป้อนค่าลงในราคาขายแต่ละช่องได้) โดยตัวเลือก
แต่ละตัวเลือกมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
A. เลือกวิธีการปรับราคา โดยสามารถเลือกได้หลายวิธีดังนี้
- ปรับให้เป็นราคาเดียวกันหมด - สินค้าทุกรายการที่เลือก
จะถูกปรับราคาเป็นราคา ตามที่ระบุในตาราง C ทั้งหมด
- เพิ่มราคาขึ้นจากราคาขายเดิม โดยเพิ่มเป็น % -
เช่นเดิมสินค้ามีราคาขายอยู่ 100 บาท ถ้าหากเพิ่มอีก 10% ก็จะได้ราคาขายใหม่เป็น 110 บาท
- ลดราคาลงจากราคาขายเดิม โดยลดเป็น % - เช่นเดิมสินค้ามีราคาขายอยู่
100 บาท ถ้าหากลดลง 10% ก็จะได้ราคาขายใหม่เป็น 90 บาท
- ตั้งราคาขายจากราคาซื้อล่าสุดก่อน VAT แล้วมาเพิ่มเป็น % -
เช่นสินค้านี้ เคยซื้อมาราคาล่าสุด (ราคาก่อนรวมภาษี) 100 บาท แล้วนำมาบวกกำไรเพิ่ม 10%
จะได้ราคาขายใหม่เป็น 110 บาท
- ตั้งราคาขายจากราคาซื้อล่าสุดรวม VAT แล้วมาเพิ่มเป็น % -
เช่นสินค้านี้ เคยซื้อมาราคาล่าสุด (รวมภาษีแล้ว) 107 บาท แล้วนำมาบวกกำไรเพิ่ม 10%
จะได้ราคาขายใหม่เป็น 117.7 บาท
B. เลือกวิธีการปัดเศษ หลังจากที่คำนวนราคาใหม่ได้แล้ว
โดยสามารถเลือกได้หลายวิธีดังต่อไปนี้
- ไม่ปัดเศษ - ไม่มีการปัดเศษของราคาที่คำนวนได้ใหม่
- ปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็ม - ปัดเศษของราคาที่คำนวนได้ใหม่
ให้เป็นจำนวนเต็ม โดยถ้าทศนิยมมากกว่าหรือเท่ากับ 5 จะปัดขึ้น แต่ถ้าทศนิยมน้อยกว่า 5 จะปัดทิ้ง
- ปัดเศษให้เป็นหลัก 10 เศษให้ปัดขึ้น - ปัดเศษของราคาที่คำนวนได้ใหม่
ให้เป็นหลัก 10 โดยถ้ามีเศษที่เป็นหลักหน่วย ให้ปัดขึ้น เช่น ราคาใหม่คำนวนได้ 325
บาทจะถูกปรับราคาให้เป็น 330 บาท
- ปัดเศษให้เป็นหลัก 10 เศษให้ปัดทิ้ง - ปัดเศษของราคาที่คำนวนได้ใหม่
ให้เป็นหลัก 10 โดยถ้ามีเศษที่เป็นหลักหน่วย ให้ปัดทิ้งไป เช่น ราคาใหม่คำนวนได้ 325
บาทจะถูกปรับราคาให้เป็น 320 บาท (ปัดทิ้งไป 5 บาท)
- ปัดเศษให้เป็นหลัก 100 เศษให้ปัดขึ้น -
ปัดเศษของราคาที่คำนวนได้ใหม่ ให้เป็นหลัก 100 โดยถ้ามีเศษที่เป็นหลักสิบหรือหลักหน่วย ให้ปัดขึ้น เช่น
ราคาใหม่คำนวนได้ 4,325 บาทจะถูกปรับราคาให้เป็น 4,400 บาท
- ปัดเศษให้เป็นหลัก 100 เศษให้ปัดทิ้ง - ปัดเศษของราคาที่คำนวนได้ใหม่
ให้เป็นหลัก 100 โดยถ้ามีเศษที่เป็นหลักสิบหรือหลักหน่วย ให้ปัดทิ้งไป เช่น ราคาใหม่คำนวนได้ 4,325
บาทจะถูกปรับราคาให้เป็น 4,300 บาท (ปัดทิ้งไป 25 บาท)
- ปัดเศษให้เป็นหลัก 1,000 เศษให้ปัดขึ้น -
ปัดเศษของราคาที่คำนวนได้ใหม่ ให้เป็นหลัก 1,000 โดยถ้ามีเศษที่เป็นหลักสิบหรือหลักหน่วย ให้ปัดขึ้น เช่น
ราคาใหม่คำนวนได้ 74,325 บาทจะถูกปรับราคาให้เป็น 75,000 บาท
- ปัดเศษให้เป็นหลัก 1,000 เศษให้ปัดทิ้ง -
ปัดเศษของราคาที่คำนวนได้ใหม่ ให้เป็นหลัก 1,000 โดยถ้ามีเศษที่เป็นหลักร้อย,หลักสิบหรือหลักหน่วย
ให้ปัดทิ้งไป เช่น ราคาใหม่คำนวนได้ 74,325 บาทจะถูกปรับราคาให้เป็น 74,000 บาท (ปัดทิ้งไป 325 บาท)
- ในการเลือกวิธีการปัดเศษ ถ้าหากปัดเศษแล้วราคาเป็น 0 บาท
โปรแกรมจะไม่ทำการปัดเศษตามหลักที่เลือก แต่จะปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็มเท่านั้น เช่น เลือกปัดเศษ
แบบหลัก 1,000 เศษให้ปัดทิ้ง แล้วถ้าราคาใหม่คำนวนได้ 755.9 บาท ที่จริงต้องถูกปัดให้ทิ้งเป็น 0
บาทแต่ในกรณีนี้ โปรแกรมจะไม่ทำการปัดเศษในหลัก 1,000 แต่จะปัดให้เป็นจำนวนเต็มแทน ซึ่งก็คือ 756
บาท
- Edit Member Discount (ปรับส่วนลดสมาชิก) - ให้ป้อนส่วนลดสมาชิก ลงในตาราง D
โดยสามารถป้อนส่วนลดในแต่ละระดับได้
- เมื่อปรับราคา หรือ ปรับ ส่วนลดสมาชิก เสร็จเรียบแล้วแล้วให้กดปุ่ม OK
(แก้ไขรายการสินค้า) เพื่อเป็นการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของ ราคา และ ส่วนลดสมาชิก
- ปุ่ม
Edit (แก้ไขสินค้า) - มีไว้สำหรับแก้ไขสินค้าที่เคยเพิ่มไปแล้ว
- ให้เลือกรายการสินค้าที่ต้องการแก้ไขในตาราง
Product Detail (รายการสินค้า) แล้วกดปุ่ม
Edit (แก้ไขสินค้า) จะมี Form ขึ้นมาให้แก้ไขสินค้า ตามภาพด้านล่าง
- ในหน้าแก้ไขรายการสินค้านี้ จะมีส่วนราคาที่เคยซือล่าสุดขึ้นมา
(อยู่ด้านขวาของช่องที่ป้อนราคา) เอาไว้ใช้สำหรับ ดูเป็นแนวทางในการตั้งราคาขาย
- Not
use (ไม่ใช้แล้ว) - มีไว้สำหรับยกเลิกรายการนี้ หรือถ้ารายการนี้เคยถูกยกเลิกไปแล้ว
ก็สามารถนำเครื่องหมายเช็คถูกหน้า Not Use ออก
แล้วข้อมูลนี้ก็จะกลับมาใช้ได้อีกครั้งหนึ่ง
- จากนั้นแก้ข้อมูล สินค้าแล้วกดปุ่ม
OK (แก้ไข)
- ปุ่ม
Cancel (ยกเลิกสินค้า) - เอาไว้ยกเลิกสินค้าที่ไม่ใช้แล้ว
- ให้เลือกรายการสินค้าที่ต้องการยกเลิกในตาราง
Product Detail (รายการสินค้า) แล้วกดปุ่ม
Cancel (ยกเลิกสินค้า) แล้วกดปุ่ม Yes เพื่อยืนยันการยกเลิก
- ถ้าหากยกเลิกรายการไปแล้วต้องการ นำกลับมาใช้ใหม่ สามารถทำได้ดังนี้
- ค้นหาข้อมูลที่ยกเลิก โดยก่อนกดปุ่มค้นหา ให้เลือก Status เป็น
"ดูเฉพาะที่ไม่ใช้แล้ว" จากนั้นกดปุ่มค้นหา
- เลือกรายการที่ต้องการที่ต้องการนำกลับมาใช้ใหม่แล้วกดปุ่ม Edit (แก้ไขสินค้า)
- ที่หน้าแก้ไขให้เอาเช็คถูก หน้าคำว่า Not use (ไม่ใช้แล้ว) ออก แล้วกดปุ่ม OK
(แก้ไข)
- รายการที่ถูกยกเลิกไปก็จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
- ปุ่ม
Print (พิมพ์) - เอาไว้พิมพ์รายการสินค้าที่แสดงอยู่ใน ตาราง Product Detail (รายการสินค้า)
ออกทางเครื่องพิมพ์ เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมี Form แสดงหน้าต่างเลือกแบบการพิมพ์ตามภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบน มีส่วนให้เลือกดังนี้
- เลือกเครื่องพิมพ์ที่ต้องการพิพม์ (โปรแกรมเลือก Printer ที่ตั้งค่าเป็น Default
มาให้)
- เลือกราคาที่ต้องการพิพม์ โดยการเช็คถูกว่าต้องการพิมพ์ราคา 1, ราคา 2, ราคา 3
- เลือกขนาดกระดาษที่ใช้พิมพ์ โดยมีขนาดกระดาษให้เลือกดังนี้
- ขนาด (9 x 5.5 นิ้ว)
- ขนาด (9 x 11 นิ้ว)
- ถ้าต้องการแสดงตัวอย่างก่อนพิมพ์ ให้เช็คถูกตรง Print Preview
(แสดงตัวอย่างก่อนพิมพ์)
- กดปุ่ม
OK เพื่อสั่งพิมพ์ หรือกดปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิกการพิมพ์
4. ส่วนที่แสดงข้อมูล หน่วยใหญ่ ของสินค้า - สำหรับส่วนนี้จะเป็นการแสดงข้อมูลว่าสินค้านี้ มีหน่วยใหญ่
อะไรอีกบ้าง โดยเวลา Click ที่รายการในตารางข้อมูลในส่วนที่ 2 โปรแกรมก็จะดึงข้อมูล
หน่วยใหญ่ของสินค้านั้น ออกมาแสดงที่ตารางในส่วนที่ 4 ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
- ใช้บ่อย - เช็คถูก หมายถึง ใช้สถานที่จัดส่งนี้เป็น Default
- Barcode - รหัสบาร์โค้ดของหน่วยนี้
- หน่วยใหญ่ - ชื่อหน่วยใหญ่ เช่น ลัง
- หน่วยกลาง - ชื่อหน่วยกลาง ที่บรรจุอยู่ในหน่วยใหญ่หน่วยนี้ เช่น กล่อง
- จน.หน่วยกลาง/หน่วยใหญ่ - จำนวนหน่วยกลาง ต่อ 1 หน่วยใหญ่ เช่น 5 หมายความว่า 1 ลัง มี 5
กล่อง
- จน.หน่วยเล็ก/หน่วยใหญ่ - จำนวนหน่วยเล็ก ต่อ 1 หน่วยใหญ่ เช่น 50 หมายความว่า 1 ลัง มี 50 ชิ้น
(ถ้าหน่วยเล็กเป็น ชิ้น และ 1 กล่อง = 10 ชิ้น)
- ราคาขาย
1 - ราคาขายช่อง 1 ของหน่วยนี้
- ราคาขาย
2 - ราคาขายช่อง 2 ของหน่วยนี้
- ราคาขาย
3 - ราคาขายช่อง 3 ของหน่วยนี้
- COName - แสดงชื่อพนักงานที่เป็นคนสร้างข้อมูลนี้ขึ้นมา
- CTime - แสดงวันที่และเวลาที่สร้างข้อมูลนี้ขึ้นมา
- UOName - แสดงชื่อพนักงานคนล่าสุดที่เป็นคนแก้ไขข้อมูลนี้
- UTime - แสดงวันที่และเวลาล่าสุดที่มีการแก้ไขข้อมูลนี้
5. ส่วนปุ่มที่ใช้กระทำการต่างๆ กับข้อมูล หน่วยใหญ่ ของสินค้า - ในนี้จะประกอบด้วย
- ปุ่ม
1 เพิ่มหน่วย - มีไว้สำหรับเพิ่มหน่วยใหญ่ใหม่ เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมี Form
ขึ้นมาให้ป้อนข้อมูลหน่วยใหญ่ ที่ต้องการเพิ่มเข้าไปใหม่ ดังภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบน ให้ป้อนข้อมูลตามช่อง โดยมีความหมายตามนี้
- Large (หน่วยใหญ่) - เลือกหน่วยใหญ่ ได้จาก Combo Box
ถ้าหากว่าหน่วยที่ต้องการ ไม่มีอยู่ในรายการ สามารถพิมพ์เข้าไปได้เลย
แล้วโปรแกรมจะจำไว้ และจะมีให้เลือกในคราวหน้า
- Number (จำนวน) - จำนวนหน่วยกลางต่อ 1 หน่วยใหญ่
- Medium (หน่วยกลาง) - เลือกหน่วยกลาง ได้จาก Combo Box
ถ้าหากว่าหน่วยที่ต้องการ ไม่มีอยู่ในรายการ สามารถพิมพ์เข้าไปได้เลย
แล้วโปรแกรมจะจำไว้ และจะมีให้เลือกในคราวหน้า (หน่วยกลางที่เลือก
อาจเป็นหน่วยเล็กที่สุดก็ได้)
- Barcode - รหัสบาร์โค้ดของหน่วยใหญ่นี้
- Price 1 (ราคาขาย 1) - ราคาขายช่อง 1 ของหน่วยใหญ่นี้
- Price 2 (ราคาขาย 1) - ราคาขายช่อง 2 ของหน่วยใหญ่นี้
- Price 3 (ราคาขาย 1) - ราคาขายช่อง 3 ของหน่วยใหญ่นี้
- กดปุ่ม OK (เพิ่ม) เพื่อทำการเพิ่มหน่วยใหญ่นี้
- หากต้องการปิดหน้านี้โดยไม่เพิ่มหน่วยใหญ่ ให้กดปุ่ม Cancel
- ปุ่ม
2 แก้ไขหน่วย - มีไว้สำหรับแก้ไขหน่วยใหญ่ที่เคยเพิ่มไปแล้ว
- ให้เลือกรายการหน่วยใหญ่ที่ต้องการแก้ไขในตาราง
(ในส่วนที่ 4) แล้วกดปุ่ม 2
แก้ไขหน่วย จะมี Form ขึ้นมาให้แก้ไขหน่วย ตามภาพด้านล่าง
- ในการแก้ไขข้อมูลหน่วย จะสามารถแก้ไขได้เพียงจำนวน หน่วยกลางต่อ
หน่วยใหญ่เท่านั้น โดยจะไม่สามารถเปลี่ยนชื่อหน่วยใหญ่ กับชื่อหน่วยกลางได้
- เมื่อแก้ข้อมูล หน่วยใหญ่แล้วกดปุ่ม OK (แก้ไข) เพื่อทำการบันทึกการแก้ไข
- หากต้องการออกจากหน้านี้โดยที่ไม่ทำการแก้ไข ให้กดปุ่ม Cancel
- ปุ่ม
3 ลบหน่วย - เอาไว้ลบหน่วยใหญ่ที่ไม่ต้องการออกจากระบบ
- ให้เลือกรายการหน่วยใหญ่ที่ต้องการลบในตาราง
(ในส่วนที่ 4) แล้วกดปุ่ม 3 ลบหน่วย
แล้วกดปุ่ม Yes เพื่อยืนยันการลบ
- ปุ่ม
4 ใช้บ่อย - มีไว้ตั้งค่าให้หน่วยนี้ เป็นหน่วยที่ใช้บ่อย จะมีผลในหน้าที่ต้องเลือกสินค้า เช่นหน้า
ซื้อ, หน้าขาย ที่เวลาเลือกสินค้าทีจะซื้อหรือขาย โดยการเลือก แล้วสินค้าที่เลือกมา
จะอยู่ในหน่วยที่ใช้บ่อย
หากต้องการออกจากหน้านี้ สามารถกดปุ่ม ESC ที่ Keyboard หรือ กดปุ่ม Close
ที่หน้าจอเพื่อออกจากหน้านี้ได้