ซื้อสินค้า (Buy)
  

graphic
สามารถเข้าใช้งานหัวข้อนี้ได้จากเมนู [ Buy (ซื้อ) -> Buy (ซื้อสินค้า) ]
หัวข้อนี้ มีไว้สำหรับ ซื้อสินค้า
หัวข้อ ซื้อสินค้า ถือเป็นหัวข้อสำคัญ เพราะการที่จะเอาสินค้าเข้าคลังสินค้าได้ จะต้องทำโดยการซื้อสินค้าเข้า หรือ รับโอนสินค้าจากสาขาอื่นเท่านั้น

ซื้อสินค้า (Buy) มีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้
- ระบบการซื้อสินค้าของโปรแกรม SabuySoft สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระบบ คือ
                1. ระบบซื้อสินค้าแบบปกติ - จะมาคู่กับโปรแกรม SabuySoft Option, SabuySoft Minimart, SabuySoft Business
                2. ระบบซื้อสินค้าแบบมีสินค้าชุด - จะมาคู่กับโปรแกรม SabuySoft Professional หรือถ้าหากซื้อ Version อื่นไป สามารถที่จะ Upgrade เพิ่มเติมได้
                3. ระบบซื้อสินค้าแบบสินค้าที่มีวันหมดอายุ - ระบบนี้จะใช้คู่กับ สินค้าที่มี Serial Number ไม่ได้ และต้องใช้ คู่กับ ระบบสินค้าที่สามารถติดลบได้เท่านั้น (Negative Stock) ซึ่งถ้าหากซื้อ Version อื่นไป สามารถที่จะ Upgrade เพิ่มเติมได้
                4. ระบบซื้อสินค้าแบบสินค้าที่มี Serial Number - จะมาคู่กับโปรแกรม SabuySoft Professional โดยจะต้องใช้คู่กับ ระบบสินค้าที่ไม่สามารถติดลบได้ ซึ่งถ้าหากซื้อ Version อื่นไป สามารถที่จะ Upgrade เพิ่มเติมได้
                
- เพื่อความเข้าใจ จะเริ่มอธิบายเรียงตามลำดับ จากระบบที่ 1 (ระบบปกติ) ไปจนถึงระบบที่ 4 (ระบบ Serial Number)

1. ระบบซื้อสินค้าแบบปกติ
graphic
                - จากรูปด้านบน สามารถแบ่งขั้นตอนการใช้งาน เรียงตามตัวเลขดังนี้

graphic
                1. ส่วนระบุข้อมูลใบซื้อส่วนบน - ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ระบุข้อมูลของใบซื้อนี้ เช่น ซื้อจากใคร, เลขที่บิลอะไร, มีภาษีหรือไม่มีภาษี (ถ้ามีภาษี เป็นแบบแยกนอกหรือรวมใน) เป็นต้น โดยสามารถอธิบายข้อมูลที่จะต้องป้อนตามนี้คือ
                                - ปุ่ม Supplier - มีไว้สำหรับเลือกผู้จำหน่าย ว่าใบซื้อใบนี้เราซื้อสินค้าจากใคร ซึ่งจำเป็นต้องระบุ ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถบันทึกใบซื้อได้ ซึ่งถ้ากดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าต่างสำหรับเลือก Supplier (ผู้จำหน่าย) ดังภาพด้านล่าง
graphic
                                - จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
                                                A. ให้ค้นหาผู้จำหน่ายที่ต้องการ โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาผู้จำหน่ายแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
                                                B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการผู้จำหน่ายที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Supplier Detail (รายการเจ้าหนี้) ให้ Click เลือกรายการผู้จำหน่ายที่ต้องการ จากในตาราง
                                                                - หากยังไม่เคยมีข้อมูลผู้จำหน่าย สามารถเพิ่มรายการผู้จำหน่ายใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่ม)
                                                C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกผู้จำหน่าย
                                                                - ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการผู้จำหน่ายในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกผู้จำหน่าย ก็ได้
                                                                - หรือ Click เลือกรายการผู้จำหน่ายในตารางแล้วกดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันการเลือกผู้จำหน่ายก็ได้
                                                - เมื่อเลือกรายการผู้จำหน่ายแล้ว ชื่อผู้จำหน่ายก็จะปรากฏอยู่ในหน้าซื้อ
                                - Bill Number (เลขที่บิล) - ให้ป้อนเลขที่ใบซื้อของ ผู้จำหน่าย (ถ้ามี) ปกติเวลาซื้อสินค้าจากผู้จำหน่ายมา ถ้าได้รับใบเสร็จมาด้วย จะมีเลขที่บิลก็สามารถนำมาป้อนที่ช่องนี้ได้ ในการเก็บเลขที่บิลจะมีประโยชน์เวลาต้องการค้าหาใบซื้อ จะทำให้ค้นเจอได้ง่าย
                                - Date Time (วันที่) - ให้ระบุวันที่ซื้อของเข้า ถ้าผู้จำหน่ายมีใบเสร็จมาให้ ก็ควรจะป้อนวันที่ให้ตรงกับวันที่ ที่อยู่ในใบเสร็จ เพราะจะมีผลเวลารายงานภาษีซื้อภาษีขาย จะได้แสดงได้ถูกต้อง
                                                - ข้อควรระวังสำหรับการป้อน วันที่ซื้อ - ถ้าหากใช้ระบบสินค้าติดลบไม่ได้ จะไม่สามารถขายของที่ซื้อเข้ามาทีหลังได้ หรือกล่าวอีกอย่างว่า จะไม่สามารถขายสินค้า
ก่อนวันที่จะซื้อสินค้าได้ ถึงแม้ว่าจะป้อนใบซื้อก่อนที่จะเปิดใบขายแล้วก็ตาม เช่น ซื้อ สินค้า A มา 1 ชิ้น วันที่ 2 มกราคา 2575 แต่เปิดใบขายวันที่ 1 มกราคม 2575 จะไม่พบสินค้า A ในคลังสินค้า เนื่องจากวันที่ 1 มกราคม 2575 ของยังไม่ได้เข้าคลัง แต่มาเข้าเอาวันที่ 2 มกราคม 2575
                                - Tax (ภาษี) - ให้เลือกว่า ใบซื้อใบนี้ มีภาษีหรือไม่มีภาษี โดยสามารถเลือกได้ดังนี้
                                                - ยกเว้นภาษี (ไม่มีภาษี)
                                                - คิดภาษี (มีภาษี)
                                - Credit (วัน) - ป้อนจำนวนวันที่ทางผู้จำหน่ายให้เครดิตเรา เพื่อที่จะได้เอาไว้ดูว่าใกล้ถึง Deal ที่จะต้องชำระเงินให้กับผู้จำหน่ายหรือยัง
                                - Pay Type (วิธีการชำระเงิน) - ให้เลือกวิธีการชำระเงินใหักับผู้จำหน่าย โดยสามารถเลือกได้ดังนี้
                                                - เงินสด (Cash) - หลังจากบันทึกใบซื้อหมายความว่าได้ชำระเงินให้กับผู้จำหน่าย รายนี้เป็นเงินสดไปแล้ว
                                                - Unknow - หลังจากบันทึกใบซื้อหมายความว่าใบซื้อใบนี้ยังไม่ได้ ชำระเงินให้ผู้จำหน่าย โดยมากจะใช้กับผู้จำหน่ายที่ให้เครดิตเรา ซึ่งสามารถทำรับชำระเงินภายหลังได้ ในการเลือก Unknow มีประโยชน์ตรงนี้ เราสามารถดูรายงาน เจ้าหนี้ค้างชำระได้ ว่าเรายังไม่ได้ชำระเงินให้กับผู้จำหน่ายรายไหนบ้าง และมีบิลไหนบ้าง ยอดเงินเท่าไหร่
                                - VAT Status  (ลักษณะภาษี) - ระบุลักษณะภาษี ซึ่งการระบุนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อเลือก Tax (ภาษี) ให้เป็น คิดภาษี โดยสามารถเลือกได้ดังนี้
                                                - ราคาสินค้า ยังไม่รวมภาษี (แยกนอก) - เช่น สินค้า 100 บาท ต้องคิดภาษีอีก 7% เป็น 107 บาท
                                                - ราคาสินค้า รวมภาษีแล้ว (รวมใน) - เช่น สินค้า 100 บาท รวมภาษี 7% แล้ว และราคาก่อนคิดภาษี = 93.46 บาท
                                - จากใบสั่งซื้อเลขที่ - ตรงนี้จะป้อนข้อมูลเข้าไปไม่ได้ ซึ่งโปรแกรมจะดึง ID ของใบสั่งซื้อมาโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการทำรายการซื้อจากใบสั่งซื้อ
                                - ID - แสดง ID ของใบซื้อที่โปรแกรมสร้างขึ้น ถ้าหากเป็นการเปิดใบซื้อใบใหม่ ID ตรงนี้จะแสดงเป็น 0 แต่พอบันทึกโปรแกรมจะใส่ค่า ID ให้เอง แต่ถ้าหากเป็นการแก้ไขใบซื้อ ID ตรงนี้จะแสดง ID ของใบซื้อ ที่กำลังแก้ไขอยู่
                                - DocNo - แสดงหมายเลขเอกสาร (Document Number) ของใบซื้อที่โปรแกรมสร้างขึ้น ถ้าหากเป็นการเปิดใบซื้อใบใหม่ DocNo ตรงนี้จะแสดงเป็น 0 แต่พอบันทึกโปรแกรมจะใส่ค่า DocNo ให้เอง แต่ถ้าหากเป็นการแก้ไขใบซื้อ DocNo ตรงนี้จะแสดง DocNo ของใบซื้อ ที่กำลังแก้ไขอยู่       

graphic
                2. ส่วนตาราง Product (รายการสินค้า) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง รายการสินค้า ที่จะซื้อในใบซื้อใบนี้ โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
                                - ลำดับ - ลำดับที่ เริ่มตั้งแต่ 1 ลงไป (หรือหมายถึงบรรทัดที่)
                                - ID - ID ของสินค้า
                                - รหัสสินค้า - รหัสของสินค้า
                                - Barcode - บาร์โค้ดของสินค้า
                                - ชื่อสินค้า - ชื่อสินค้า
                                - จำนวน - จำนวนที่ซื้อ
                                - หน่วย - หน่วยที่ซื้อ
                                - ราคาก่อนลด - ราคาซื้อสินค้าต่อหน่วยก่อนได้รับส่วนลด
                                - ส่วนลด % - ส่วนลดของสินค้าต่อหน่วยเป็น %
                                - ราคาหลังลด - ราคาซื้อสินค้าหลังจากหักส่วนลดแล้ว
                                - จำนวนเงิน - จำนวนเงินรวมหลังหักส่วนลดแล้วของสินค้าที่ซื้อในบรรทัดนี้ (จำนวน x ราคาหลังลด )
                                - จำนวนสินค้าเป็นทศนิยมได้ - เช็คถูกหมายความว่าสินค้ารายการนี้สามารถ ป้อนจำนวนเป็นทศนิยมได้
                                - ในส่วนบนของตาราง จะมีเครื่องหมาย + กับ - ที่ใช้เอาไว้สำหรับปรับขนาดตัวหนังสือ ในตารางให้เล็กหรือใหญ่ได้ตามต้องการ

graphic
                3. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตาราง Product (รายการสินค้า) - สามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
                                - ปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะซื้อลงในตาราง Product (รายการสินค้า) โดยการเลือกสินค้า ซึ่งเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าเลือกรายการสินค้า Pop up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
                                                A. ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
                                                B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Product Detail ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ จากในตาราง
                                                                - หากยังไม่เคยมีข้อมูลสินค้า สามารถเพิ่มรายการสินค้าใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า)
                                                C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า
                                                                - ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการสินค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า ก็ได้
                                                                - หรือ Click เลือกรายการสินค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันการเลือกสินค้าก็ได้
                                                -  เมื่อเลือกรายการสินค้าแล้ว สินค้าจะเข้ามาอยู่ในหน้าซื้อ โดยสามารถเลือกรายการสินค้าที่ต้องการ มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าเลือกรายการสินค้า
                                - ปุ่ม [F2] เพิ่มโดยใช้ Barcode - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะซื้อลงในตาราง Product (รายการสินค้า) โดยการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งเมือกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เพิ่มสินค้าโดยใช้ Barcode ดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบน Cursor จะกระพิบที่ช่อง Barcode ให้ทำการอ่านบาร์โค้ด โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด โดยให้อ่านบาร์โค้ดของสินค้าที่ต้องการซื้อแค่ครั้งเดียวต่อ 1 ชนิด แล้วค่อยไปป้อนจำนวนซื้อ กับ ราคาซื้อเอาทีหลัง
                                                - ถ้าหากว่าอ่านสำเร็จ จะมีชื่อสินค้าขึ้นมาที่ช่องแสดงชื่อสินค้าที่ป้อนโดยใช้ บาร์โค้ดรายการล่าสุด
                                                - ในหน้านี้ให้เราใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดอ่านรายการที่จะซื้อจนพอใจแล้ว ให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าเพิ่มสินค้าโดยใช้ Barcode นี้
                                - ปุ่ม [F3] เพิ่มโดยใช้รหัสสินค้า - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะซื้อลงในตาราง Product (รายการสินค้า)  โดยใช้รหัสสินค้า ซึ่งเมื่อกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เพิ่มสินค้าโดยใช้รหัสสินค้า ดังภาพด้านล่าง
                graphic
                                                - จากภาพด้านบนให้ป้อน รหัสสินค้าที่ช่อง Product Code แล้วกดปุ่ม Enter ถ้ารหัสสินค้าถูกต้อง ในช่อง Product Name (ชื่อสินค้า) ก็จะแสดงชื่อสินค้าขึ้นมา
                                                - จากนั้นให้ใส่ จำนวนซื้อ โดยจำนวนนี้จะเป็นจำนวนต่อหน่วยเล็กที่สุดเท่านั้น (ถ้าต้องการแก้ไขหน่วยค่อยไปแก้ไขทีหลัง)
                                                - จากนั้นให้ใส่ราคาก่อนลด และ ส่วนลด แล้วกดปุ่ม Enter ที่ช่อง Discount (ส่วนลด) % แล้วรายการสินค้าก็จะเข้าไปอยู่ในหน้าซื้อสินค้า
                                - ปุ่ม Edit (แก้ไข) - ใช้สำหรับแก้ไข จำนวน, หน่วย, ราคาก่อนลด, ส่วนลด ของรายการสินค้าที่ต้องการซื้อ ในบรรทัดที่เลือกอยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) ซึ่งเมื่อกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า ต่างขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบนจะมีรายการสินค้าอยู่ 3 บรรทัดโดยบรรทัดกลาง จะแสดงรายการสินค้าที่ต้องการแก้ไข ส่วนบรรทัดบนจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า ที่อยู่บนบรรทัดที่ต้องการแก้ไข และ บรรทัดล่างจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า ที่อยู่ล่างบรรทัดที่ต้องการแก้ไข
                                                - เราสามารถแก้ไขจำนวน, หน่วย, ราคาก่อนลด ส่วนลด % ในแต่ละบรรทัด
                                                - วิธีการเลื่อนบรรทัดสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
                                                                A. กดลูกศร ขึ้น เพื่อเลื่อนบรรทัดขึ้น
                                                                B. กดลูกศร ลง เพื่อเลื่อนบรรทัดลง
                                                                C. กดปุ่ม Enter จนกว่าจะเลื่อนบรรทัด - การกดปุ่ม Enter นี้จะใช้ประโยชน์ได้มาก และประหยัดเวลาที่เราจะต้องเอา Mouse ไปเลือกแก้ไขทีละรายการ โดยเมื่อป้อนจำนวนเสร็จ ให้กด Enter จากนั้นก็ป้อน ราคาก่อนลด แล้วกด Enter แล้วป้อนส่วนลด % แล้วกด Enter ก็จะเป็นการเลื่อนบรรทัด
                                                - ในหน้าจอนี้เราสามารถเลือกหน่วยได้ โดย Click ที่ Unit (F2) ก็จะมีหน้าต่างสำหรับเลือกหน่วยขึ้นมาดังภาพ
graphic
                                                                โดยให้เราเลือกหน่วยที่ต้องการแล้วกดปุ่ม OK เพื่อกลับไปหน้า แก้ไขจำนวน, หน่วย และ ราคาสินค้า
                                                - ข้อมูลจะถูกแก้ไขก็ต่อเมื่อทำการเลื่อนบรรทัดแล้วเท่านั้น
                                - ปุ่ม Del (ลบ) - ใช้สำหรับลบของรายการสินค้าที่อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) โดยเลือกรายการที่ต้องการลบออกจากตาราง Product (รายการสินค้า) แล้วกดปุ่ม Del (ลบ)
                                - ปุ่ม Edit Sell Price (แก้ราคาขาย) - ใช้สำหรับแก้ไขรายคาขาย ซึ่งปกติแล้วการแก้ไขราคาขาย ต้องเข้าไปแก้หน้า Product (สินค้า) เท่านั้น แต่เวลาซื้อสินค้าเข้าบางทีราคาทุน มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยอาจจะแพงขึ้น หรือถูกลง เราก็ต้องการปรับราคาขายในขณะซื้อสินค้าไปพร้อมๆ กัน วิธีใช้ก็ให้เลือกรายการสินค้าที่อยู่ใน รายการซื้อในตาราง Product (รายการสินค้า) แล้วกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า แก้ไขราคาสินค้าขึ้นมา ดังภาพด้านล่าง
graphic
- จากรูปด้านบนเป็นหน้าสำหรับแก้ไขราคาสินค้า โดยเราสามารถแก้ไข ราคาขาย 1, ราคาขาย 2, ราคาขาย 3, ส่วนลดสมาชิก 1, ส่วนลดสมาชิก 2, ส่วนลดสมาชิก 3
- ด้านขวาของราคา จะมีกรอบ ราคาที่เคยซื้อล่าสุด เอาไว้ใช้สำหรับดูเป็นแนวทางในการ ตั้งราคาขาย และส่วนลดสำหรับสมาชิก แต่ราคาซื้อล่าสุดที่ปรากฎนี้ ไม่ใช่ราคาซื้อของรายการสินค้าที่จะซื้อในบิลซื้อใบนี้ เพราะใบซื้อที่กำลังทำอยู่นี้ยังไม่ได้ ถูกบันทึก
- เมื่อแก้ไขราคาเสร็จแล้วให้กดปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกการแก้ไข หรือ หากไม่ต้องการบันทึกให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้า แก้ไขราคาสินค้า โดยไม่ทำการบันทึก
                                - ปุ่ม Last Buy Price (ดูราคาซื้อล่าสุด) - ปุ่มนี้ใช้สำหรับดูว่าราคาที่ซื้อล่าสุด ซื้อมาจากใคร และ ราคาเท่าไหร่บ้าง วิธีใช้ก็ให้เลือกรายการสินค้าที่อยู่ใน รายการซื้อในตาราง Product (รายการสินค้า) แล้วกดปุ่มนี้ (หากเลือก Supplier (ผู้จำหน่าย) ก่อนกดปุ่มนี้จะเป็นการดูราคาซื้อล่าสุด เฉพาะของผู้จำหน่ายรายนี้เท่านั้น) แล้วจะมีหน้า ดูราคาซื้อล่าสุดขึ้นมา ดังภาพด้านล่าง
graphic
- จากภาพด้านบนจะแสดงให้เห็นราคาของสินค้าชื่อ Product 3 ที่ซื้อมา 5 รายการล่าสุด ว่าซื้อมาจากใคร วันที่เท่าไหร่ และ ราคาเท่าไหร่
- ในหน้านี้สามารถค้นหารายการสินค้าอื่นๆ ได้อีกโดยรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่หน้า รายงาน ราคาซื้อสินค้าล่าสุด (Report Product Last Buy Price)
- ถ้าต้องการออกจากหน้านี้ให้กดปุ่ม Close

graphic
                4. ส่วนระบุข้อมูลใบซื้อส่วนล่าง - ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ระบุข้อมูลส่วนท้ายของใบซื้อนี้ มีข้อมูลที่สามารถป้อนได้ตามนี้คือ
                                - ส่วนลด % - ช่องนี้มีไว้สำหรับป้อนส่วนลด % โดยส่วนลดนี้จะเป็นส่วนลดทั้งใบซื้อ ที่ลดหลังจากรวมราคาซื้อทุกรายการแล้ว
                                - ส่วนลดเงินสด - ช่องนี้มีไว้สำหรับป้อนส่วนลดเงินสด โดยส่วนลดนี้จะเป็นส่วนลดทั้งใบซื้อ ที่ลดหลังจากรวมราคาซื้อทุกรายการแล้ว

2. ระบบซื้อสินค้าแบบมีสินค้าชุด
                - สินค้าชุดหมายถึง สินค้าที่ขายเป็นชุด เช่น ชุดกระเช้าของขวัญ ที่ประกอบด้วย เครื่องดื่ม, นมผง, ช็อกโกแลต, ชาเขียว, ... เป็นต้น
graphic
                - จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เป็นส่วนสินค้าชุดเท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานจะเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
                
graphic
                1. ปุ่ม Add New Set (เพิ่มชุดสินค้าใหม่) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าชุดที่จะขาย เวลากดปุ่มนี้แล้ว จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ป้อน ชื่อสินค้าชุดดังภาพต่อไปนี้
graphic
                                - จากภาพด้านบนให้ป้อน ชื่อชุดสินค้า จากนั้นกด Enter หรือกดปุ่ม OK เพื่อให้รายการชุดสินค้า ไปอยู่ในรายการซื้อสินค้า โดยมีจำนวน 1 ชุดและราคาเป็น 0 บาท ซึ่งถ้าหากต้องการแก้จำนวนชุด และ ราคาที่ขาย ค่อยแก้ภายหลัง

graphic
                2. ส่วนตาราง Product Set (รายการสินค้าในสินค้าชุด ต่อ 1 ชุด) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง รายการสินค้าที่อยู่ในสินค้าชุด จำนวน 1 ชุด ซึ่งจะแสดงก็ต่อเมื่อ รายการสินค้าที่ Focus ในตาราง Product (รายการสินค้า) เป็นสินค้าชุด โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
                                - ลำดับ - ลำดับที่ เริ่มตั้งแต่ 1 ลงไป (หรือหมายถึงบรรทัดที่)
                                - ID - ID ของสินค้า
                                - รหัสสินค้า - รหัสของสินค้า
                                - Barcode - บาร์โค้ดของสินค้า
                                - ชื่อสินค้า - ชื่อสินค้า
                                - จำนวน - จำนวนที่ซื้อ
                                - หน่วย - หน่วยที่ซื้อ
                                - จำนวนสินค้าเป็นทศนิยมได้ - เช็คถูกหมายความว่าสินค้ารายการนี้สามารถ ป้อนจำนวนเป็นทศนิยมได้

graphic
                3. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตารางสินค้าที่อยู่ในชุด - ส่วนปุ่มนี้จะสามารถกดได้ ก็ต่อเมื่อมีการเลือกรายการสินค้าชุด ที่อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) โดยสามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
                                - ปุ่ม 1 (เพิ่มสินค้า) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะซื้อลงใน ตารางสินค้าที่อยู่ในชุดสินค้า โดยการเลือกสินค้า ซึ่งเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าเลือกรายการสินค้า Pop up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
                                                A. ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
                                                B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Product Detail ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ จากในตาราง
                                                                - หากยังไม่เคยมีข้อมูลสินค้า สามารถเพิ่มรายการสินค้าใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า)
                                                C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า
                                                                - ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการสินค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า ก็ได้
                                                                - หรือ Click เลือกรายการสินค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันการเลือกสินค้าก็ได้
                                                -  เมื่อเลือกรายการสินค้าแล้ว สินค้าจะเข้ามาอยู่ในหน้าตารางสินค้าที่อยู่ในชุด ในหน้าซื้อ โดยสามารถเลือกรายการสินค้า มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าเลือกรายการสินค้า
                                - ปุ่ม 2 (เพิ่มโดยใช้ Barcode) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะซื้อลงในตาราง สินค้าที่อยู่ในชุดสินค้า โดยการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งเมือกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เพิ่มสินค้าโดยใช้ Barcode ดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบน Cursor จะกระพิบที่ช่อง Barcode ให้ทำการอ่านบาร์โค้ด โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด โดยให้อ่านบาร์โค้ดของสินค้าที่ต้องการซื้อแค่ครั้งเดียวต่อ 1 ชนิด แล้วค่อยไปป้อนจำนวนซื้อเอาทีหลัง
                                                - ถ้าหากว่าอ่านสำเร็จ จะมีชื่อสินค้าขึ้นมาที่ช่องแสดงชื่อสินค้าที่ป้อนโดยใช้ บาร์โค้ดรายการล่าสุด
                                                - ในหน้านี้ให้เราใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดอ่านรายการที่จะซื้อจนพอใจแล้ว ให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าเพิ่มสินค้าโดยใช้ Barcode นี้
                                - ปุ่ม 3 เพิ่มโดยใช้รหัสสินค้า - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะซื้อลงในตาราง สินค้าที่อยู่ในชุดสินค้า โดยใช้รหัสสินค้า ซึ่งเมื่อกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เพิ่มสินค้าโดยใช้รหัสสินค้า ดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบนให้ป้อน รหัสสินค้าที่ช่อง Product Code แล้วกดปุ่ม Enter ถ้ารหัสสินค้าถูกต้อง ในช่อง Product Name (ชื่อสินค้า) ก็จะแสดงชื่อสินค้าขึ้นมา
                                                - จากนั้นให้ใส่ จำนวนซื้อ โดยจำนวนนี้จะเป็นจำนวนต่อหน่วยเล็กที่สุดเท่านั้น (ถ้าต้องการแก้ไขหน่วยค่อยไปแก้ไขทีหลัง)
                                                - จากนั้นกดปุ่ม Enter ที่ช่อง Number (จำนวน) แล้วรายการสินค้าก็จะเข้าไปอยู่ในหน้าซื้อสินค้า ในส่วนของสินค้าที่อยู่ในชุดสินค้า
                                - ปุ่ม 4 (แก้ไข) - ใช้สำหรับแก้ไข จำนวน, หน่วย ของรายการสินค้าที่อยู่ในชุดสินค้า ในบรรทัดที่เลือก ซึ่งเมื่อกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เพิ่มต่างขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบนจะมีรายการสินค้าอยู่ 3 บรรทัดโดยบรรทัดกลาง จะแสดงรายการสินค้าที่ต้องการแก้ไข ส่วนบรรทัดบนจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า ที่อยู่บนบรรทัดที่ต้องการแก้ไข และ บรรทัดล่างจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า ที่อยู่ล่างบรรทัดที่ต้องการแก้ไข
                                                - เราสามารถแก้ไขจำนวน, หน่วย ในแต่ละบรรทัด
                                                - วิธีการเลื่อนบรรทัดสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
                                                                A. กดลูกศร ขึ้น เพื่อเลื่อนบรรทัดขึ้น
                                                                B. กดลูกศร ลง เพื่อเลื่อนบรรทัดลง
                                                                C. กดปุ่ม Enter เพื่อเลื่อนบรรทัดลง
                                                - ในหน้าจอนี้เราสามารถเลือกหน่วยได้ โดย Click ที่ Unit (F2) ก็จะมีหน้าต่างสำหรับเลือกหน่วยขึ้นมาดังภาพ
graphic
                                                                โดยให้เราเลือกหน่วยที่ต้องการแล้วกดปุ่ม OK เพื่อกลับไปหน้า แก้ไขจำนวน, หน่วย และ ราคาสินค้า
                                                - ข้อมูลจะถูกแก้ไขก็ต่อเมื่อทำการเลื่อนบรรทัดแล้วเท่านั้น
                                - ปุ่ม 5 (ลบ) - ใช้สำหรับลบของรายการสินค้าใน ตารางสินค้าที่อยู่ในชุดสินค้า โดยเลือกรายการที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม 5 (ลบ)

3. ระบบซื้อสินค้าแบบมีสินค้าที่มีวันหมดอายุ
                - ในหน้าซื้อ ของระบบสินค้าที่มีวันหมดอายุ จะสามารถระบุได้ว่าสินค้าที่กำลังจะซื้อนี้ หมดอายุวันไหน ซึ่งในระบบสินค้าหมดอายุ สามารถใช้คู่กับระบบ สินค้าชุดได้ โดยในส่วน Help นี้จะอธิบายระบบสินค้าหมดอายุ ที่ใช้คู่กับระบบสินค้าชุดไปด้วยกัน ซึ่งเนื้อหาจะครอบคลุมกว่า
graphic
                - จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เป็นส่วนสินค้าที่มีวันหมดอายุเท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
                
graphic
                1. ส่วนตารางวันหมดอายุของสินค้า  - ในตารางนี้จะแสดงวันหมดอายุของสินค้า ของรายการสินค้าบรรทัดที่ Focus อยู่ในตารางสินค้า หรือ ตารางสินค้าที่อยุ่ในชุดสินค้า โดยจะแสดงจำนวนสูงสูดที่ สามารถป้อนวันหมดอายุได้ และจำนวนที่ป้อนไปแล้วในขณะนี้ โดยในตารางสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
                                - Expire Date - วันหมดอายุของสินค้า
                                - จำนวน - จำนวนของสินค้าที่หมดอายุในวันที่ระบุใน Expire Date

graphic
                3. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตารางวันหมดอายุ - สามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
                                - ปุ่ม 6(เพิ่มExpire) - ใช้สำหรับเพิ่มวันหมดอายุสินค้าลงในตารางวันหมดอายุ ซึ่งเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าให้ป้อนวันหมดอายุ ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบนให้เลือกวันที่หมดอายุ ของสินค้า แล้วระบุจำนวน สินค้าที่หมดอายุในวันที่เลือก จากนั้นกดปุ่ม OK เพื่อเพิ่มจำนวนวันหมดอายุลงในตาราง วันหมดอายุ
                                - ปุ่ม 7(ลบExpire) - ใช้สำหรับลบรายการวันหมดอายุของสินค้า ออกจากตารางวันหมดอายุ โดยเลือกรายการที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม 7(ลบExpire)

4. ระบบซื้อสินค้าแบบมีสินค้าที่มี Serial Number
                - Serial Number  หมายถึง หมายเลขประจำตัวของสินค้า ซึ่งหมายเลขที่สามารถเป็นตัวเลข หรือ ตัวอักษรก็ได้ ที่ไม่ซ้ำกันเลยในในสินค้าชนิดเดียวกัน
                - ในหน้าซื้อสามารถป้อน Serial Number ของสินค้าที่จะซื้อได้ โดยระบบสินค้าที่มี Serial Number สามารถใช้คู่กับระบบ สินค้าชุดได้ โดยในส่วน Help นี้จะอธิบายระบบสินค้าที่มี Serial Number ที่ใช้คู่กับระบบสินค้าชุดไปด้วยกัน ซึ่งเนื้อหาจะครอบคลุมกว่า
graphic
                - จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เป็นส่วน Serial Number เท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
                
graphic
                1. ส่วนตาราง Serial Number - ในตารางนี้จะแสดง Serial Number ของรายการสินค้าบรรทัดที่ Focus อยู่ในตารางสินค้า หรือ ตารางสินค้าที่อยุ่ในชุดสินค้า โดยจะแสดงจำนวนสูงสูดที่ สามารถป้อน Serial Number ได้ และจำนวนที่ป้อนไปแล้วในขณะนี้  โดยในตารางสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
                                - Serial Number - หมายเลขประจำตัวสินค้า ที่ในสินค้าชนิดเดียวกันจะไม่ซ้ำกัน

graphic
                3. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตาราง Serial Number - สามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
                                - ปุ่ม 6(เพิ่มSerial) - ใช้สำหรับเพิ่ม Serial Number ลงในตาราง Serial Number ซึ่งเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าให้ป้อน Serial Number ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบนให้ป้อน Serial Number แล้วกด Enter หรือ กดปุ่ม OK เพื่อเพิ่ม Serial Number ลงในตาราง Serial Number
                                                - การป้อน Serial Number ควรใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดเป็นตัวป้อน เพราะจะกันการป้อนผิด
                                - ปุ่ม 7(ลบExpire) - ใช้สำหรับลบรายการ Serial Number ของสินค้า ออกจากตาราง Serial Number โดยเลือกรายการที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม 7(ลบExpire)
                                - ปุ่ม 8(เพิ่มช่วง Serial) - ใช้สำหรับเพิ่ม Serial Number ที่มีหมายเลข Serial Number Run ต่อๆ กัน (เช่น A001, A002, A003, A004, ... A100) ลงในตาราง Serial Number ซึ่งเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าให้ป้อน Serial Number ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบนให้ป้อน Serial ส่วนแรก ในตัวอย่างจะเป็น "A"
                                                - จากนั้นป้อน Serial ส่วนหลัง 1 ในตัวอย่างจะเป็น "001"
                                                - จากนั้นป้อน Serial ส่วนหลัง 2 ในตัวอย่างจะเป็น "001"
                                                - จากตัวอย่างที่ป้อนหมายความว่าจะป้อน Serial Number จำนวน 100 เลขโดยเรียงจาก A001, A002, A003, A004, A005, ... จนถึง A100
                                                - เมื่อป้อนเสร็จแล้วให้กดปุ่ม OK เพื่อเพิ่มกลุ่ม Serial Number ลงในตาราง Serial Number

- หลังจากเราป้อนข้อมูล ในใบซื้อทั้งหมดครบถ้วนแล้ว ให้กดปุ่ม [F9] OK (Save) เพื่อทำการบันทึกรายการซื้อสินค้าใบนี้ แล้วของก็จะเข้าคลังสินค้า

- ถ้าหากต้องการออกจากหน้าซื้อสินค้า โดยไม่ต้องการบันทึกรายการซื้อ ให้กดปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิกการทำรายการซื้อสินค้า