สามารถเข้าใช้งานหัวข้อนี้ได้จากเมนู [ Buy (ซื้อ) -> Buy View (ดูรายการซื้อสินค้า) ]
หัวข้อนี้ มีไว้สำหรับ ดูรายการซื้อสินค้า ที่เคยทำรายการซื้อไป พร้อมกับ สามารถ แก้ไขรายการซื้อสินค้า,
แก้ไขราคาซื้อสินค้า, ยกเลิกรายการซื้อสินค้า, ชำระเงินให้กับผู้จำหน่าย, พิพม์บาร์โค้ดสินค้าจากใบซื้อสินค้า,
พิพม์ใบซื้อสินค้า
ดูรายการซื้อสินค้า (Buy View) มีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้
- สำหรับหน้าจอดูรายการซื้อสินค้าของสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระบบ คือ
3. ดูรายการซื้อสินค้าแบบสินค้าที่มีวันหมดอายุ - ระบบนี้จะใช้คู่กับ สินค้าที่มี Serial Number ไม่ได้
และต้องใช้ คู่กับ ระบบสินค้าที่สามารถติดลบได้เท่านั้น (Negative Stock) ซึ่งถ้าหากซื้อ Version อื่นไป
สามารถที่จะ Upgrade เพิ่มเติมได้
- เพื่อความเข้าใจ จะเริ่มอธิบายเรียงตามลำดับ จากระบบที่ 1 (ระบบปกติ) ไปจนถึงระบบที่ 4 (ระบบ Serial
Number)
1. ดูรายการซื้อสินค้าแบบปกติ - จากรูปด้านบนสามารถแบ่งส่วนการอธิบาย วิธีการใช้งานได้ตามตัวเลขในภาพดังต่อไปนี้
1. ส่วนที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูล - เป็นส่วนที่ใช้ระบุขอบเขตในการค้นหาข้อมูลให้แคบลง
ในกรณีที่มีข้อมูล เยอะ การระบุขอบเขตในการค้นหาจะช่วยทำให้หาข้อมูลได้เร็วขึ้น
โดยส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น Tab ซึ่งในแต่ละ Tab ก็จะสามารถระบุขอบเขตในการค้นหาข้อมูลได้ ดังต่อไปนี้
Tab Buy 1 - สามารถระบุขอบเขตการค้นหาข้อมูลได้ ดังต่อไปนี้
- Buy ID - ID ของใบซื้อสินค้า
- DocNo (เลขที่เอกสาร) - เลขที่เอกสารของใบซื้อสินค้า
- Invoice No (เลขที่ใบกำกับ) - เลขที่ใบกำกับของใบซื้อสินค้า
- Start Date (ตั้งแต่วันที่) - ระบุวันที่เริ่มต้นที่ต้องการค้นหา
- End Date (ถึงวันที่) - ระบุวันที่สิ้นสุดที่ต้องการค้นหา
Tab Buy 2 - สามารถระบุขอบเขตการค้นหาข้อมูลได้ ดังต่อไปนี้
- Pay Type (วิธีชำระเงิน) - มีให้เลือก 4 กรณีดังต่อไปนี้
- ทุกวิธี
- เงินสด
- เช็ค
- เงินโอน
- Pay Status - สถานะการชำระเงิน มีให้เลือก 3 กรณีดังต่อไปนี้
- ทั้งชำระแล้ว และ ยังไม่ได้ชำระ
- ยังไม่ได้ชำระเงิน
- ชำระเงินแล้ว
- Status - มีให้เลือก 3 กรณีดังต่อไปนี้
- ดูทั้งที่ใช้อยู่และไม่ได้ใช้แล้ว
- ดูเฉพาะที่ใช้อยู่
- ดูเฉพาะที่ไม่ได้ใช้แล้ว
Tab Supplier (ผู้จำหน่าย) - สามารถระบุขอบเขตการค้นหาข้อมูลได้ ดังต่อไปนี้
- Supplier (ชื่อผู้จำหน่าย/เจ้าหนี้) - ชื่อของผู้จำหน่าย
- Supplier Tel - เบอร์โทรศัพท์ของผู้จำหน่าย
- Supplier Mobile (มือถือ) - เบอร์โทรศัพท์มือถือของผู้จำหน่าย
- Supplier Address (ที่อยู่) - ที่อยู่ของผู้จำหน่าย
Tab Product (สินค้า) - สามารถระบุขอบเขตการค้นหาข้อมูลได้ ดังต่อไปนี้
- Product Name - ชื่อสินค้า
- Product Group (กลุ่มสินค้า) - เลือกระบุเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ต้องการดูได้
- Brand (ยี่ห้อสินค้า) - เลือกระบุเฉพาะยี่ห้อสินค้าที่ต้องการดูได้
Tab Branch (สาขา) - สามารถระบุขอบเขตการค้นหาข้อมูลได้ ดังต่อไปนี้
- Branch Name (สาขา) - ชื่อสาขาที่ต้องการดูรายการซื้อ (Default)
จะเป็นสาขาที่ทำการ Log In เข้ามา แต่ถ้ามีสิทธิ์ในการดูรายการซื้อของสาขาอื่นได้
ก็สามารถเลือกดูรายการซื้อของสาขาอื่น ได้เช่นกัน
2. ตาราง
Buy (รายการซื้อสินค้า) - เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่ค้นหามาได้ มีหัวข้อดังต่อไปนี้
- Branch (สาขา) - ชื่อสาขา
- ID - ID ของใบซื้อสินค้า
- Doc No. - เลขที่เอกสาร
- Edit Count - จำนวนครั้งที่มีการแก้ไขรายการนี้
- Supplier Name (ชื่อผู้จำหน่าย) - ชื่อผู้จำหน่าย
- เลขที่บิล - เลขที่ใบกำกับใบซื้อ
- ราคาก่อน VAT - ราคาก่อนรวมภาษี
- ราคาหลัง VAT - ราคาหลังรวมภาษีแล้ว
- Doc Date - วันที่เอกสาร
- Credit (วัน) - จำนวนวันที่ผู้จำหน่ายให้เครดิตในการชำระเงิน
- Due Date - วันครบกำหนดชำระเงินให้กับผู้จำหน่าย
- Paid Status - สถานะการชำระเงิน มี 2 กรณีดังต่อไปนี้
- ยังไม่ได้ชำระเงิน
- ชำระเงินแล้ว
- วิธีชำระเงิน - วิธีการชำระเงิน มี 3 กรณีดังต่อไปนี้
-
Unknow - ยังไม่ได้ชำระเงิน
- เงินสด - ชำระเป็นเงินสด
- เช็ค - ชำระเป็นเช็ค
- VAT Type - ลักษณะภาษี มี 2 กรณีดังต่อไปนี้
- แยกนอก - ราคาสินค้ายังไม่รวมภาษี
- รวมใน - ราคาสินค้ารวมภาษีแล้ว
- จำนวนเงินก่อนหักส่วนลด - จำนวนเงินรวมของทุกรายการสินค้า ในใบซื้อใบนี้
ก่อนหักส่วนลด
- ส่วนลด % - ส่วนลด % ของทั้งใบซื้อ
- ส่วนลดเงินสด - ส่วนลดเงินสดของทั้งใบซื้อ
- PercentVat - % ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- PO ID - บอกว่าเป็นการซื้อสินค้าจากใบ PO ID อะไร
- Status - บอกว่าใบซื้อสินค้านี้อยู่ในสถานะไหน - ใช้อยู่ หรือ ไม่ใช้แล้ว
- Create Officer - แสดงชื่อพนักงานที่เป็นคนสร้างรายการนี้ขึ้นมา
- Create Time - แสดงวันที่และเวลาที่สร้างรายการนี้ขึ้นมา
- Update Officer - แสดงชื่อพนักงานคนล่าสุดที่เป็นคนแก้ไขรายการนี้
- Update Time - แสดงวันที่และเวลาล่าสุดที่มีการแก้ไขรายการนี้
* สำหรับในตารางนี้ ถ้ารายการไหนยังไม่ได้ชำระเงินให้กับ ผู้จำหน่าย
รายการนั้นจะเป็นแถบสีเหลือง
* ส่วนด้านบนของตาราง จะแสดงยอดรวมราคาซื้อที่รวมภาษีแล้ว
ของใบซื้อสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในตาราง
3. ส่วนปุ่มที่ใช้กระทำการต่างๆ กับข้อมูลของรายการซื้อสินค้า ที่อยู่ในตาราง Buy (รายการซื้อสินค้า)
- ในนี้จะประกอบด้วย
- ปุ่ม Search (ค้นหา) - มีไว้สำหรับค้นหารายการซื้อสินค้า โดยก่อนค้นหา
สามารถระบุขอบเขตในการค้นหา ได้ที่ ส่วนที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูล (ส่วนที่ 1)
- ปุ่ม Edit (แก้ไข) - มีไว้สำหรับแก้ไขใบซื้อสินค้า เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าต่าง
แก้ไขใบซื้อสินค้าขึ้นมา โดย Form นี้จะเป็น Form เดียวกับหน้า
ซื้อสินค้า (Buy) เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วให้กดปุ่ม OK (Save) เพื่อทำการบันทึกการแก้ไข
- สำหรับการแก้ไขรายการซื้อ จะสามารถแก้ไขได้ ก็ต่อเมื่อ
รายการสินค้าที่ซื้อจากใบซื้อใบนี้ ยังไม่ได้ถูกขายออกไปแม้แต่รายการเดียว
แต่ถ้ามีการขายของที่ซื้อมากจากใบซื้อใบนี้ไปแล้ว โปรแกรมจะไม่ยอมให้แก้ไขใบซื้อ
เว้นแต่จะยกเลิกใบขายที่ขายของจากใบซื้อใบนี้ ให้หมดก่อนจึงจะสามารถแก้ไขได้
- การแก้ไขใบซื้อจะไม่สามารถทำได้
ถ้าหากว่ามีการใช้ของที่มาจากใบซื้อใบนี้แล้ว เช่น ถูกนำไปขายแล้ว หรือ เปิดใบลดหนี้ผู้จำหน่าย หรือ
โอนสินค้าไปยังสาขาอื่น หรือ ส่งซ่อมสินค้าให้กับผู้จำหน่าย
- ปุ่ม Edit Price (แก้ราคา) - ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขใบซื้อได้
เนื่องจากมีการของที่มาจากใบซื้อนี้ไปแล้ว แต่ถ้ามีความจำเป็นที่ต้องการแก้ไขราคาซื้อ (หรือราคาต้นทุน)
ก็สามารถทำได้โดยการกดปุ่มนี้ โดยเมื่อกดแล้วจะมี หน้าต่างแก้ไขราคาซื้อสินค้าขึ้นมา โดย Form นี้จะเป็น
Form เดียวกับหน้า ซื้อสินค้า (Buy) แต่จะไม่สามารถแก้ไขจำนวนได้ แก้ไขได้แต่ราคาเท่านั้น
โดยเมื่อแก้ไขเสร็จแล้วให้กดปุ่ม OK (Save) เพื่อทำการบันทึกการแก้ไข - ปุ่ม Delete (ลบ) - มีไว้ยกเลิกรายการซื้อ
- ให้เลือกรายการสินค้าที่ต้องการยกเลิกในตาราง Buy (รายการซื้อสินค้า)
แล้วกดปุ่ม Delete (ลบ) แล้วกดปุ่ม Yes เพื่อยืนยันการยกเลิก
- การยกเลิกสามารถยกเลิกได้ครั้งละหลายรายการ
- ถ้ายกเลิกไปแล้วสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้าจะถูกหักออกเท่ากับ
จำนวนสินค้าที่อยู่ในรายการซื้อ
- การยกเลิกจะไม่สามารถทำได้ ถ้าหากว่ามีการใช้ของที่มาจากใบซื้อใบนี้แล้ว เช่น
ถูกนำไปขายแล้ว หรือ เปิดใบลดหนี้ผู้จำหน่าย หรือ โอนสินค้าไปยังสาขาอื่น หรือ
ส่งซ่อมสินค้าให้กับผู้จำหน่าย
- ปุ่ม Pay (ชำระเงิน) - มีไว้ Mark ว่าใบซื้อใบนี้เราได้ทำการชำระเงินแล้วหรือยัง
โดยถ้าชำระแล้วชำระเป็น เงินสด หรือ เช็ค โดยถ้าต้องการทำชำระเงินให้เลือกรายการซื้อ ที่ยังไม่ได้ชำระเงิน
(สามารถเลือกได้มากกว่า 1 รายการ แต่ต้องเป็นรายการของผู้จำหน่ายรายเดียวกัน) แล้วกดปุ่ม Pay
(ชำระเงินค่าสินค้า) จะมีหน้าต่างชำระเงินขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน จะบอกว่ากำลังจะชำระเงินให้กับผู้จำหน่ายรายไหน จำนวนกี่บิล
รวมเป็นเงินเท่าไหร่ โดยสามารถเลือกวิธีการชำระได้ 2 วิธีดังต่อไปนี้
- เงินสด - ให้คลิ๊กตรงเครื่องหมายวงกลมหน้า 1 Cash (เงินสด)
จากนั้นกดปุ่ม OK แล้วโปรแกรมจะทำการรับชำระรายการซื้อที่เลือกเป็นเงินสด
- เช็ค - ให้คลิ๊กตรงเครื่องหมายวงกลมหน้า 2 Cheque (เช็ค)
จากนั้นก็ระบุข้อมูลของเช็ค ที่จะสั่งจ่ายให้ครบ จากนั้นกดปุ่ม OK แล้ว
โปรแกรมจะทำการรับชำระรายการซื้อที่เลือกเป็นเช็ค โดยข้อมูลที่ต้องป้อนมีดังต่อไปนี้
- BFI (สถาบันการเงิน) ให้กดปุ่มนี้เพื่อเลือกสถาบันการเงิน
โดยเมื่อกดแล้วจะมีหน้าต่างให้เลือก Select BFI (เลือกสถาบันการเงิน) ดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
A . ให้ค้นหาสถาบันการเงินที่ต้องการ
โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสถาบันการเงินแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
B. หลังจากการค้นหาแล้ว
รายการสถาบันการเงินที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง BFI Detail (รายการสถาบันการเงิน) ให้ Click
เลือกรายการสถาบันการเงินที่ต้องการ จากในตาราง
- หากยังไม่เคยมีข้อมูลสถาบันการเงิน
สามารถเพิ่มรายการสถาบันการเงินใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่ม)
C. กดปุ่ม OK
เพื่อยืนยันการเลือกสถาบันการเงิน
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click
ที่รายการสถาบันการเงินในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกสถาบันการเงิน ก็ได้
- หรือ Click
เลือกรายการสถาบันการเงินในตารางแล้วกดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันการเลือกสถาบันการเงินก็ได้
- เมื่อเลือกรายการสถาบันการเงินแล้ว
ชื่อสถาบันการเงินก็จะปรากฏอยู่ในหน้าชำระเงินค่าสินค้า
- Cheque Number (เลขที่เช็ค) - ระบุเลขที่เช็คที่สั่งจ่าย
- Pay Name (ชื่อผู้สั่งจ่าย) - ระบุว่าสั่งจ่ายให้ใคร
- Cheque Date (เช็คลงวันที่) - ระบุวันที่สั่งจ่าย
- ปุ่ม Print Barcode - มีไว้สำหรับดึงรายการสินค้าที่อยู่ใบใบซื้อ
มาทำการพิมพ์บาร์โค้ดสินค้า โดยให้เลือกรายการซื้อสินค้าที่อยู่ใน ตาราง Buy (รายการซื้อสินค้า) แล้วกดปุ่ม
Yes เพื่อเข้าสู่หน้าพิมพ์บาร์โค้ดสินค้า (สามารถดูวิธีการพิมพ์บาร์โค้ดได้ที่ พิมพ์บาร์โค้ดสินค้า (Print Barcode
Product) ) โดยโปรแกรมจะดึงรายการสินค้าและจำนวนที่ซื้อไปสู่หน้า พิมพ์บาร์โค้ดสินค้า ให้อัตโนมัติ - ปุ่ม Print (พิมพ์) - เอาไว้พิมพ์รายการใบซื้อสินค้าที่อยู่ใน ตาราง Buy (รายการซื้อสินค้า)
ออกทางเครื่องพิมพ์ โดยให้เลือกรายการซื้อสินค้าที่อยู่ใน ตาราง Buy (รายการซื้อสินค้า)
(สามารถเลือกได้มากกว่า 1 รายการ) จากนั้นกดปุ่ม Print (พิมพ์) แล้วจะมี Form
แสดงหน้าต่างเลือกแบบการพิมพ์ตามภาพด้านล่าง
- จากรูปด้านบน มีส่วนให้เลือกดังนี้
- เลือกเครื่องพิมพ์ที่ต้องการพิพม์ (โปรแกรมเลือก Printer ที่ตั้งค่าเป็น
Default มาให้)
- เลือกขนาดกระดาษที่ใช้พิมพ์ โดยมีขนาดกระดาษให้เลือกดังนี้
- ขนาด (9 x 5.5 นิ้ว)
- ขนาด (9 x 11 นิ้ว)
- ถ้าต้องการพิมพ์ Serial Number ให้ เช็คถูก หน้า Print Serial Number
(Serial Number จะแสดงเฉพาะ Version SabuySoft Professional เท่านั้น)
- ถ้าต้องการแสดงตัวอย่างก่อนพิมพ์ ให้เช็คถูกตรง Print Preview
(แสดงตัวอย่างก่อนพิมพ์)
- กดปุ่ม OK เพื่อสั่งพิมพ์ หรือกดปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิกการพิมพ์
4. ตาราง
Product (รายการซื้อสินค้า) - เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลในใบซื้อสินค้า
สำหรับส่วนนี้จะเป็นการแสดงข้อมูลในรายการซื้อสินค้า ที่กำลัง Focus อยู่ใน ตาราง Buy (รายการซื้อสินค้า)
ว่าภายในใบซื้อนี้ มีการซื้อสินค้าอะไรเข้ามาบ้าง แล้วซื้อมาเป็นจำนวน และราคาเท่าไหร่
โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนีี้
- ลำดับ - ลำดับ หรือบรรทัดที่
- ID - ID ของสินค้าที่โปรแกรมสร้างขึ้น
- รหัสสินค้า - รหัสสินค้า (Product Code)
- Barcode - บาร์โค้ดสินค้า
- ชื่อสินค้า
- จำนวน
- หน่วย
- ราคาก่อนลด - ราคาซื้อก่อนหักส่วนลด
- ส่วนลด % - ส่วนลด % ในแต่ละบรรทัด
- ราคาหลังลด - ราคาซื้อที่หักส่วนลดแล้ว (ราคาทุน)
- จำนวนเงิน - จำนวนเงินรวมของบรรทัดนี้ (ราคาหลังลด x จำนวน)
5. ส่วนที่ใช้แสดงข้อมูลการชำระเงิน - เป็นส่วนที่ใช้แสดงข้อมูลการชำเงินของ ใบซื้อสินค้าที่ Focus
อยู่ในตาราง Buy (รายการซื้อสินค้า) โดยจะเป็นข้อความดังต่อไปนี้
- ยังไม่ชำระ
- ชำระแล้ว
- ชำระโดย เงินสด
- ชำระโดย เช็ค
2. ดูรายการซื้อสินค้าแบบมีสินค้าชุด - สำหรับระบบสินค้าชุด ในหน้าดูรายการซื้อสินค้าจะเพิ่มส่วนตารางที่เอาไว้ แสดงสินค้า
ที่อยู่ในชุดสินค้า
- จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เป็นส่วนสินค้าชุดเท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ
ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานจะเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
1. ตาราง Product (รายการสินค้า) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง รายการสินค้าที่อยู่ในใบซื้อสินค้าที่
Focus อยู่ในตาราง Buy (รายการซื้อสินค้า) ซึ่งส่วนนี้ได้เคยอธิบายไว้ด้านบนแล้ว
ซึ่งในส่วนนี้จะมีทั้งรายการสินค้าปกติ กับ รายการสินค้าที่เป็นชุด
2. ตาราง Product Set (รายการสินค้าในชุดสินค้า ต่อ 1 ชุด) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง
ว่าในชุดสินค้าที่กำลัง Focus อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) ใน 1 ชุดนั้นจะประกอบด้วยสินค้าอะไรบ้าง
โดยมีหัวข้อที่แสดงดังต่อไปนี้
- ลำดับ - ลำดับ หรือบรรทัดที่
- ID - ID ของสินค้าที่โปรแกรมสร้างขึ้น
- รหัสสินค้า - รหัสสินค้า (Product Code)
- Barcode - บาร์โค้ดสินค้า
- ชื่อสินค้า
- จำนวน
- หน่วย
* สำหรับตารางนี้ จะแสดงรายการสินค้าที่อยู่ในชุด ก็ต่อเมื่อรายการที่ Focus อยู่ในตาราง
Product (รายการสินค้า) เป็นสินค้าชุดเท่านั้น
3. ดูรายการซื้อสินค้าแบบสินที่มีวันหมดอายุ - สำหรับระบบสินค้าที่มีวันหมดอายุ ในหน้าดูรายการซื้อสินค้าจะเพิ่มส่วนตารางที่เอาไว้
แสดงวันหมดอายุของสินค้า
- จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เป็นส่วนวันหมดอายุสินค้าเท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ
ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานจะเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
1. ตาราง
Product (รายการสินค้า) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง รายการสินค้าที่อยู่ในใบซื้อสินค้าที่
Focus อยู่ในตาราง Buy (รายการซื้อสินค้า) ซึ่งส่วนนี้ได้เคยอธิบายไว้ด้านบนแล้ว
ซึ่งในส่วนนี้จะมีทั้งรายการสินค้าปกติ กับ รายการสินค้าที่เป็นชุด
2. ตาราง
Product Set (รายการสินค้าในชุดสินค้า ต่อ 1 ชุด) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง
ว่าในชุดสินค้าที่กำลัง Focus อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) ใน 1 ชุดนั้นจะประกอบด้วยสินค้าอะไรบ้าง
ซึ่งส่วนนี้ได้เคยอธิบายได้ด้านบนแล้ว
3. ตาราง
Expire - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดงวันหมดอายุ ของรายการสินค้ากำลัง Focus
อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) หรือรายการสินค้าที่กำลัง Focus อยู่ในตาราง Product Set
(รายการสินค้าในชุดสินค้า ต่อ 1 ชุด) โดยมีหัวข้อที่แสดงดังต่อไปนี้
- Expire
Date - วันหมดอายุ
- จำนวน
- จำนวน
4. ดูรายการซื้อสินค้าแบบสินค้าที่มี Serial Number - สำหรับระบบสินค้าที่มี Serial Number ในหน้าดูรายการซื้อสินค้าจะเพิ่มส่วนตารางที่เอาไว้
แสดงหมายเลข Serial Number
- จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เป็นส่วน Serial Number เท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ
ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานจะเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
1. ตาราง Product (รายการสินค้า) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง รายการสินค้าที่อยู่ในใบซื้อสินค้าที่
Focus อยู่ในตาราง Buy (รายการซื้อสินค้า) ซึ่งส่วนนี้ได้เคยอธิบายไว้ด้านบนแล้ว
ซึ่งในส่วนนี้จะมีทั้งรายการสินค้าปกติ กับ รายการสินค้าที่เป็นชุด
2. ตาราง Product Set (รายการสินค้าในชุดสินค้า ต่อ 1 ชุด) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง
ว่าในชุดสินค้าที่กำลัง Focus อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) ใน 1 ชุดนั้นจะประกอบด้วยสินค้าอะไรบ้าง
ซึ่งส่วนนี้ได้เคยอธิบายได้ด้านบนแล้ว
3. ตาราง Serial - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง หมายเลข Serial Number ของรายการสินค้ากำลัง
Focus อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) หรือรายการสินค้าที่กำลัง Focus อยู่ในตาราง Product Set
(รายการสินค้าในชุดสินค้า ต่อ 1 ชุด) โดยมีหัวข้อที่แสดงดังต่อไปนี้
- Serial Number - หมายเลข Serial Number ของสินค้า
หากต้องการออกจากหน้านี้ สามารถกดปุ่ม ESC ที่ Keyboard หรือ กดปุ่ม Close
ที่หน้าจอเพื่อออกจากหน้านี้ได้