สามารถเข้าใช้งานหัวข้อนี้ได้จากเมนู [ Data (ข้อมูล) -> Print Barcode Serial (พิมพ์บาร์โค้ด Serial) ]
หัวข้อนี้ มีไว้สำหรับ พิมพ์ Label หรือ พิมพ์สติ๊กเกอร์ ที่แสดงชื่อกิจการ, ชื่อสินค้า, หมายเหตุ, บาร์โค้ด Serial
Number ของสินค้า และราคาสินค้า สำหรับเอาไปแปะที่ตัวสินค้า เพื่อให้ง่ายเวลาขายสินค้า
เพียงแค่ใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด Scan ที่แถบ Barcode เวลาขาย ก็จะสามารถระบุได้ทันทีว่าขายสินค้าชนิดไหน
Serial Number อะไร
สำหรับระบบพิมพ์ Label ของโปรแกรม SabuySoft จะใช้ได้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทุกชนิด (Barcode Printer)
หรือ ถ้าไม่ได้ใช้เครื่องพิพม์บาร์โค้ด ก็สามารถพิมพ์ลงในเครื่องพิมพ์ธรรมดา เช่น Printer Inkjet, Printer Laser
ก็ได้
ตัวโปรแกรมสามารถกำหนดขนาดกระดาษ และขนาด Label พร้อมกับกำหนด ตำแหน่ง ที่จะแสดงชื่อกิจการ,
ชื่อสินค้า, หมายเหตุ, บาร์โค้ด และ ราคา และ ขนาดตัวหนังสือ ที่จะแสดงใน Label
พิมพ์บาร์โค้ด Serial (Printer Barcode Serial Number) มีขั้นตอนการใช้งานดังต่อไปนี้
1. ส่วนที่ใช้เตรียมรายการ Serial Number ของสินค้าที่ต้องการจะพิมพ์ Label บาร์โค้ด
- เป็นส่วนที่เวลาสั่งพิมพ์โปรแกรมจะนำค่าจากตารางนี้ ไปพิมพ์ Label Barcode Serial Number
- สามารถแก้ไข ราคาขาย, Comment (หมายเหตุ) โดยการ Click
ที่ช่องที่ต้องการแก้ไขได้ โดยการแก้ไขนี้จะไม่ส่งผล ราคา หรือ หมายเหตุ ที่กำหนดไว้ในหน้า สินค้า
(Product)
2. ส่วน Control ที่ใช้กระทำการต่างๆ ในหน้านี้ - โดยประกอบไปด้วย
- ช่อง
(S) เริ่มพิมพ์จากดวงที่
- มีระบุว่าต้องการเริ่มพิมพ์บาร์โค้ดจาก ดวงที่เท่าไหร่ในกระดาษ เช่น
กระดาษนี้ตามค่าที่ตั้งไว้ สามารถพิพม์ได้ 36 ดวง ถ้ากำหนด เริ่มพิมพ์จากดวงที่ 10
ก็หมายความว่าโปรแกรมจะเว้น Label ไว้ 9 ดวงแล้วเริ่มไปพิมพ์ข้อมูลในดวงที่ 10 ของสติ๊กเกอร์ใบแรก
- มีประโยชน์คือในกรณีที่สติ๊กเกอร์ในแผ่นยังเหลืออยู่ เช่นในแผ่นใช้ได้ 36 ดวง
แต่พิพม์ไปแล้ว 9 ดวง แล้วต้องการนำสติ๊กเกอร์แผ่นนี้มาพิมพ์อีก ก็สามารถนำมาพิมพ์ได้โดยเริ่มพิมพ์
จากดวงที่ 10 เพื่อใช้ Label Stick ให้คุ้มค่ามากที่สุด
- Check
Box Print Price 1 - มีไว้สั่งให้พิมพ์ราคาขายช่อง 1 ลงใน Label ด้วย
- Check
Box Print Price 2 - มีไว้สั่งให้พิมพ์ราคาขายช่อง 2 ลงใน Label ด้วย
- Check
Box Print Price 3 - มีไว้สั่งให้พิมพ์ราคาขายช่อง 3 ลงใน Label ด้วย
- ปุ่ม
Add (เพิ่มรายการสินค้า) - มีไว้สำหรับเพิ่มรายการ Serial Number ของสินค้าลงใน
รายการที่ต้องการพิมพ์บาร์โค้ด โดยเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าต่าง เลือกรายการ Serial Number ของสินค้า Pop
up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
A. ให้ค้นหา
Serial Number สินค้าที่ต้องการ โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหา
แล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา) โดย Serial Number ที่ค้นหาจะต้องเป็น Serial Number
ที่คงเหลืออยู่ในคลังสินค้าเท่านั้น
B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการ Serial Number ที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Stock
Serial Detail (รายการสินค้าที่มี Serial Number ในคลังสินค้า) ให้ Click เลือกรายการ Serial Number
ที่ต้องการ จากในตาราง
C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือก
Serial Number
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการ Serial Number ในตาราง
เพื่อยืนยันการเลือก Serial Number ก็ได้
- หรือ Click เลือกรายการ Serial Number ในตารางแล้วกดปุ่ม Enter
เพื่อยืนยันการเลือก Serial Number ก็ได้
- เมื่อทำการเลือก Serial Number แล้ว Serial Number ที่เลือกจะเข้ามาอยู่ ในตาราง Barcode List
(รายการ Serial Number ที่จะนำมาพิมพ์บาร์โค้ด)
- ปุ่ม
Delete (ลบรายการ) - มีไว้ลบรายการ Serial Number อยู่ในตาราง Barcode List (รายการ Serial
Number ที่จะนำมาพิมพ์บาร์โค้ด)
- ปุ่ม
Print Barcode (พิมพ์บาร์โค้ด) - มีไว้สำหรับสั่งพิมพ์ Label Barcode Serial Number
ออกทางเครื่องพิมพ์ โดยเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมี Form แสดงหน้าต่างเลือกแบบการพิมพ์ตามภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบน มีส่วนให้เลือกดังนี้
- เลือกเครื่องพิมพ์ที่ต้องการพิพม์ (โปรแกรมเลือก Printer ที่ตั้งค่าเป็น Default
มาให้)
- ถ้าต้องการแสดงตัวอย่างก่อนพิมพ์ ให้เช็คถูกตรง Print Preview
(แสดงตัวอย่างก่อนพิมพ์)
- กดปุ่ม OK เพื่อสั่งพิมพ์ หรือกดปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิกการพิมพ์
- ปุ่ม
Paper Setting (ตั้งค่ากระดาษที่ใช้พิมพ์ Barcode) - มีไว้สำหรับตั้งค่ากระดาษที่จะใช้ในการ
พิพม์ Label Barcode โดยเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมี Form แสดงหน้าต่างการตั้งค่าแบบการพิมพ์ตามภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบนสามารถ อธิบายวิธีการตั้งค่ากระดาษได้ดังต่อไปนี้
1. แสดงโครงสร้างของกระดาษและตำแหน่ง Label - จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าในตาราง
Edit Position ที่อยู่ทางด้านขวามือ
2. แสดงส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ภายใน Label แต่ละดวง -
จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าในตาราง Edit Position ที่อยู่ทางด้านล่าง
- Barcode Type - สามารถเลือกได้ว่าจะพิมพ์บาร์โค้ดโดยใช้ Code 39 หรือ Code 128b
โดยถ้าหากเป็น Code 39 จะต้องเลือก Fonts Barcode ด้วย แต่ถ้าหากเลือก Code 128b ก็ไม่จำเป็นต้องระบุ
Font Barcode
- ตาราง Edit Position (แก้ไขตำแหน่ง) - ในส่วนตารางนี้สามารถแก้ไขตำแหน่งและค่าต่างๆ
ได้โดยการ Click ที่ช่อง Value (cm) ในบรรทัดที่ต้องการแก้ไข โดยต้องใส่ค่าเป็น เซนติเมตร (cm)
ซึ่งค่าในตารางมีรายการดังนี้
- ความกว้าง กระดาษ
- ความสูง กระดาษ
- ระยะห่างจากขอบด้านซ้าย ของกระดาษ
- ระยะห่างจากขอบด้านบน ของกระดาษ
- ระยะห่างจากขอบด้านขวา ของกระดาษ
- ระยะห่างจากขอบด้านล่าง ของกระดาษ
- ระยะห่างระหว่าง ฉลาก ด้านกว้าง
- ระยะห่างระหว่าง ฉลาก ด้านสูง
- ตำแหน่งชื่อกิจการ X
- ตำแหน่งชื่อกิจการ Y
- ความกว้าง ชื่อกิจการ
- ความสูง ชื่อกิจการ
- ขนาด Fonts ชื่อกิจการ
- การจัดแนว ชื่อกิจการ (0 = ชิดซ้าย, 1 = กลาง, 2 = ชิดขวา)
- ตำแหน่งชื่อสินค้า X
- ตำแหน่งชื่อสินค้า Y
- ความกว้าง ชื่อสินค้า
- ความสูง ชื่อสินค้า
- ขนาด Fonts ชื่อสินค้า
- การจัดแนว ชื่อสินค้า (0 = ชิดซ้าย, 1 = กลาง, 2 = ชิดขวา)
- ตำแหน่ง หมายเหตุ X
- ตำแหน่ง หมายเหตุ Y
- ความกว้าง หมายเหตุ
- ความสูง หมายเหตุ
- ขนาด Fonts หมายเหตุ
- การจัดแนว หมายเหตุ (0 = ชิดซ้าย, 1 = กลาง, 2 = ชิดขวา)
- ตำแหน่ง Barcode X (Barcode ของ Serial Number)
- ตำแหน่ง Barcode Y (Barcode ของ Serial Number)
- ความกว้าง Barcode (Barcode ของ Serial Number)
- ความสูง Barcode (Barcode ของ Serial Number)
- ตำแหน่ง ราคา X
- ตำแหน่ง ราคา Y
- ความกว้าง ราคา
- ความสูง ราคา
- ขนาด Fonts ราคา
- การจัดแนว ราคา (0 = ชิดซ้าย, 1 = กลาง, 2 = ชิดขวา)
- X แสดงชื่อกิจการ - เช็คถูกหมายถึงให้แสดงชื่อกิจการใน Label
- Y แสดงชื่อสินค้า - เช็คถูกหมายถึงให้แสดงชื่อสินค้าใน Label
- Z แสดงราคา - เช็คถูกหมายถึงให้แสดงราคาขายใน Label
- Price 1 - เช็คถูกหมายถึงให้แสดงราคาขายช่อง 1 ใน Label (ต้องเช็คถูกช่อง Z
แสดงราคาก่อนถึงจะ เช็คถูกช่อง Price 1 ได้)
- Price 2 - เช็คถูกหมายถึงให้แสดงราคาขายช่อง 2 ใน Label (ต้องเช็คถูกช่อง Z
แสดงราคาก่อนถึงจะ เช็คถูกช่อง Price 2 ได้)
- Price 3 - เช็คถูกหมายถึงให้แสดงราคาขายช่อง 3 ใน Label (ต้องเช็คถูกช่อง Z
แสดงราคาก่อนถึงจะ เช็คถูกช่อง Price 3 ได้)
- W แสดง Comment - เช็คถูกหมายถึงให้แสดงหมายเหตุ Label
- ปุ่ม Default (ค่ามาตรฐาน) - มีไว้สำหรับตั้งค่าในหน้านี้ทั้งหมดให้เป็นค้า Default
(ค่าเริ่มต้นที่โปรแกรมกำหนดให้)
- เมื่อแก้ไขค่าต่างๆ แล้วกดปุ่ม Save
and Close เพื่อทำการบันทึกการแก้ไข
- หากต้องการออกจากหน้านี้โดยที่ไม่บันทึกการแก้ไข ให้กดปุ่ม Close (Not Save)
หากต้องการออกจากหน้านี้โดยไม่ต้องการบันทึกการเปลี่ยนแปลง สามารถกดปุ่ม ESC ที่ Keyboard หรือ
กดปุ่ม Close ที่หน้าจอเพื่อออกจากหน้านี้ได้