สามารถเข้าใช้งานหัวข้อนี้ได้จากเมนู [ Sell (ขาย) -> Sell (ขายสินค้า) ]
หัวข้อนี้ มีไว้สำหรับ ขายสินค้า
หัวข้อ ขายสินค้า ถือเป็นหัวข้อสำคัญ เพราะจะเป็นหน้าที่มีการใช้บ่อยที่สุด และใช้ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า
หรือ บริการ
ขายสินค้า (Sell) มีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้
- ระบบการขายสินค้าของโปรแกรม SabuySoft สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระบบ คือ
1. ระบบขายสินค้าแบบปกติ - จะมาคู่กับโปรแกรม SabuySoft Option, SabuySoft Minimart,
SabuySoft Business 2. ระบบขายสินค้าแบบมีสินค้าชุด - จะมาคู่กับโปรแกรม SabuySoft Professional หรือถ้าหากซื้อ
Version อื่นไป สามารถที่จะ Upgrade เพิ่มเติมได้ 3. ระบบขายสินค้าแบบสินค้าที่มีวันหมดอายุ - ระบบนี้จะใช้คู่กับ สินค้าที่มี Serial Number ไม่ได้
และต้องใช้ คู่กับ ระบบสินค้าที่สามารถติดลบได้เท่านั้น (Negative Stock) ซึ่งถ้าหากซื้อ Version อื่นไป
สามารถที่จะ Upgrade เพิ่มเติมได้
- เพื่อความเข้าใจ จะเริ่มอธิบายเรียงตามลำดับ จากระบบที่ 1 (ระบบปกติ) ไปจนถึงระบบที่ 4 (ระบบ Serial
Number)
- จากรูปด้านบน สามารถแบ่งขั้นตอนการใช้งาน เรียงตามตัวเลขดังนี้
1. ส่วนระบุข้อมูลใบขายส่วนบน - ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ระบุข้อมูลของใบขายนี้ เช่น ขายให้ใคร,
เลขที่บิลอะไร, มีภาษีหรือไม่มีภาษี (ถ้ามีภาษี เป็นแบบแยกนอกหรือรวมใน), ให้เครดิตกี่วัน, ขนส่งแบบไหน,
เป็นต้น โดยสามารถอธิบายข้อมูลที่จะต้องป้อนตามนี้คือ
- ปุ่ม [F4] Barcode ลูกค้า - มีไว้สำหรับเลือกลูกค้า โดยการระบุ Barcode ลูกค้า
โดยถ้ากดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ป้อน บาร์โค้ดลูกค้าดังภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบนให้ทำการป้อนบาร์โค้ดลูกค้า แล้วกดปุ่ม Enter
หรือถ้าหากใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด ก็สามารถสแกนบาร์โค้ดลูกค้าได้เลย จากนั้นโปรแกรมก็จะทำการดึงข้อมูล
ลูกค้าที่มีบาร์โค้ดตรงกับที่ป้อน ไปยังหน้าขายโดยอัตโนมัติ
- ปุ่ม Customer - มีไว้สำหรับเลือกลูกค้า ในกรณีที่ไม่ได้ทำ Barcode ลูกค้าไว้
ก็สามารถเลือกลูกค้าได้โดยการ กดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าต่างสำหรับเลือก Customer (ลูกค้า) ดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
A. ให้ค้นหาลูกค้าที่ต้องการ
โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาลูกค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการลูกค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง
Customer Detail ให้ Click เลือกรายการลูกค้าที่ต้องการ จากในตาราง
- หากยังไม่เคยมีข้อมูลลูกค้า
สามารถเพิ่มรายชื่อลูกค้าใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่ม)
C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกลูกค้า
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click
ที่รายการลูกค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกลูกค้า ก็ได้
- หรือ Click เลือกรายการลูกค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter
เพื่อยืนยันการเลือกลูกค้าก็ได้
- เมื่อเลือกรายการลูกค้าแล้ว ชื่อลูกค้าก็จะปรากฏอยู่ในหน้าขาย
โดยถ้าหากลูกค้าเป็น ลูกค้าสมาชิก ก็จะมีข้อความแสดงด้านบนของชื่อลูกค้าว่า เป็นลูกค้าสมาชิกระดับไหน
และถ้าหากลูกค้าคนที่เลือก ได้มีการตั้ง Credit, Shipping Address (สถานที่จัดส่ง), ส่วนลดท้ายบิล หรือ
ช่องราคาขาย ไว้ โปรแกรมก็จะทำการนำค่ามาใช้ในหน้าขายให้โดยอัตโนมัติ
- Invoice No - ตรงนี้จะเป็นส่วนให้ป้อนเลขที่ใบกำกับใบขาย
โดยสามารถป้อนเลขที่ใบกำกับเอง หรือสามารถตั้งให้โปรแกรมป้อนให้แบบอัตโนมัติ (Auto Invoice)
โดยการไปตั้งในหน้า Data (ข้อมูล) -> Branch (สาขา) -> Set Default Property
(กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab ขาย -> สร้างเลขที่ใบกำกับโดยอัตโนมัติ
(สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน
สาขา (Branch) ) - ถ้าหากไม่มีการป้อนเลขที่ใบกำกับใบขาย เวลาพิมพ์ใบขาย โปรแกรมจะใช้
เลขที่เอกสาร (Doc Number) แสดงแทน
- Date Time (วันที่) - ให้ระบุวันที่ที่ทำการขายของให้กับลูกค้า
- ข้อควรระวังสำหรับการป้อน วันที่ขาย - ถ้าหากใช้ระบบสินค้าติดลบไม่ได้
จะไม่สามารถขายของที่ขายเข้ามาทีหลังได้ หรือกล่าวอีกอย่างว่า จะไม่สามารถขายสินค้า
ก่อนวันที่ซื้อสินค้าเข้าคลังได้ ถึงแม้ว่าจะป้อนใบซื้อก่อนที่จะเปิดใบขายแล้วก็ตาม เช่น ซื้อสินค้า A มา 1 ชิ้น
วันที่ 2 มกราคา 2575 แต่เปิดใบขายวันที่ 1 มกราคม 2575 จะไม่พบสินค้า A ในคลังสินค้า เนื่องจากวันที่ 1
มกราคม 2575 ของยังไม่ได้เข้าคลัง แต่มาเข้าเอาวันที่ 2 มกราคม 2575
- Tax (ภาษี) - ให้เลือกว่า ใบขายใบนี้ มีภาษีหรือไม่มีภาษี โดยสามารถเลือกได้ดังนี้
- ยกเว้นภาษี (ไม่มีภาษี)
- คิดภาษี (มีภาษี)
- Credit (วัน) - ป้อนจำนวนวันที่ทางเราให้เครดิตกับลูกค้า เพื่อที่จะได้เอาไว้ดูว่าใกล้ถึง
Deal ที่จะต้องเรียกเก็บเงินจากลูกค้าหรือยัง
- VAT Type (ลักษณะภาษี) - ระบุลักษณะภาษี ซึ่งการระบุนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อเลือก Tax
(ภาษี) ให้เป็น คิดภาษี โดยสามารถเลือกได้ดังนี้
- แยกนอก - ราคาสินค้ายังไม่รวมภาษี เช่น สินค้า 100 บาท ต้องคิดภาษีอีก 7%
เป็น 107 บาท
- รวมใน - ราคาสินค้า รวมภาษีแล้ว เช่น สินค้า 100 บาท รวมภาษี 7% แล้ว
และราคาก่อนคิดภาษี = 93.46 บาท
- ใบเสนอราคาเลขที่ - ช่องนี้จะไม่สามารถป้อนค่าได้ ซึ่งโปรแกรมจะดึง ID
ของใบเสนอราคามาแสดงเอง หากมีการทำรายการซื้อจากใบเสนอราคา
- PO (PO เลขที่) - ใบสั่งซื้อเลขที่ ให้ป้อนเลขที่ใบสั่งซื้อที่ได้มาจากลูกค้า
เพื่อที่จะเอาไว้อ้างอิงในการค้นหาได้ในภายหลัง
- Delivery (การขนส่ง) - เลือกวิธีการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้า
(สามารถเลือกหรือไม่เลือกก็ได้)
- วิธีการขนส่งสินค้า จะมาจากการกำหนด การขนส่งไว้ก่อน
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้า การขนส่ง (Delivery) - Shipping Address (สถานที่จัดส่ง) - เลือกสถานที่จัดส่ง ที่จะส่งสินค้าไปให้ลูกค้า
- สถานที่จัดส่งจะขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่ละราย โดยสามารถดูวิธีการเพิ่มสถานทีจัดส่ง
ได้ที่หน้า ลูกค้า(Customer) - Comment (หมายเหตุ) - ถ้าต้องการใส่หมายเหตุกำกับใบขายใบนี้ สามารถป้อนได้ที่ช่องนี้
- ID - แสดง ID ของใบขายที่โปรแกรมสร้างขึ้น ถ้าหากเป็นการเปิดใบขายใบใหม่ ID
ตรงนี้จะแสดงเป็น 0 แต่พอบันทึกโปรแกรมจะใส่ค่า ID ให้เอง แต่ถ้าหากเป็นการแก้ไขใบขาย ID
ตรงนี้จะแสดง ID ของใบขาย ที่กำลังแก้ไขอยู่
- DocNo - แสดงหมายเลขเอกสาร (Document Number) ของใบขายที่โปรแกรมสร้างขึ้น
ถ้าหากเป็นการเปิดใบขายใบใหม่ DocNo ตรงนี้จะแสดงเป็น 0 แต่พอบันทึกโปรแกรมจะใส่ค่า DocNo ให้เอง
แต่ถ้าหากเป็นการแก้ไขใบขาย DocNo ตรงนี้จะแสดง DocNo ของใบขาย ที่กำลังแก้ไขอยู่
2. ส่วนตาราง Product (รายการสินค้า) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง รายการสินค้า ที่จะขายในใบขายใบนี้ โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
- ลำดับ - ลำดับที่ เริ่มตั้งแต่ 1 ลงไป (หรือหมายถึงบรรทัดที่)
- ID - ID ของสินค้า
- รหัสสินค้า - รหัสของสินค้า
- Barcode - บาร์โค้ดของสินค้า
- ชื่อสินค้า - ชื่อสินค้า
- จำนวน - จำนวนที่ขาย
- หน่วย - หน่วยที่ขาย
- ราคาก่อนลด - ราคาขายสินค้าต่อหน่วยก่อนได้รับส่วนลด
- ส่วนเงินสด - ในกรณีที่ลูกค้าต้องการใช้ส่วนลดเงินสดด้วย สามารถเปิดการใช้ส่วนลด
ได้ที่เมนู Data (ข้อมูล) -> Branch (Branch) -> Set Default Property
(กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab ขาย -> เปิดใช้ส่วนลดเงินสดในการขายแต่ละบรรทัด
(สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน สาขา (Branch) ) เมื่อเปิดใช้งานส่วนลดเงินสด ก็จะมี Column
ส่วนลดเงินสดขึ้นมาดังภาพด้านล่าง - ส่วนลด % - ส่วนลดของสินค้าต่อหน่วยเป็น %
- ราคาหลังลด - ราคาขายสินค้าหลังจากหักส่วนลดเงินสด และ ส่วนลด % แล้ว
- จำนวนเงิน - จำนวนเงินรวมหลังหักส่วนลดแล้วของสินค้าที่ขายในบรรทัดนี้ (จำนวน x
ราคาหลังลด )
- จำนวนสินค้าเป็นทศนิยมได้ - เช็คถูกหมายความว่าสินค้ารายการนี้สามารถ
ป้อนจำนวนเป็นทศนิยมได้
- ราคาซื้อสินค้าล่าสุด ก่อน Vat - แสดงราคาซื้อสินค้าล่าสุด ที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
เพื่อเอาไว้ประกอบการตัดสินใจได้ว่า จะลดราคาให้กับลูกค้าได้เท่าไหร่ (สำหรับ Column
นี้จะแสดงก็ต่อเมื่อผู้ใช้ มีสิทธิ์ในการดูราคาซื้อสินค้าล่าลุด เท่านั้น ถ้าหากผู้ใช้งานไม่มีสิทธิ์ในการดู
ราคาซื้อสินค้าล่าสุด Column นี้ก็จะไม่ปรากฎให้เห็น (วิธีการตั้งสิทธิ์สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่หน้า พนักงาน
(Officer) ) - ราคาซื้อสินค้าล่าสุด หลัง Vat - แสดงราคาซื้อสินค้าล่าสุด ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
เพื่อเอาไว้ประกอบการตัดสินใจได้ว่า จะลดราคาให้กับลูกค้าได้เท่าไหร่ (สำหรับ Column
นี้จะแสดงก็ต่อเมื่อผู้ใช้ มีสิทธิ์ในการดูราคาซื้อสินค้าล่าลุด เท่านั้น ถ้าหากผู้ใช้งานไม่มีสิทธิ์ในการดู
ราคาซื้อสินค้าล่าสุด Column นี้ก็จะไม่ปรากฎให้เห็น (วิธีการตั้งสิทธิ์สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่หน้า พนักงาน
(Officer) ) - ในส่วนบนของตาราง จะมีเครื่องหมาย
+ กับ - ที่ใช้เอาไว้สำหรับปรับขนาดตัวหนังสือ
ในตารางให้เล็กหรือใหญ่ได้ตามต้องการ
3. ส่วน Auto Input - เป็นส่วนที่ช่วยอำนวยความสะดวก ในการป้อนรายการขายสินค้า ทำได้ง่าย
และ รวดเร็วขึ้น โดยสามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
- [F2] Auto Input - ช่อง Auto Input นี้จะเป็นช่องที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูล
สินค้าที่ต้องการจะขายได้หลากหลายวิธี โดยถ้าหาก Cursor ไปอยู่ที่อื่นสามารถกดปุ่ม F2 เพื่อให้ Cursor
มาอยู่ที่ช่อง Auto Input ได้ทันที. วิธีการป้อนข้อมูลในช่อง Auto Input มีดังต่อไปนี้
A. ป้อนโดยใช้ บาร์โค้ดสินค้า - ป้อนบาร์โค้ดสินค้าโดยอ่านใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด
หรือ ป้อนโดยใช้ Keyboard แล้วกดปุ่ม Enter ก็ได้ ถ้าหากโปรแกรมพบสินค้าที่มีบาร์โค้ดตรงกับที่ป้อน
ก็จะดึงรายการสินค้า มาใส่ในตาราง Product (รายการสินค้า)
B. ป้อนโดยใช้ รหัสสินค้า - ป้อนรหัสสินค้า แล้วกดปุ่ม Enter
ถ้าหากโปรแกรมพบสินค้าที่มีรหัสสินค้าตรงกับที่ป้อน ก็จะดึงรายการสินค้า มาใส่ในตาราง Product
(รายการสินค้า)
C. ป้อนโดยใช้ ส่วนหนึ่งของชื่อสินค้า - ในกรณีที่บาร์โค้ดฉีกขาดไม่สามารถ
ใช้เครื่องอ่านๆ ได้และไม่สามารถป้อนโดยใช้ Keyboard ได้. การป้อนโดยใช้ชื่อสินค้าก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
โดยป้อนส่วนหนึ่งของชื่อสินค้า (ควรจะป้อนส่วนที่ไม่ค่อยซ้ำกับชื่อสินค้าอื่น) จากนั้นกดปุ่ม Enter
โปรแกรมก็จะทำการค้นหาสินค้า ที่มีส่วนหนึ่งของชื่อสินค้า ตรงกับที่ป้อนมาให้เลือก เช่น ป้อนคำว่า
"ชาเขียว" ดังภาพด้านล่าง
จากนั้นกดปุ่ม Enter จะมีหน้าเลือกสินค้าขึ้นมาโดยจะแบ่งได้เป็น 2
ระบบดังนี้คือ
- ระบบ Stock ติดลบได้ - จะแสดงหน้า Select Product (เลือกสินค้า)
ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน จะเป็นหน้า เลือกสินค้า
โดยรายการสินค้าที่แสดงในตาราง Product Detail (รายการสินค้า) จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับ "ชาเขียว" ทั้งสิ้น
- ให้ทำการเลือกรายการที่ต้องการโดยกดปุ่มลูกศร ขึ้น หรือ ลง
แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
- หรือเลือกรายการโดยการใช้ Mouse double click
ที่รายการที่ต้องการ เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
- หรือเลือกรายการที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่ม OK
เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
- ระบบ Stock ติดลบไม่ได้ - จะแสดงหน้า Select Product In Stock
(เลือกสินค้าในคลังสินค้า) ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน จะเป็นหน้า เลือกสินค้าในคลังสินค้า
โดยรายการสินค้าที่แสดงในตาราง Stock Detail (รายการสินค้าในคลังสินค้า) จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับ
"ชาเขียว" เฉพาะที่มีอยู่ในคลังสินค้าเท่านั้น
- ให้ทำการเลือกรายการที่ต้องการโดยกดปุ่มลูกศร ขึ้น หรือ ลง
แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
- หรือเลือกรายการโดยการใช้ Mouse double click
ที่รายการที่ต้องการ เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
- หรือเลือกรายการที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่ม OK
เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
D. ป้อนบริการ - สามารถใช้ช่อง Auto Input ในการป้อนบริการได้โดยการกดปุ่ม
* แล้วตามด้วย ค่าบริการ เช่น ป้อน "*500" ดังภาพด้านล่าง
จากนั้นกดปุ่ม Enter โปรแกรมจะทำการเพิ่มการขายบริการ ลงในตาราง
Product (รายการสินค้า) ดังภาพด้านล่าง
D. ป้อนจำนวนขาย - ในช่อง Auto Input เราสามารถป้อนจำนวนขาย
ก่อนที่จะป้อนข้อมูลสินค้าที่จะขาย เพื่อความรวดเร็วในกรณีที่ลูกค้าซื้อสินค้าเดียวกัน ในปริมาณ มากๆ เช่น
ซื้อชาเขียว 15 ขวด แทนที่เราป้อนโดยการสแกนบาร์โค้ด 15 ครั้ง ก็ให้เราป้อนจำนวนขายให้เป็น 15 ก่อน
แล้วค่อยสแกนบาร์โค้ด ครั้งเดียว ก็จะมีผลเหมือนกับการสแกนบาร์โค้ด 15 ครั้ง และประหยัดเวลากว่าเยอะ
โดยวิธีการป้อนก็ให้ พิมพ์เครื่องหมาย + ก่อนแล้วตามด้วยจำนวนที่ต้องการขาย เช่น ป้อน "+15"
ดังภาพด้านล่าง
จากนั้นกดปุ่ม
Enter จะสังเกตุได้ว่าช่อง x [F3]จำนวน จะมีตัวเลข 15
ขึ้นมาดังภาพ
จากนั้นให้ทำการป้อนข้อมูลที่ต้องการขาย ลงในช่อง Auto Input เช่น
ป้อนบาร์โค้ด "00003" ซึ่งเป็น บาร์โค้ดของ Product 3 ดังภาพด้านล่าง
จากนั้นกดปุ่ม Enter โปรแกรมก็จะทำการเพิ่มสินค้า Product 3
ลงไปในตาราง Product (รายการสินค้า) จำนวน 15 ชิ้นดังภาพด้านล่าง
- [F3] จำนวน - ช่องนี้เอาไว้สำหรับป้อนจำนวน ก่อนที่จะทำการป้อนข้อมูลในช่อง Auto
Input โดยถ้า Cursor อยู่ที่อื่นสามารถกดปุ่ม F3 เพื่อให้ Cursor มาอยู่ที่ช่อง จำนวน แล้วทำการป้อนได้ทันที
- หลังจากที่ป้อนจำนวนเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Enter แล้ว Cursor ไปอยู่ที่ช่อง Auto
Input โดยอัตโนมัติ
- ในกรณีที่ใช้จอระบบสัมผัส (Touch Screen) สามารถกดที่ปุ่ม [F3] จำนวน แล้วจะมีหน้าสำหรับ ป้อนจำนวนโดยใช้จอ Touch Screen ขึ้นมาดังภาพ
- จากภาพด้านบนให้กดที่ปุ่มตัวเลข เพื่อเป็นการป้อนจำนวน จากนั้น
กดที่ปุ่ม OK เพื่อใช้จำนวนที่ป้อน แล้วกลับไปยังหน้าขาย
- [F8] ส่วนลด - ช่องนี้เอาไว้สำหรับป้อนส่วนลด % ก่อนที่จะทำการป้อนข้อมูลในช่อง
Auto Input โดยถ้า Cursor อยู่ที่อื่นสามารถกดปุ่ม F8 เพื่อให้ Cursor มาอยู่ที่ช่อง ส่วนลด
แล้วทำการป้อนได้ทันที
- หลังจากที่ป้อนส่วนลดเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Enter แล้ว Cursor ไปอยู่ที่ช่อง Auto
Input โดยอัตโนมัติ
- ส่วนลดที่ป้อนจะไม่มีผลกับการป้อน บริการในช่อง Auto Input
4. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตาราง Product (รายการสินค้า) -
สามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
- ปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะขายลงใน ตาราง Product (รายการสินค้า)
โดยการเลือกสินค้า โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ
- ระบบ Stock ติดลบได้ - เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าเลือกรายการสินค้า Pop up
ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
A . ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ
โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง
Product Detail ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ จากในตาราง
- หากยังไม่เคยมีข้อมูลสินค้า
สามารถเพิ่มรายการสินค้าใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า)
C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click
ที่รายการสินค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า ก็ได้
- หรือ Click เลือกรายการสินค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter
เพื่อยืนยันการเลือกสินค้าก็ได้
- เมื่อเลือกรายการสินค้าแล้ว สินค้าจะเข้ามาอยู่ในหน้าขาย
โดยสามารถเลือกรายการสินค้าที่ต้องการ มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close
เพื่อปิดหน้าเลือกรายการสินค้า
- ระบบ Stock ติดลบไม่ได้ - เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เลือกสินค้าในคลังสินค้า
Pop up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
A . ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ จากคลังสินค้า
โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง
Stock Detail (รายการสินค้าในคลังสินค้า) ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ จากในตาราง
C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click
ที่รายการสินค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า ก็ได้
- หรือ Click เลือกรายการสินค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter
เพื่อยืนยันการเลือกสินค้าก็ได้
- เมื่อเลือกรายการสินค้าแล้ว สินค้าจะเข้ามาอยู่ในหน้าขาย
โดยสามารถเลือกรายการสินค้าที่ต้องการ มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close
เพื่อปิดหน้าเลือกสินค้าในคลังสินค้า
- ปุ่ม Add Service (เพิ่มบริการ) - ใช้สำหรับเพิ่มสินบริการที่จะขายลงใน ตาราง Product
(รายการสินค้า) เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าเลือกรายการบริการ Pop up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
A . ให้ค้นหาบริการที่ต้องการ
โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาบริการแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการบริการที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Service
Detail (รายการ บริการ) ให้ Click เลือกรายการบริการที่ต้องการ จากในตาราง
- หากยังไม่เคยมีข้อมูลบริการ สามารถเพิ่มรายการ
บริการใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่มบริการ)
C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกบริการ
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการบริการในตาราง
เพื่อยืนยันการเลือกบริการ ก็ได้
- หรือ Click เลือกรายการบริการในตารางแล้วกดปุ่ม Enter
เพื่อยืนยันการเลือกบริการก็ได้
- เมื่อเลือกรายการบริการแล้ว บริการจะเข้ามาอยู่ในหน้าขาย
โดยสามารถเลือกรายการบริการที่ต้องการ มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close
เพื่อปิดหน้าเลือกรายการบริการ
- ปุ่ม Edit (แก้ไข) - ใช้สำหรับแก้ไข ชื่อสินค้าที่จะขาย, ชื่อบริการที่จะขาย, จำนวน, หน่วย,
ราคาก่อนลด, ส่วนลด %, ส่วนลดเงินสด ของรายการสินค้าที่ต้องการขาย ในบรรทัดที่เลือกอยู่ในตาราง
Product (รายการสินค้า) ซึ่งเมื่อกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า ต่างขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนจะมีรายการสินค้าอยู่ 3 บรรทัดโดยบรรทัดกลาง
จะแสดงรายการสินค้าที่ต้องการแก้ไข ส่วนบรรทัดบนจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า
ที่อยู่บนบรรทัดที่ต้องการแก้ไข และ บรรทัดล่างจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า
ที่อยู่ล่างบรรทัดที่ต้องการแก้ไข
- เราสามารถแก้ไข ข้อมูลได้ดังต่อไปนี้
- ชื่อสินค้าที่จะขาย - สามารถเปลี่ยนชื่อสินค้าที่จะขายในใบขายใบนี้ได้
โดยจะมีผลเวลาพิมพ์ใบขายสินค้า จะเหมาะสำหรับในบางกรณีที่ ขายสินค้าให้กับทางราชการ
ซึ่งบางทีต้องการชื่อสินค้าเป็นภาษาไทย แต่ในระบบเราได้ป้อนเป็นภาษาอังกฤษ เช่น CPU
แต่อยากจะให้แสดงในใบขายเป็น หน่วยประมวลผล เป็นต้น
- โดยปกติโปรแกรมจะถูกตั้งค่าไว้ไม่ให้
แก้ไขชื่อสินค้าเวลาขายสินค้า แต่ก็สามารถ ตั้งค่าให้เปลี่ยนชื่อสินค้าเวลาขายได้ โดยการตั้งค่าที่ เมนู Data
(ข้อมูล) -> Branch (สาขา) -> Set Default Property (กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab
ขาย -> การเปลี่ยนชื่อสินค้าเวลาขาย (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน สาขา (Branch) ) - จำนวน - จำนวนที่จะขาย
- Unit [F2] - ในหน้าจอนี้เราสามารถเลือกหน่วยได้ โดย Click ที่ Unit
(F2) ก็จะมีหน้าต่างสำหรับเลือกหน่วยขึ้นมาดังภาพ
โดยให้เราเลือกหน่วยที่ต้องการแล้วกดปุ่ม
OK เพื่อกลับไปหน้า
แก้ไขจำนวน, หน่วย และ ราคาสินค้า
- ราคาก่อนลด - ราคาขายก่อนลด
- ส่วนลดเงินสด
- โดยปกติโปรแกรมจะถูกตั้งค่าไว้ไม่ให้
แสดงช่องส่วนลดเงินสด แต่ก็สามารถ ตั้งค่าให้ให้แสดงส่วนลดเงินสดได้ โดยการตั้งค่าที่ เมนู Data (ข้อมูล) -> Branch (สาขา) -> Set Default Property (กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab ขาย ->
เปิดใช้ส่วนลดเงินสดในรายการขายแต่ละบรรทัด (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน สาขา (Branch) ) - ส่วนลด % - สำหรับช่องส่วนลด % นี้เราสามารถป้อนส่วนลดซ้อนได้
เช่น 15+10+3 หมายความว่า ลด 15% แล้วตามด้วย 10% แล้วตามด้วย 3% ตามลำดับ
ซึ่งจะเหมาะกับบางกิจการที่ใช้ส่วนลดซ้อน เช่นกิจการประเภทขายอุปกรณ์ก่อสร้าง
- หากเป็นระบบ Stock ติดลบไม่ได้ จะมีจำนวน Stock แสดงอยู่ด้านล่างของ
Column จำนวน จะเอาไว้แสดงว่าตอนนี้สินค้านี้ เหลืออยู่ในคลังสินค้ากี่ชิ้น
- วิธีการเลื่อนบรรทัดสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
A. กดลูกศร ขึ้น เพื่อเลื่อนบรรทัดขึ้น
B. กดลูกศร ลง เพื่อเลื่อนบรรทัดลง
C. กดปุ่ม Enter จนกว่าจะเลื่อนบรรทัด - การกดปุ่ม Enter
นี้จะใช้ประโยชน์ได้มาก และประหยัดเวลาที่เราจะต้องเอา Mouse ไปเลือกแก้ไขทีละรายการ
โดยเมื่อป้อนจำนวนเสร็จ ให้กด Enter จากนั้นก็ป้อน ราคาก่อนลด แล้วกด Enter แล้วป้อนส่วนลดเงินสด
(ถ้ามี) แล้วกด Enter แล้วป้อนส่วนลด % แล้วกด Enter ก็จะเป็นการเลื่อนบรรทัด
- ข้อมูลจะถูกแก้ไขก็ต่อเมื่อทำการเลื่อนบรรทัดแล้วเท่านั้น
- ปุ่ม Delete (ลบ) - ใช้สำหรับลบของรายการสินค้าที่อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า)
โดยเลือกรายการที่ต้องการลบออกจากตาราง Product (รายการสินค้า) แล้วกดปุ่ม Delete (ลบ)
- ปุ่ม Last Sell Price (ดูราคาขายล่าสุด) - ปุ่มนี้ใช้สำหรับดูว่าราคาที่ขายล่าสุด
ที่ขายให้กับลูกค้าคนนี้ ราคาเท่าไหร่ วิธีใช้ก็ให้เลือกรายการสินค้าที่อยู่ใน รายการขายในตาราง Product
(รายการสินค้า) แล้วกดปุ่มนี้ จะมีหน้า ดูราคาขายล่าสุดขึ้นมา ดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนจะแสดงให้เห็นราคาของสินค้าชื่อ Product 1
ที่ขายให้กับลูกค้าชื่อ Customer 3 โดยแสดง 5 รายการล่าสุด วันที่เท่าไหร่ และ ราคาเท่าไหร่
(จากรูปด้านบนที่แสดง 2 รายการก็เพราะว่าลูกค้ารายนี้ เคยซื้อสินค้า Product 1 นี้ไปแค่ 2 ครั้งเท่านั้น)
- ถ้าต้องการออกจากหน้านี้ให้กดปุ่ม Close
- ปุ่ม [+] - ใช้สำหรับขยายตัวหนังสือในตาราง Product (รายการสินค้า) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
เพื่อทำให้ตัวโตอ่านง่าย
- ปุ่ม [-] - ใช้ย่อตัวหนังสือในตาราง Product (รายการสินค้า) ให้มีขนาดเล็กลง
5. ส่วนระบุข้อมูลใบขายส่วนล่าง - ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ระบุข้อมูลส่วนท้ายของใบขายนี้
มีข้อมูลที่สามารถป้อนหรือดูได้ตามนี้คือ
- ปุ่ม ส่วนลด Promotion - ปุ่มนี้มีไว้สำหรับดูว่า ส่วนลดโปรโมชั่นที่เกิดขึ้นนั้น
มาจากโปรโมรชั่นอะไรบ้าง และแต่ละโปรโมชั่นลดไปเท่าไหร่ นอกจากนั้นปุ่มนี้ยังสามารถใช้ดูได้อีกด้วยว่า
ตอนนี้ที่ร้านมีโปรโมชั่นอะไรบ้าง เพื่อจะได้บอกลูกค้าได้ โดยเมื่อกดปุ่มนี้จะมีหน้าจอแสดง โปรโมชั่น
ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนสามารถอธิบายได้ดังนี้
A. ส่วน ตาราง Effect Pomotion (โปรโมชั่นที่ใช้ในบิลนี้) -
จะแสดงรายการโปรโมชั่นที่ ถูกใช้ภายในบิลขายใบนี้ โดยมีหัวข้อในตารางดังต่อไปนี้
- ID - ID ของ โปรโมชั่นที่โปรแกรมสร้างขึ้น
- Priority - ค่าความสำคัญของโปรโมชั่น
(ค่านี้ถ้ายิ่งมากก็จะถูกนำมา คำนวนโปรโมชั่นก่อน)
- ชื่อโปรโมชั่น
- จำนวนครั้งที่ใช้ - จำนวนครั้งที่โปรโมชั่นนี้ ถูกใช้งาน
ในใบขายใบนี้
- ราคาก่อนโปรโมชั่น - ราคารวมของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ
โปรโมชั่นนี้ก่อนที่ละหักส่วนลดโปรโมชั่น
- ส่วนลดโปรโมชั่น
- ราคาหลังโปรโมชั่น - ราคารวมของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ
โปรโมชั่นนี้ หลังหักส่วนลดโปรโมชั่นแล้ว
- Detail - รายละเอียดโปรโมชั่น
A. ส่วน ตาราง Enable Pomotion (โปรโมชั่นที่ สาขานี้
สามารถใช้ได้ในขณะนี้) - จะแสดงรายการโปรโมชั่นที่ สามารถใช้ได้ภายในสาขานี้ และเวลานี้
โดยมีหัวข้อในตารางดังต่อไปนี้
- ID - ID ของ โปรโมชั่นที่โปรแกรมสร้างขึ้น
- ความสำคัญ - ค่าความสำคัญของโปรโมชั่น หรือ Priority
(ค่านี้ถ้ายิ่งมากก็จะถูกนำมา คำนวนโปรโมชั่นก่อน)
- ชื่อโปรโมชั่น
- วันที่เริ่มโปรโมชั่น - วันเริ่มต้นที่โปรโมชั่นนี้
สามารถใช้งานได้
- ราคาก่อนโปรโมชั่น - วันสุดท้ายที่โปรโมชั่นนี้
สามารถจะใช้งานได้
- หมายเหตุ - หมายเหตุกำกับโปรโมชั่น
- Detail - รายละเอียดโปรโมชั่น
- ส่วนลด % - ช่องนี้มีไว้สำหรับป้อนส่วนลด % โดยส่วนลดนี้จะเป็นส่วนลดทั้งใบขาย
ที่ลดหลังจากรวมราคาขายทุกรายการแล้ว
- ในกรณีที่ใช้จอระบบสัมผัส (Touch Screen) สามารถกดที่ปุ่ม ส่วนลด % แล้วจะมีหน้าสำหรับ ป้อนส่วนลด % โดยใช้จอ Touch Screen ขึ้นมาดังภาพ
- จากภาพด้านบนให้กดที่ปุ่มตัวเลข เพื่อเป็นการป้อนส่วนลด % จากนั้น
กดที่ปุ่ม OK เพื่อใช้จำนวนที่ป้อน แล้วกลับไปยังหน้าขาย
- ส่วนลดเงินสด - ช่องนี้มีไว้สำหรับป้อนส่วนลดเงินสด
โดยส่วนลดนี้จะเป็นส่วนลดทั้งใบขาย ที่ลดหลังจากรวมราคาขายทุกรายการแล้ว
- ในกรณีที่ใช้จอระบบสัมผัส (Touch Screen) สามารถกดที่ปุ่ม ส่วนลดเงินสด แล้วจะมีหน้าสำหรับ ป้อนส่วนลดเงินสด โดยใช้จอ Touch Screen ขึ้นมาดังภาพ
- จากภาพด้านบนให้กดที่ปุ่มตัวเลข เพื่อเป็นการป้อนส่วนลดเงินสด
จากนั้น กดที่ปุ่ม OK เพื่อใช้จำนวนที่ป้อน แล้วกลับไปยังหน้าขาย
2. ระบบขายสินค้าแบบมีสินค้าชุด - สินค้าชุดหมายถึง สินค้าที่ขายเป็นชุด เช่น ชุดกระเช้าของขวัญ ที่ประกอบด้วย เครื่องดื่ม, นมผง,
ช็อกโกแลต, ชาเขียว, ... เป็นต้น
- จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เป็นส่วนสินค้าชุดเท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ
ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานจะเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
1. ปุ่ม Add New Set (เพิ่มชุดสินค้าใหม่) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าชุดที่จะขาย เวลากดปุ่มนี้แล้ว
จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ป้อน ชื่อชุดสินค้า กับ ราคาขายต่อ 1 ชุด ดังภาพต่อไปนี้
- จากภาพด้านบนให้ป้อน ชื่อชุดสินค้า แล้วป้อน ราคาขาย จากนั้นกด Enter หรือกดปุ่ม OK
เพื่อให้รายการชุดสินค้า ไปอยู่ในรายการขายสินค้า โดยมีจำนวน 1 ชุด ซึ่งถ้าหากต้องการแก้จำนวนชุด
ค่อยแก้ภายหลัง
2. ส่วนตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง
รายการสินค้าที่อยู่ในสินค้าชุด จำนวน 1 ชุด ซึ่งจะแสดงก็ต่อเมื่อ รายการสินค้าที่ Focus ในตาราง Product
(รายการสินค้า) เป็นสินค้าชุด โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
- ลำดับ - ลำดับที่ เริ่มตั้งแต่ 1 ลงไป (หรือหมายถึงบรรทัดที่)
- ID - ID ของสินค้า
- รหัสสินค้า - รหัสของสินค้า
- Barcode - บาร์โค้ดของสินค้า
- ชื่อสินค้า - ชื่อสินค้า
- จำนวน - จำนวนที่ขาย
- หน่วย - หน่วยที่ขาย
- จำนวนสินค้าเป็นทศนิยมได้ - เช็คถูกหมายความว่าสินค้ารายการนี้สามารถ
ป้อนจำนวนเป็นทศนิยมได้
3. ส่วน Auto Input - เป็นส่วนที่ช่วยอำนวยความสะดวก ในการป้อนรายการขายสินค้า ทำได้ง่าย
และ รวดเร็วขึ้น โดยวิธีการใช้งานจะใช้เหมือนกับ ส่วน Auto Input ที่เคยอธิบายไว้แล้วในด้านบน
ซึ่งจะขออธิบายแต่ส่วนที่แตกต่างจากด้านบน ดังต่อไปนี้
- สำหรับ Auto Input ส่วนนี้จะเป็นการป้อนรายการขาย ลงในตาราง Product Set
(รายการสินค้าต่อ 1 ชุด)
- กดปุ่ม [F5] เพื่อให้
Cursor มาอยู่ที่ช่อง Auto Input นี้
- กดปุ่ม [F6] เพื่อให้
Cursor มาอยู่ที่ช่อง จำนวน
- ในช่อง Auto Input ส่วนนี้ จะไม่สามารถป้อน บริการได้ เนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้ป้อน
สินค้าที่อยู่ในชุดเท่านั้น
- ส่วน Auto Input นี้จะไม่รองรับจอระบบสัมผัส
(Touch Screen Monitor)
3. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) -
ส่วนปุ่มนี้จะสามารถกดได้ ก็ต่อเมื่อมีการเลือกรายการสินค้าชุด ที่อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า)
โดยสามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
- ปุ่ม 1 (เพิ่มสินค้าในชุด) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะขายลงใน ตาราง Product Set
(รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) โดยการเลือกสินค้า ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ
A. ระบบ Stock ติดลบได้ - เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าเลือกรายการสินค้า Pop up
ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
A . ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ
โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง
Product Detail ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ จากในตาราง
- หากยังไม่เคยมีข้อมูลสินค้า
สามารถเพิ่มรายการสินค้าใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า)
C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click
ที่รายการสินค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า ก็ได้
- หรือ Click เลือกรายการสินค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter
เพื่อยืนยันการเลือกสินค้าก็ได้
- เมื่อเลือกรายการสินค้าแล้ว สินค้าจะเข้ามาอยู่ในตาราง Product Set
(รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) ในหน้าขาย โดยสามารถเลือกรายการสินค้า มากกว่า 1 รายการก็ได้
โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าเลือกรายการสินค้า
B. ระบบ Stock ติดลบไม่ได้ - เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เลือกสินค้าในคลังสินค้า
Pop up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
A . ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ จากคลังสินค้า
โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง
Stock Detail (รายการสินค้าในคลังสินค้า) ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ จากในตาราง
C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click
ที่รายการสินค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า ก็ได้
- หรือ Click เลือกรายการสินค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter
เพื่อยืนยันการเลือกสินค้าก็ได้
- เมื่อเลือกรายการสินค้าแล้ว สินค้าจะเข้ามาอยู่ในหน้าขาย
โดยสามารถเลือกรายการสินค้าที่ต้องการ มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close
เพื่อปิดหน้าเลือกสินค้าในคลังสินค้า
- ปุ่ม 3 (แก้ไขสินค้าในชุด) - ใช้สำหรับแก้ไข จำนวน, หน่วย
ของรายการสินค้าที่อยู่ในชุดสินค้า ในบรรทัดที่เลือก ซึ่งเมื่อกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า
เพิ่มต่างขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนจะมีรายการสินค้าอยู่ 3 บรรทัดโดยบรรทัดกลาง
จะแสดงรายการสินค้าที่ต้องการแก้ไข ส่วนบรรทัดบนจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า
ที่อยู่บนบรรทัดที่ต้องการแก้ไข และ บรรทัดล่างจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า
ที่อยู่ล่างบรรทัดที่ต้องการแก้ไข
- เราสามารถแก้ไข ข้อมูลได้ดังต่อไปนี้
- ชื่อสินค้าที่จะขาย - สามารถเปลี่ยนชื่อสินค้าที่จะขายในใบขายใบนี้ได้
โดยจะมีผลเวลาพิมพ์ใบขายสินค้า จะเหมาะสำหรับในบางกรณีที่ ขายสินค้าให้กับทางราชการ
ซึ่งบางทีต้องการชื่อสินค้าเป็นภาษาไทย แต่ในระบบเราได้ป้อนเป็นภาษาอังกฤษ เช่น CPU
แต่อยากจะให้แสดงในใบขายเป็น หน่วยประมวลผล เป็นต้น
- โดยปกติโปรแกรมจะถูกตั้งค่าไว้ไม่ให้
แก้ไขชื่อสินค้าเวลาขายสินค้า แต่ก็สามารถ ตั้งค่าให้เปลี่ยนชื่อสินค้าเวลาขายได้ โดยการตั้งค่าที่ เมนู Data
(ข้อมูล) -> Branch (สาขา) -> Set Default Property (กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab
ขาย -> การเปลี่ยนชื่อสินค้าเวลาขาย (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน สาขา (Branch) ) - จำนวน - จำนวนที่จะขาย ต่อสินค้า 1 ชุด
- Unit [F2] - ในหน้าจอนี้เราสามารถเลือกหน่วยได้ โดย Click ที่ Unit
(F2) ก็จะมีหน้าต่างสำหรับเลือกหน่วยขึ้นมาดังภาพ
โดยให้เราเลือกหน่วยที่ต้องการแล้วกดปุ่ม
OK เพื่อกลับไปหน้า
แก้ไขจำนวน, หน่วย และ ราคาสินค้า
- หากเป็นระบบ Stock ติดลบไม่ได้ จะมีจำนวน Stock แสดงอยู่ Colum
ด้านขวาสุด จะเอาไว้แสดงว่าตอนนี้สินค้านี้ เหลืออยู่ในคลังสินค้ากี่ชิ้น
- วิธีการเลื่อนบรรทัดสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
A. กดลูกศร ขึ้น เพื่อเลื่อนบรรทัดขึ้น
B. กดลูกศร ลง เพื่อเลื่อนบรรทัดลง
C. กดปุ่ม Enter จนกว่าจะเลื่อนบรรทัด - การกดปุ่ม Enter
นี้จะใช้ประโยชน์ได้มาก และประหยัดเวลาที่เราจะต้องเอา Mouse ไปเลือกแก้ไขทีละรายการ
โดยเมื่อป้อนจำนวนเสร็จ ให้กด Enter ก็จะเป็นการเลื่อนบรรทัด
- ข้อมูลจะถูกแก้ไขก็ต่อเมื่อทำการเลื่อนบรรทัดแล้วเท่านั้น
- ปุ่ม 4 (ลบสินค้าในชุด) - ใช้สำหรับลบของรายการสินค้าใน ตาราง Product Set
(รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) โดยเลือกรายการที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม 4 (ลบสินค้าในชุด)
3. ระบบขายสินค้าแบบมีสินค้าที่มีวันหมดอายุ - ในหน้าขาย ของระบบสินค้าที่มีวันหมดอายุ จะสามารถระบุได้ว่าสินค้าที่กำลังจะขายนี้
หมดอายุวันไหน ซึ่งในระบบสินค้าหมดอายุ สามารถใช้คู่กับระบบ สินค้าชุดได้ โดยในส่วน Help
นี้จะอธิบายระบบสินค้าหมดอายุ ที่ใช้คู่กับระบบสินค้าชุดไปด้วยกัน ซึ่งเนื้อหาจะครอบคลุมกว่า
- จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เป็นส่วนสินค้าที่มีวันหมดอายุเท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ
ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
1. ส่วนตาราง Expirt - ในตารางนี้จะแสดงวันหมดอายุของสินค้าที่ ของรายการสินค้าที่จะขาย
ในบรรทัดที่ Focus อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) หรือ ตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด)
โดยจะแสดงจำนวนสูงสูดที่ สามารถป้อนวันหมดอายุได้ และจำนวนที่ป้อนไปแล้วในขณะนี้
โดยในตารางสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
- Expire Date - วันหมดอายุของสินค้า
- จำนวน - จำนวนของสินค้าที่หมดอายุในวันที่ระบุใน Expire Date
3. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตารางวันหมดอายุ - สามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
- ปุ่ม 6(เพิ่มExpire) - ใช้สำหรับเพิ่มวันหมดอายุสินค้า ลงในตารางวันหมดอายุ
ซึ่งเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เลือกวันหมดอายุ ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน โปรแกรมจะดึงข้อมูลในคลังสินค้ามาว่า ในขณะนี้ สินค้านี้
มีของที่มีวันหมดอายุ เหลืออยู่อย่างละกี่ชิ้น จากนั้นให้เลือกวันที่หมดอายุ ของสินค้า แล้ว กดปุ่ม Enter หรือ
กดปุ่ม OK หรือ Double click ที่รายการที่เลือก แล้วจะมีหน้าให้ป้อนจำนวนที่ต้องการนำมาขาย
ดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน ให้ป้อนจำนวนที่ต้องการนำมาขาย
โดยโปรแกรมจะทำการระบุจำนวนที่มากที่สุด ที่สามารถจะป้อนได้มาให้โดยอัตโนมัติ
ซึ่งหากต้องการแก้ไขก็สามารถระบุจำนวนที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Enter หรือ ปุ่ม OK เพื่อเป็นการเพิ่ม
จำนวนขาย ของสินค้าที่มีวันหมดอายุ ตามรายการที่เลือกลงในตาราง Expire (ตารางวันหมดอายุ)
- ปุ่ม 7(ลบExpire) - ใช้สำหรับลบรายการวันหมดอายุของสินค้า ออกจากตาราง Expire
(ตารางวันหมดอายุ) โดยเลือกรายการที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม 7(ลบExpire)
- ปุ่ม 8(Auto Expire) - ใช้สำหรับให้โปรแกรม ทำการเลือกตัดสินค้าที่ใกล้หมดอายุ
ออกไปก่อนโดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องระบุ วันที่หมดอายุ และ จำนวนของวันหมดอายุ เวลาขาย
เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการขาย แต่ถ้าให้โปรแกรมทำ Auto Expire เวลาที่เราทำการขายสินค้า
จะต้องหยิบสินค้าที่ใกล้หมดอายุ ขายออกไปก่อนทุกครั้ง เพื่อทำให้ Stock วันหมดอายุตรงกับในโปรแกรม
- ถ้าหากปุ่ม 8(Auto Expire) อยู่ในสภาพเช็คถูกจะมีหน้าจอดังภาพด้านล่าง
- โดยปกติแล้วถ้าลงโปรแกรม SabuySoft ครั้งแรก ถ้าใช้ระบบสินค้าชุด
จะถูกตั้งค่าไว้ Default ให้เป็น Auto Expire ซึ่งเราสามารถไปเปลี่ยนค่า Default ได้ที่ เมนู Data (ข้อมูล) ->
Branch (สาขา) -> Set Default Property (กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab ขาย ->
ตัดสินค้าที่ใกล้หมดอายุออกก่อนโดยอัตโนมัติ (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน สาขา (Branch) )
4. ระบบขายสินค้าแบบมีสินค้าที่มี Serial Number - Serial Number หมายถึง หมายเลขประจำตัวของสินค้า ซึ่งหมายเลขที่สามารถเป็นตัวเลข หรือ
ตัวอักษรก็ได้ ที่ไม่ซ้ำกันเลยในในสินค้าชนิดเดียวกัน
- ในหน้าขายสามารถป้อน Serial Number ของสินค้าที่จะขายได้ โดยระบบสินค้าที่มี Serial Number
สามารถใช้คู่กับระบบ สินค้าชุดได้ โดยในส่วน Help นี้จะอธิบายระบบสินค้าที่มี Serial Number
ที่ใช้คู่กับระบบสินค้าชุดไปด้วยกัน ซึ่งเนื้อหาจะครอบคลุมกว่า
- จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เกี่ยวข้องกับส่วน Serial Number เท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ
ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
1. ส่วนตาราง Serial Number - ในตารางนี้จะแสดง Serial Number ของรายการสินค้าบรรทัดที่
Focus อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) หรือ ตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด)
โดยจะแสดงจำนวนสูงสูดที่ สามารถป้อน Serial Number ได้ และจำนวนที่ป้อนไปแล้วในขณะนี้
โดยในตารางสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
- Serial Number - หมายเลขประจำตัวสินค้าที่กำลังจะขาย
(ในสินค้าชนิดเดียวกันจะไม่ซ้ำกัน)
2. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตาราง Serial Number - สามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
- ปุ่ม 6(เพิ่มSerial) - ใช้สำหรับเพิ่ม Serial Number ลงในตาราง Serial Number
ซึ่งเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าให้ป้อน Serial Number ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนให้ป้อน Serial Number ที่ต้องการขายแล้วกด Enter หรือ กดปุ่ม
OK เพื่อเพิ่ม Serial Number ลงในตาราง Serial Number
- การป้อน Serial Number ควรใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดเป็นตัวป้อน
เพราะจะกันการป้อนผิด
- ปุ่ม 7(ลบExpire) - ใช้สำหรับลบรายการ Serial Number ของสินค้า ออกจากตาราง Serial
Number โดยเลือกรายการที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม 7(ลบExpire)
- ปุ่ม 8(เพิ่ม Serial แบบเลือก) - ใช้สำหรับเพิ่ม Serial Number ที่ต้องการขาย
โดยให้โปรแกรมแสดงหมายเลข Serial Number ทั้งหมดของสินค้านี้ แล้วเราจะทำการเลือกเอา
โดยเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าให้เลือก Serial Number ดังภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบน ในตาราง Serial Detail (รายละเอียด Serial Number) จะแสดง
Serial Number ของสินค้านี้ที่มีอยู่ในคลังสินค้าทั้งหมดขึ้นมา จากนั้นให้เลือกรายการ Serial Number
ที่ต้องการขาย แล้วให้กดปุ่ม OK เพื่อเพิ่ม Serial Number ที่เลือกในตาราง Serial Number ในหน้าขาย
- ในกรณีที่มีรายการ Serial Number เยอะ สามารถที่จะค้นหาได้
โดยการพิมพ์ส่วนหนึ่งของ หมายเลข Serial Number ลงในช่อง ค้น Serial Number จากนั้นกด Search (ค้นหา)
แล้วข้อมูลที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Serial Detail (รายละเอียด Serial Number)
3. ส่วน Auto Input ด้านบน - สำหรับส่วนนี้การใช้งานจะเหมือนกับ ที่ได้เคยอธิบายไว้แล้วด้านบน
แต่ในระบบ Serial Number จะเพิ่มวิธีป้อนข้อมูลในช่อง Auto Input มาอีก 1 วิธีคือ
- ป้อนโดยใช้ Serial Number - ป้อน Serial Number
ของสินค้าโดยอ่านใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือ ป้อนโดยใช้ Keyboard แล้วกดปุ่ม Enter ก็ได้
ถ้าหากโปรแกรมพบสินค้าที่มี Serial Number ตรงกับที่ป้อน ก็จะดึงรายการสินค้า มาใส่ในตาราง Product
(รายการสินค้า) พร้อมกับป้อนข้อมูล Serial Number ลงในตาราง Serial Number ให้ด้วย
- การป้อน Serial Number ในบางครั้งอาจมีความเป็นไปได้ว่า Serial Number
ที่ป้อนไปนั้น เป็น Serial Number ของสินค้า 2 รายการซึ่งเหมือนกัน ซึ่งถ้าเกิดกรณีนั้น โปรแกรมจะมีหน้าจอ
ขึ้นมาให้เลือกว่า คุณต้องการขาย Serial Number ของสินค้าตัวไหน ดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนจะมีรายการสินค้าขึ้นมาให้เลือก 2 รายการ โดยทั้ง 2
รายการนี้มี Serial Number เหมือนกัน ให้เราเลือกสินค้าที่ต้องการจะขาย จากนั้นกดปุ่ม OK
เพิ่มทำการเพิ่มรายการสินค้าที่เลือก กับ Serial Number ที่ป้อนลงใน ตาราง Product (รายการสินค้า) กับ ตาราง
Serial Number ในหน้าขาย
4. ปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า) - สำหรับปุ่มนี้ วีธีการใช้งานจะเหมือนด้านบนที่เคยอธิบายไว้แล้ว
แต่ในระบบ Serial Number จะมีสามารถเลือก Serial Number ที่ต้องการจะขายในหน้า Select Product In
Stock ได้เลย โดยเมื่อกดปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า) แล้วจะมีหน้า เลือกสินค้าในคลังสินค้าขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนให้ค้นให้ทำตามขึ้นตอนนี้
A . ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ จากคลังสินค้า
โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Stock
Detail (รายการสินค้าในคลังสินค้า) ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ เพิ่มสินค้าที่จะขายโดยใช้ Serial
Number จากในตาราง
C. กดปุ่ม View SN (ดู SN) แล้วจะมีหน้าจอขึ้นมาให้เลือก Serial Number
ดังภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบนให้เลือก Serial Number ที่ต้องการขาย แล้วกดปุ่ม Enter
หรือ Double Click ที่รายการ Serial Number หรือกดปุ่มOK เพื่อทำการเพิ่มรายการสินค้าที่จะขาย พร้อม Serial
Number ลงในหน้าขาย
5. ส่วน Auto Input ด้านล่าง - สำหรับส่วนนี้การใช้งานจะเหมือนกับ ส่วน Auto Input ด้านบน
ที่ได้เคยอธิบายไว้แล้วด้านบน เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มข้อมูลลงใน ตาราง Product Set (เพิ่มชุดสินค้าใหม่)
6. ปุ่ม 1 (เพิ่มสินค้าในชุด) - สำหรับปุ่มนี้ วีธีการใช้งานจะเหมือนกับปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า)
ด้านบนที่เคยอธิบายไว้แล้วด้านบน เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มข้อมูลลงใน ตาราง Product Set (เพิ่มชุดสินค้าใหม่)
- สำหรับในหน้าขายนี้ ด้านล่างจะมีช่องให้เช็คถูกตรงคำว่า Print Twice [ พิมพ์ใบขาย 2 ครั้ง ]
- ตรงนี้ถ้าเช็คถูกแล้วทำรายการขาย โปรแกรมจะทำการพิมพ์ใบขายออกมา 2 ครั้ง โดยสามารถตั้งค่า
Default ให้เป็น เช็คถูก ได้ที่ เมนู File (ไฟล์) -> Program Config (กำหนดค่าการใช้งานของโปรแกรม
จะมีผลเฉพาะเครื่องนี้) -> พิมพ์ใบขาย 2 ครั้ง หลังจากทำรายการขาย (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน กำหนดค่าการใช้งานโปรแกรม เฉพาะเครื่องนี้ (Program Config) )
- หลังจากเราป้อนข้อมูล ในใบขายทั้งหมดครบถ้วนแล้ว ให้กดปุ่ม [F9] OK (Save)
เพื่อทำการบันทึกรายการขายสินค้าใบนี้ แล้วจะมีหน้าจอสำหรับเก็บเงินลูกค้าขึ้นมา
ให้ทำรับชำระเงินจากลูกค้า หรือ ถ้าหากลูกค้ายังไม่ชำระเงินในตอนนี้ ก็ให้กดปุ่ม OK ในหน้าเก็บเงิน
แล้วตอบ Yes ทีหนึ่ง จะเป็นการ Mark ว่าใบขายใบนี้ลูกค้ายังชำระเงินไม่ครบ
- ถ้าหากต้องการออกจากหน้าขายสินค้า โดยไม่ต้องการบันทึกรายการขาย ให้กดปุ่ม Cancel
เพื่อยกเลิกการทำรายการขายสินค้า