การรับชำระเงินจากลูกค้า มีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้
- จากภาพด้านบน จะบอกว่ากำลังจะรับชำระเงินจากลูกค้ารายไหน จำนวนกี่บิล รวมเป็นเงินเท่าไหร่
ยอดที่ชำระแล้วเท่าไหร่ และ รวมยอดค้างชำระเท่าไหร่
- ส่วน Tab ด้านขวาจะเป็น Tab แสดงข้อมูลการรับเงิน ซึ่งสามารถทำการแก้ไข หรือ ลบรายการที่ได้รับเงิน
ก่อนที่จะตัดสินใจกดปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกรายการรับเงิน ซึ่งจะแบ่งเป็น Tab ต่างๆ ดังนี้
- Credit Card (บัตรเครดิต)
- Loan (เงินผ่อน)
- Cheque (เช็ค)
- Transfer (เงินโอน)
- Credit Note (ลดหนี้)
- จากรูปด้านบน เราสามารถรับชำระเงินจากลูกค้า โดยวิธีดังต่อไปนี้
- Cash
(เงินสด) - ให้คลิ๊ก ปุ่ม Cash (เงินสด) จะมีหน้าจอรับเงินสดขึ้นมา ดังภาพด้านล่าง (เงินสด)
- จากภาพด้านบน เป็น Form สำหรับรับเงินสดจากลูกค้า ซึ่งจะแสดง ยอดค้างชำระ
แล้วจะมีช่องให้ป้อน จำนวนเงินที่ได้รับจากลูกค้า ซึ่งในหน้านี้ รองรับจอระบบสัมผัส (Touch Screen
Monitor) โดยสามาถกดที่ปุ่มด้านขวา
- เมื่อป้อนจำนวนเงินที่ได้รับจากลูกค้าแล้วให้กดปุ่ม
OK เพื่อยืนยันการรับเงินสดจากลูกค้า
- ถ้าหากจำนวนเงินที่ป้อนมากกว่ายอดค้างชำระ
ระบบจะแสดงหน้าจอเงินทอนขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบน ถ้าหากมีลิ้นชักเก็บเงิน ลิ้นชักเก็บเงินจะเปิดออก
เพื่อให้หยิบเงินทอนให้ลูกค้า จากนั้นกดปุ่ม OK เพื่อบันทึกการรับชำระเงิน
- ถ้าหากจำนวนเงินที่ป้อนเท่ากับยอดค้างชำระ ระบบจะบันทึกการรับชำระ
แล้วปิดหน้าต่าง รับเงินจากลูกค้าโดยอัตโนมัติ
- ถ้าหากจำนวนเงินที่ป้อนน้อยกว่ายอดค้างชำระ โปรแกรมจะปิดหน้ารับชำระเงินสด
และจะกลับไปยังหน้า รับเงินจากลูกค้าโดยแสดงยอดเงินสดที่ได้รับมา ตัวอย่างเช่นดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน เป็นการรับชำระเป็นเงินสด 100 บาท แต่ก็ยังเหลือเงินค้างชำระอีก
1,799.80 บาท (ที่แสดงไว้ที่ด้านล่างสุดของภาพ)
- Credit
Card (บัตรเครดิต) - ให้คลิ๊กปุ่ม Credit Carde (บัตรเครดิต)
จะมีหน้าจอรับบัตรเครดิตขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนจะเป็น
Form Credit Card Add (เพิ่มข้อมูลบัตรเครดิต)
ซึ่งเอาไว้ป้อนข้อมูลบัตรเครดิต ที่ได้รับชำระจากลูกค้าโดย สามารถอธิบายวิธีการป้อนได้ดังต่อไปนี้
- เลือก สถาบันบัตรเครดิต - โดยการเลือกรายการที่ ช่อง Bank (ธนาคาร)
แต่ถ้าหากว่าไม่มีรายการอะไรให้เลือกแสดงว่า ยังไม่ได้เคยทำการเพิ่มข้อมูลสถาบันการเงินมาก่อน
(วิธีการเพิ่มข้อมูลสถาบันการเงินสามารถดูได้ที่
สถาบันการเงิน (BFI)) - จากนั้นให้ป้อน หมายเลขบัตรเครดิตในช่อง Credit Card ID (เลขบัตร Credit)
- จากนั้นให้ป้อน จำนวนเงินที่รูดบัตรเครดิตในช่อง Pull Money (จำนวนเงินที่รูด) โดยค่าที่ป้อนจะเป็นยอดเงินที่ รวมค่าที่ธนาคารคิดค่า Charge และ VAT ของค่า Charge แล้ว
- จากนั้นให้ป้อนข้อมูลลงในช่อง Percent Charge (% Charge) - หมายถึงค่า Charge
ที่เราทำการCharge ลูกค้าเพิ่ม เพื่อเอาไว้ดูเป็นข้อมูลอ้างอิง (ในบางกิจการที่กำไรน้อย อาจต้องคิดค่า Charge
ลูกค้าเพิ่ม เพราะเนื่องจาก ธนาคารคิดค่า Charge จากเราและอาจทำให้ไม่เหลือกำไร จึงต้อง Charge ลูกค้าเพิ่ม)
หรือถ้าหากไม่คิดค่า Charge ก็ไม่ต้องป้อนในช่องนี้
- จากนั้นให้ป้อนข้อมูลลงในช่อง %VAT (%VAT ของค่า Charge) - โดยปกติธนาคาร
จะคิดภาษีของค่า Charge ซึ่งถ้า ในบางทีเราอาจจะให้ลูกค้า รับภาระค่าภาษี ตรงนี้แทน
เพื่อเอาไว้ดูเป็นข้อมูลอ้างอิง หรือ ถ้าหากไม่คิด ค่า Charge หรือ ไม่คิด %VAT ของค่า Charge
ก็ไม่ต้องป้อนในช่องนี้
- จากนั้นให้ป้อนข้อมูลลงในช่อง Expire (วันหมดอายุบัตร) - เพื่อเอาไว้ดูเป็นข้อมูลอ้างอิง
หรือไม่ป้อนก็ได้
- จากนั้นให้เลือก Date (วันที่รูดบัตร) - ว่ารูดบัตรวันไหน
- จากนั้นให้ป้อนจำนวนเงิน ที่จะหักกับยอดค้างชำระครั้งนี้ ในช่อง Money
(จำนวนเงินที่ใช้หักบิลขาย) ซึ่ง จำนวนเงินนี้จะต้องไม่เกิน จำนวนเงินในช่อง รวมยอดค้างชำระ และ
ต้องไม่เกิน จำนวนเงิน MAX ที่ระบุไว้ด้านขวาของช่องนี้ (จำนวนเงิน MAX นี้จะมาจาก
ช่องจำนวนเงินในช่อง Pull Money (จำนวนเงินที่รูด)) เช่น จำนวนเงินรูดบัตร 500 บาท นั่นหมายความว่า Max
= 500 ดังนั้นในช่อง Money (จำนวนเงินที่ได้) จะป้อนจำนวนเงินได้ไม่เกิน 500 บาท เป็นต้น
- จากนั้นให้กดปุ่ม
OK เพื่อทำการยืนยันการ บันทึกข้อมูลการรับชำระเงิน
จากลูกค้าโดยบัตรเครดิต โดยถ้าหากว่าจำนวนเงินที่ได้จากบัตรเครดิต เท่ากับ รวมยอดค้างชำระ
โปรแกรมจะปิดหน้า รับเงินจากลูกค้าโดยอัตโนมัติเพราะถือว่า ได้รับชำระครบตามจำนวน
โดยไม่มียอดค้างชำระแล้ว แต่ถ้าหากว่า จำนวนเงินที่ได้จากบัตรเครดิต น้อยกว่า รวมยอดค้างชำระ
โปรแกรมจะปิดหน้ารับชำระบัตรเครดิด และจะกลับไปยังหน้า รับเงินจากลูกค้าโดยแสดงยอด บัตรเครดิต
ที่ได้รับมา พร้อมกับข้อมูลในการรับบัตร เครดิตที่ Tab Credit Card (บัตรเครดิต) ตัวอย่างเช่นดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน เป็นการรับชำระโดยบัตรเครดิต จำนวนเงิน 200 บาท
แต่ก็ยังเหลือเงินค้างชำระอีก 1,599.80 บาท
- ใน
Tab Credit Card (บัตรเครดิต) สามารถที่จะทำการ
แก้ไขรายการรูดบัตรเครดิตได้โดยการกดที่ปุ่ม Edit (แก้ไข) หรือ สามารถที่จะทำการลบรายการรูดบัตรเครดิต
ได้โดยการกดที่ปุ่ม Delete (ลบ)
- ใน
Tab Credit Card (บัตรเครดิต) จะมีตาราง Credit Card (บัตรเครดิต)
โดยมีข้อมูลที่รับบัตรเครดิต โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
- จน. เงินที่ใช้หักยอดขาย - จำนวนเงินที่ใช้หักกับยอดขายในใบขายใบนี้
- ชื่อสถาบันการเงิน - ชื่อของธนาคาที่เป็นผู้ออกบัตรเครดิต
- เลขที่บัตรเครดิต - เลขที่บัตรเครดิต
- จน. เงินที่รูดบัตรCount - จำนวนเงินที่รูดบัตรเครดิต
- Percent Charge - % ที่ได้ทำการ Charge ค่าสินค้าและบริการ
ลูกค้าจากการรูดบัตรเครดิต
- VAT ของค่า Charge - % VAT ของค่า Charge ที่ได้ทำการ Charge ลูกค้าไป
- วันที่รูดบัตร - วันที่ได้ทำการรูดบัตรเครดิต
- Loan
(เงินผ่อน) - เงินผ่อนในที่นี้ หมายความถึง การรับชำระเงินโดยการ
ให้ลูกค้าผ่อนกับสถาบันการเงิน โดยผ่านเราเป็นตัวกลาง เช่นผ่อนกับ AEON เป็นต้น ไม่ได้หมายความว่า
ลูกค้าเป็นคนผ่อนกับเรา โดยมีวิธีการรับชำระคือ ให้คลิ๊กปุ่ม Loan (เงินผ่อน) จะมีหน้าจอรับ
ชำระโดยเงินผ่อนขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนจะเป็น
Form Loan Add (เพิ่มข้อมูลการผ่อน)
ซึ่งเอาไว้ป้อนข้อมูลการผ่อนสินค้า ที่ลูกค้าได้ทำสัญญากับบริษัทเงินผ่อนเอาไว้
โดยสามารถอธิบายวิธีการป้อนได้ดังต่อไปนี้
- เลือก สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้กับลูกค้า - โดยการเลือกรายการที่ ช่อง BFI
(สถาบันการเงิน) แต่ถ้าหากว่าไม่มีรายการอะไรให้เลือกแสดงว่า
ยังไม่ได้เคยทำการเพิ่มข้อมูลสถาบันการเงินมาก่อน (วิธีการเพิ่มข้อมูลสถาบันการเงินสามารถดูได้ที่ สถาบันการเงิน (BFI)) - จากนั้นให้ป้อน จำนวนเงินที่ผ่อนในช่อง Loan Money (จำนวนเงินที่ผ่อน) โดยค่าที่ป้อนจะเป็นยอดเงินผ่อน ที่ลูกค้าผ่อนกับทางสถาบันการเงิน ที่หักเงินดาวน์แล้ว
- จากนั้นให้ป้อนข้อมูลลงในช่อง Interest
(ดอกเบี้ย) - หมายถึง % ดอกเบี้ย ต่อเดือน
ที่สถาบันการเงินคิดกับลูกค้า เพื่อเอาไว้ดูเป็นข้อมูลอ้างอิง
- จากนั้นให้ป้อนข้อมูลลงในช่อง Month
(จำนวนเดือนที่ผ่อน) -
จำนวนเงินที่ลูกค้าตกลงจะผ่อน เพื่อเอาไว้ดูเป็นข้อมูลอ้างอิง
- จากนั้นให้เลือก Date (วันที่ทำสัญญา) - ว่าทำสัญญาเงินผ่อนวันไหน
- จากนั้นให้ป้อนจำนวนเงิน ที่จะหักกับยอดค้างชำระครั้งนี้ ในช่อง Money
(จำนวนเงินที่ได้) ซึ่ง จำนวนเงินนี้จะต้องไม่เกิน จำนวนเงินในช่อง รวมยอดค้างชำระ และ ต้องไม่เกิน
จำนวนเงิน MAX ที่ระบุไว้ด้านขวาของช่องนี้ (จำนวนเงิน MAX นี้จะมาจาก ช่องจำนวนเงินในช่อง Loan
Money (จำนวนเงินที่ผ่อน)) เช่น จำนวนเงินที่ผ่อนหลังหักเงินดาวน์ = 500 บาท นั่นหมายความว่า Max = 500
ดังนั้นในช่อง Money (จำนวนเงินที่ได้) จะป้อนจำนวนเงินได้ไม่เกิน 500 บาท เป็นต้น
- จากนั้นให้กดปุ่ม OK เพื่อทำการยืนยันการ บันทึกข้อมูลการรับชำระเงิน
จากลูกค้าโดยการทำสัญญาเงินผ่อนกับสถาบันการเงิน โดยถ้าหากว่าจำนวนเงินที่ได้จากการทำสัญญาเงินผ่อน
เท่ากับ รวมยอดค้างชำระ โปรแกรมจะปิดหน้า รับเงินจากลูกค้าโดยอัตโนมัติเพราะถือว่า
ได้รับชำระครบตามจำนวน โดยไม่มียอดค้างชำระแล้ว แต่ถ้าหากว่า จำนวนเงินที่ได้จากการทำสัญญาเงินผ่อน
น้อยกว่า รวมยอดค้างชำระ โปรแกรมจะปิดหน้ารับชำระโดยเงินผ่อน และจะกลับไปยังหน้า
รับเงินจากลูกค้าโดยแสดงยอด เงินผ่อน ที่จะได้รับมา พร้อมกับข้อมูลในการทำการผ่อน Tab Loan (เงินผ่อน)
ตัวอย่างเช่นดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน เป็นการรับชำระโดยเงินผ่อน จำนวนเงิน 300 บาท
แต่ก็ยังเหลือเงินค้างชำระอีก 1,299.80 บาท
- ใน
Tab Loan (เงินผ่อน) สามารถที่จะทำการ แก้ไขรายการเงินผ่อนได้โดยการกดที่ปุ่ม
Edit (แก้ไข) หรือ สามารถที่จะทำการลบรายการเงินผ่อน ได้โดยการกดที่ปุ่ม Delete (ลบ)
- ใน
Tab Loan (เงินผ่อน) จะมีตาราง Loan (เงินผ่อน) โดยมีข้อมูลที่การผ่อน
โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
- จน. เงินที่ใช้หักยอดขาย - จำนวนเงินที่ใช้หักกับยอดขายในใบขายใบนี้
- ชื่อสถาบันการเงิน - ชื่อของธนาคาที่เป็นผู้รับปล่อยเงินกู้
- จำนวนเงินที่ผ่อน - จำนวนเงินที่ทำสัญญาผ่อน หลังหักเงินดาวน์
- ดอกเบี้ย - % ดอกเบี้ย ต่อ เดือนที่ได้ทำสญญาผ่อนไว้
- จำนวนเดือนที่ผ่อน - จำนวนเดือนที่ได้ทำสัญญาผ่อนไว้
- วันที่ทำสัญญาผ่อน - วันที่ได้ทำสัญญาเงินผ่อน
- Cheque
(เช็ค) - ให้คลิ๊กปุ่ม Cheque (เช็ค) จะมีหน้าจอรับเช็คขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนจะเป็น
Form Cheque Receive Add (เพิ่มข้อมูลการับเช็ค)
ซึ่งเอาไว้ป้อนข้อมูลเช็คที่ได้รับชำระจากลูกค้าโดย สามารถอธิบายวิธีการป้อนได้ดังต่อไปนี้
- เลือก สถาบันการเงินที่เป็นผู้ออกเช็ค - โดยการเลือกรายการที่ ช่อง BFI (สถาบันการเงิน)
แต่ถ้าหากว่าไม่มีรายการอะไรให้เลือกแสดงว่า ยังไม่ได้เคยทำการเพิ่มข้อมูลสถาบันการเงินมาก่อน
(วิธีการเพิ่มข้อมูลสถาบันการเงินสามารถดูได้ที่ สถาบันการเงิน (BFI)) - จากนั้นให้ป้อนเลขที่เช็ค ลงในช่อง Cheque Number (เลขที่เช็ค)
- ตรงนี้ถ้าหากว่าเคยรับชำระโดยเช็คเลขที่นี้ ของสถาบันการเงินนี้มาแล้ว
โปรแกรมจะทำการดึงข้อมูล ของเช็คนี้ขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ ดังตัวอย่างในภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า เช็คจาก KBANK เลขที่เช็ค
11223344 มีจำนวนเงินสั่งจ่ายในเช็คเท่ากับ 500 บาท แต่เคยใช้หักบิลขายไปแล้ว 160 บาท
และยังเหลือเงินที่สามารถนำมาหักกับหนี้ในครั้งนี้ อีก = 500 - 160 = 340 บาท (แสดงไว้ที่ค่า MAX (340.00)
ที่ด้านขวาของช่อง Money (จำนวนเงินที่ใช้หักบิลขาย)
- ส่วนเทาๆ คือส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขได้
เนื่องจากโปรแกรมจะดึงจากข้อมูลเก่าขึ้นมา และ
- จากนั้นให้ป้อน จำนวนเงินที่ระบุในเช็ค ลงในช่อง Chqeue Money (จำนวนเงินในเช็ค)
- จากนั้นให้ป้อนวันที่สั่งจ่ายในช่อง Pay Date (วันที่สั่งจ่าย)
- จากนั้นให้ป้อนสาขาของสถาบันการเงินในช่อง BFI Branch (สาขา สถาบันการเงิน)
เพื่อเอาไว้ดูเป็นข้อมูลอ้างอิง หรือจะไม่ป้อนก็ได้
- จากนั้นให้ป้อน ชื่อผู้รับเงิน ในช่อง Pay Name (ชื่อผู้รับเงิน) เพื่อเอาไว้ดูเป็นข้อมูลอ้างอิง
หรือจะไม่ป้อนก็ได้ (โปรแกรมจะดึงชื่อ กิจการมาเป็นค่า Default)
- จากนั้นให้ป้อน ชื่อเจ้าของเช็ค ในช่อง Owner Name (ชื่อเจ้าของเช็ค)
เพื่อเอาไว้ดูเป็นข้อมูลอ้างอิง หรือจะไม่ป้อนก็ได้ (โปรแกรมจะดึงชื่อ ลูกค้ามาเป็นค่า Default)
- จากนั้นให้เลือก สถานะของเช็คที่รับมา ตรงส่วน Cheque Status (สถานะเช็ค) โดยมีสถานะให้เลือกดังนี้
- ยังไม่ได้ขึ้นเงิน - จะเป็นค่า Default ที่โปรแกรมเลือกให้)
- ได้เงินเข้าบัญชีแล้ว - ในกรณีที่เรามาทำรับชำระเงิน ภายหลังจากได้รับเงินจาก
เช็คใบนี้ของลูกค้าแล้วก็ให้เลือก สถานะของเช็คเป็นได้เงินเข้าบัญชีแล้ว
- เช็คคืน - ในกรณีที่เรามาทำรับชำระเงิน ภายหลังจาก ได้รู้ว่าเช็คลูกค้าถูกคืนจาก
ธนาคาร ก็ให้เลือก สถานะของเช็คเป็น เช็คคืน เพื่อเอาไว้ดูว่าเช็คใบไหนที่เราไม่ได้เงิน
และต้องไปตามเก็บเงินโดยวิธีอื่นจากลูกค้าต่อไป
- จากนั้นให้ป้อน หมายเหตุ กำกับเช็คใบนี้ ในช่อง Comment (หมายเหตุ) เพื่อเอาไว้ดูเป็นข้อมูลอ้างอิง หรือจะไม่ป้อนก็ได้
- จากนั้นให้ป้อนจำนวนเงิน ที่จะหักกับยอดค้างชำระครั้งนี้ ในช่อง Money
(จำนวนเงินที่ใช้หักบิลขาย) ซึ่ง จำนวนเงินนี้จะต้องไม่เกิน จำนวนเงินในช่อง รวมยอดค้างชำระ และ
ต้องไม่เกิน จำนวนเงิน MAX ที่ระบุไว้ด้านขวาของช่องนี้ (จำนวนเงิน MAX นี้จะมาจาก
ช่องจำนวนเงินในเช็ค ลบกับ จำนวนเงินที่เคยใช้เช็คใบนี้ไปหักกับใบขายอื่นมาแล้ว) เช่น
จำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็คเท่ากับ 500 บาท แต่เคยเอาเช็คนี้ไปหักหนี้กับใบขายอื่นมาแล้ว 160 บาท
ก็หมายความว่า เช็คใบนี้ยังสามารถที่จะมารับชำระหนี้ ครั้งนี้ได้อีก = 500 - 160 = 340 บาท ดังนั้นค่า MAX =
340)
- จากนั้นให้กดปุ่ม
OK เพื่อทำการยืนยันการ บันทึกข้อมูลการรับชำระเงิน จากลูกค้าโดยเช็ค
โดยถ้าหากว่า จำนวนเงินที่ใช้หักบิลขาย เท่ากับ รวมยอดค้างชำระ โปรแกรมจะปิดหน้า
รับเงินจากลูกค้าโดยอัตโนมัติเพราะถือว่า ได้รับชำระครบตามจำนวน โดยไม่มียอดค้างชำระแล้ว แต่ถ้าหากว่า
จำนวนเงินที่ใช้หักบิลขาย น้อยกว่า รวมยอดค้างชำระ โปรแกรมจะปิดหน้ารับชำระโดยเช็ค
และจะกลับไปยังหน้า รับเงินจากลูกค้าโดยแสดงยอด เช็คที่ได้รับมา ตัวอย่างเช่นดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน เป็นการรับชำระโดยเช็ค จำนวนเงิน 400 บาท
แต่ก็ยังเหลือเงินค้างชำระอีก 899.80 บาท
- ใน
Tab Cheque (เช็ค) สามารถที่จะทำการ แก้ไขรายการเช็คที่ได้รับมาได้ โดยการกดที่ปุ่ม
Edit (แก้ไข) หรือ สามารถที่จะทำการลบรายการเช็ครับ ได้โดยการกดที่ปุ่ม Delete (ลบ)
- ใน
Tab Cheque (เช็ค) จะมีตาราง Cheque (เช็ค) โดยมีข้อมูลที่รับเช็ค
โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
- จน. เงินที่ใช้หักยอดขาย - จำนวนเงินที่ใช้หักกับยอดขายในใบขายใบนี้
- ชื่อสถาบันการเงิน - ชื่อของธนาคาที่เป็นผู้ออกเช็ค
- เลขที่เช็ค - เลขที่เช็ค
- จน.เงินที่ระบุในเช็ค - จำนวนเงินระบุในเช็ค
- วันที่สั่งจ่าย - วันที่สั่งจ่าย
- สาขา - สาขาของสถาบันการเงิน
- ชื่อผู้รับเงิน - ชื่อผู้รับเงินที่ระบุในเช็ค
- ชื่อเจ้าของเช็ค - ชื่อบัญชีของเจ้าของเช็ค
- สถานะ - สาขาของเช็ค มี 3 สถานะดังต่อไปนี้
- ยังไม่ได้ขึ้นเงิน - ยังไม่ได้เอาเช็คนี้ไปขึ้นเงิน
- ได้เงินเข้าบัญชีแล้ว - ในกรณีที่เรามาทำรับชำระเงิน
ภายหลังจากได้รับเงินจาก เช็คใบนี้ของลูกค้าแล้วก็ให้เลือก สถานะของเช็คเป็นได้เงินเข้าบัญชีแล้ว
- เช็คคืน - ในกรณีที่เรามาทำรับชำระเงิน ภายหลังจาก
ได้รู้ว่าเช็คลูกค้าถูกคืนจาก ธนาคาร ก็ให้เลือก สถานะของเช็คเป็น เช็คคืน
เพื่อเอาไว้ดูว่าเช็คใบไหนที่เราไม่ได้เงิน และต้องไปตามเก็บเงินโดยวิธีอื่นจากลูกค้าต่อไป
- หมายเหตุ- หมายเหตุกำกับเช็ครายการนี้
- Transfer
(เงินโอน) - ให้คลิ๊กปุ่ม Transfer (เงินโอน) จะมีหน้าจอรับเงินโอนขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนจะเป็น
Form Transfer Add (เพิ่มข้อมูลการรับเงินโอน)
ซึ่งเอาไว้ป้อนข้อมูลที่ลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชี โดยสามารถอธิบายวิธีการป้อนได้ดังต่อไปนี้
- กดปุ่ม
Bank Account (เลือกบัญชีที่ได้รับเงินโอน) -
เพื่อทำการเลือกว่าเงินโอนเข้าบัญชีไหน โดยเมื่อกดแล้วจะมี ภาพขึ้นมาดังต่อไปนี้
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
A. ให้ค้นหาบัญชีธนาคารที่ต้องการ
โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการบัญชีธนาคารที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง
Bank Account Detail ให้ Click เลือกรายการบัญชีที่ต้องการ จากในตาราง
- หากยังไม่เคยมีข้อมูลบัญชีธนาคาร
สามารถเพิ่มรายการบัญชีธนาคารใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่มบัญชี)
C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกบัญชี
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการบัญชีธนาคารในตาราง
เพื่อยืนยันการเลือกบัญชีธนาคาร ก็ได้
- หรือ Click เลือกรายการบัญชีธนาคารในตารางแล้วกดปุ่ม Enter
เพื่อยืนยันการเลือกบัญชีธนาคารก็ได้
- เมื่อเลือกรายการบัญชีธนาคารแล้ว ข้อมูลบัญชีที่เลือกจะเข้ามาอยู่ในหน้า
เพิ่มข้อมูลการรับเงินโอน
- จากนั้นให้ป้อน จำนวนเงินที่โอนเข้าบัญชี ในช่อง Transfer Money
(จำนวนเงินที่โอนเข้าบัญชี)
- จากนั้นให้เลือก Receive Date (วันที่รับเงินโอน) - เป็นวันที่เงินโอนเข้าบัญชี
- จากนั้นให้ป้อนจำนวนเงิน ที่จะหักกับยอดค้างชำระครั้งนี้ ในช่อง Money
(จำนวนเงินที่ใช้หักใบขาย) ซึ่ง จำนวนเงินนี้จะต้องไม่เกิน จำนวนเงินในช่อง รวมยอดค้างชำระ และ
ต้องไม่เกิน จำนวนเงิน MAX ที่ระบุไว้ด้านขวาของช่องนี้ (จำนวนเงิน MAX นี้จะมาจาก
ช่องจำนวนเงินในช่อง Transfer Money (จำนวนเงินที่โอนเข้าบัญชี)) เช่น จำนวนเงินที่โอนเข้าบัญชี = 500
บาท นั่นหมายความว่า Max = 500 ดังนั้นในช่อง Money (จำนวนเงินที่ได้) จะป้อนจำนวนเงินได้ไม่เกิน 500
บาท เป็นต้น
- จากนั้นให้กดปุ่ม OK เพื่อทำการยืนยันการ บันทึกข้อมูลการรับชำระเงิน
จากลูกค้าโดยการรับเงินโอน โดยถ้าหากว่าจำนวนเงินที่ได้จากการรับเงินโอน เท่ากับ รวมยอดค้างชำระ
โปรแกรมจะปิดหน้า รับเงินจากลูกค้าโดยอัตโนมัติเพราะถือว่า ได้รับชำระครบตามจำนวน
โดยไม่มียอดค้างชำระแล้ว แต่ถ้าหากว่า จำนวนเงินที่ได้จากการรับเงินโอน น้อยกว่า รวมยอดค้างชำระ
โปรแกรมจะปิดหน้ารับชำระโดยเงินโอน และจะกลับไปยังหน้า รับเงินจากลูกค้าโดยแสดงยอด รับเงินโอน
ที่จะได้รับมา พร้อมกับข้อมูลในการทำการผ่อน Tab Transfer (เงินโอน) ตัวอย่างเช่นดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน เป็นการรับชำระโดยเงินโอน จำนวนเงิน 500 บาท
แต่ก็ยังเหลือเงินค้างชำระอีก 399.80 บาท
- ใน
Tab Transfer (เงินโอน) สามารถที่จะทำการ แก้ไขรายการเงินโอนได้โดยการกดที่ปุ่ม
Edit (แก้ไข) หรือ สามารถที่จะทำการลบรายการเงินโอน ได้โดยการกดที่ปุ่ม Delete (ลบ)
- ใน
Tab Transfer (เงินโอน) จะมีตาราง Transfer (เงินโอน) โดยมีข้อมูลที่รับเงินโอน
โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
- จน. เงินที่ใช้หักยอดขาย - จำนวนเงินที่ใช้หักกับยอดขายในใบขายใบนี้
- ธนาคาร - ชื่อของธนาคารที่รับเงินโอน
- เลขที่บัญชี - เลขที่บัญชีที่รับเงินโอน
- ชื่อบัญชี - ชื่อบัญชีที่รับเงินโอน
- สาขาธนาคาร - ชื่อสาขาของธนาคารที่รับเงินโอน
- ประเภทบัญชี - ประเภทบัญชีที่รับเงินโอน มี 3 ประเภทดังต่อไปนี้
- ออมทรัพย์
- กระแสรายวัน
- ฝากประจำ
- จน.เงินโอนเข้าบัญชี - จำนวนเงินที่ได้รับเงินโอนเข้าบัญชี
- วันที่รับโอน - วันที่ได้รับเงินโอนเข้าบัญชี
- Credit
Note (ลดหนี้) - ให้คลิ๊กปุ่ม Credit Note (ลดหนี้)
จะมีหน้าจอหักหนี้โดยใช้ใบลดหนี้ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนจะเป็น
Form Credit Note Add (เพิ่มข้อมูลการหักหนี้โดยใช้ใบลดหนี้)
ซึ่งเอาไว้ป้อนข้อมูลที่ลูกค้าใช้ใบลดหนี้มาหักหนี้ โดยสามารถอธิบายวิธีการป้อนได้ดังต่อไปนี้
- กดปุ่ม
Select Credit Note (เลือกใบลดหนี้) - เพื่อทำการเลือกใบลดหนี้ที่จะเอามาหักหนี้
โดยเมื่อกดแล้วจะมี ภาพขึ้นมาดังต่อไปนี้
- จากภาพด้านบน จะแสดงให้เห็นว่าลูกค้ารายนี้ (ตามตัวอย่างชื่อ Customer 2)
มีใบลดหนี้ที่สามารถหักหนี้ได้ กี่รายการ แล้ว ในแต่ละรายการ มีจำนวนเงินที่ระบุในใบลดหนี้เท่าไหร่,
เคยใช้หักหนี้ไปแล้วเท่าไหร่ และ จำนวนเงินที่สามารถใช้หักหนี้ได้ เป็นเงินเท่าไหร่
- ให้เลือกรายการลดหนี้ที่ต้องการใช้หักหนี้ แล้วกดปุ่ม OK
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการลดหนี้ ก็ได้
หรือ Click เลือกรายการลดหนี้ในตารางแล้วกดปุ่ม Enter
เพื่อยืนยันการเลือกใบลดหนี้ก็ได้
- จากนั้นให้ป้อนจำนวนเงิน ที่จะหักกับยอดค้างชำระครั้งนี้ ในช่อง Money
(จำนวนเงินที่ใช้หักใบขาย) ซึ่ง จำนวนเงินนี้จะต้องไม่เกิน จำนวนเงินในช่อง รวมยอดค้างชำระ และ
ต้องไม่เกิน จำนวนเงิน MAX ที่ระบุไว้ด้านขวาของช่องนี้ (จำนวนเงิน MAX นี้จะมาจาก
ช่องจำนวนเงินในช่อง CN Money (จำนวนเงินที่ระบุในใบลดหนี้) ลบกับ
จำนวนเงินที่เคยใช้หักหนี้ใบขายไปแล้ว) เช่น จำนวนเงินที่ระบุในใบลดหนี้ = 500 บาท
แต่เคยใช้หักบขายไปแล้ว = 200 นั่นหมายความว่า Max = 500 - 200 = 300 ดังนั้นในช่อง Money
(จำนวนเงินที่ได้) จะป้อนจำนวนเงินได้ไม่เกิน 300 บาท เป็นต้น
- จากนั้นให้กดปุ่ม OK เพื่อทำการยืนยันการ บันทึกข้อมูลการรับชำระเงิน
จากลูกค้าโดยการใช้ใบลดหนี้มาหักหนี้ โดยถ้าหากว่าจำนวนเงินที่ได้จากใบลดหนี้ เท่ากับ รวมยอดค้างชำระ
โปรแกรมจะปิดหน้า รับเงินจากลูกค้าโดยอัตโนมัติเพราะถือว่า ได้รับชำระครบตามจำนวน
โดยไม่มียอดค้างชำระแล้ว แต่ถ้าหากว่า จำนวนเงินที่ได้จากใบลดหนี้ น้อยกว่า รวมยอดค้างชำระ
โปรแกรมจะปิดหน้ารับชำระโดยใช้ใบลดหนี้ และจะกลับไปยังหน้า รับเงินจากลูกค้าโดยแสดงยอด
เงินที่ใช้หักหนี้ใบขายจากใบลดหนี้ พร้อมกับข้อมูลการลดหนี้ ใน Tab Credit Note (ลดหนี้)
ตัวอย่างเช่นดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน เป็นการรับชำระโดยใช้ใบลดหนี้มาหักหนี้ จำนวนเงิน 150 บาท
แต่ก็ยังเหลือเงินค้างชำระอีก 249.80 บาท
- ใน
Tab Credit Note (ลดหนี้) สามารถที่จะทำการ
แก้ไขรายการใช้ใบลดหนี้มาหักหนี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม Edit (แก้ไข) หรือ
สามารถที่จะทำการลบรายการใช้ใบลดหนี้มาหักนี้ ได้โดยการกดที่ปุ่ม Delete (ลบ)
- ใน
Tab Credit Note (ลดหนี้) จะมีตาราง Credit Note (ลดหนี้)
โดยมีข้อมูลการใช้ใบลดหนี้มาหักนี้ โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
- จน. เงินที่ใช้หักยอดขาย - จำนวนเงินที่ใช้หักกับยอดขายในใบขายใบนี้
- ID ใบลดหนี้ - ID ของใบลดหนี้ที่โปรแกรมสร้างขึ้น
- เลขที่ใบกำกับใบลดหนี้ - เลขที่ใบกำกับใบลดหนี้
- จำนวนเงินที่ระบุในใบลดหนี้ - จำนวนเงินที่ระบุในใบลดหนี้
(จำนวนเงินที่ลดหนี้ให้ลูกค้า ตามใบลดหนี้)
- จำนวนเงินที่ใช้หักหนี้ไปแล้ว - จำนวนเงินที่เคยใช้ใบลดหนี้ใบนี้
หักหนี้กับใบขายใบอื่นไปแล้ว
- จำนวนเงินที่สามารถนำไปหักหนี้ได้ -
จำนวนเงินที่เหลือจากการเคยใช้ใบลดหนี้ใบนี้ ไปหักหนี้กับใบขายอื่น (จำนวนเงินที่ระบุในใบลดหนี้ ลบกับ
จำนวนเงินที่ใช้หักนี้ไปแล้ว)
- วันที่เอกสาร - วันที่เอกสารของใบลดหนี้
- โปรแกรมสามารถรับชำระ ได้หลายรูปแบบในครั้งเดียว ดังภาพที่จะแสดงผ่านมาด้านบน
- เมื่อป้อนข้อมูลการรับชำระเสร็จแล้ว แต่ยังเหลือยอดเงินที่ลูกค้ายังค้างชำระอยู่ ให้กดปุ่ม OK
เพื่อยืนยันการบันทึกข้อมูลการรับชำระที่ได้ป้อนไป แล้วทำให้ลูกค้ายังมียอดค้างชำระอยู่ หรือ กดปุ่ม Cancel
เพื่อยกเลิกการทำรับชำระเงินจากลูกค้า โดยไม่บันทึกข้อมูลที่ได้ป้อนเข้าไปในหน้านี้