สามารถเข้าใช้งานหัวข้อนี้ได้จากเมนู [ Buy (ซื้อ) -> Purchase Order (สั่งซื้อสินค้า) ]
หัวข้อนี้ มีไว้สำหรับ ทำรายการสั่งซื้อสินค้า
การสั่งซื้อสินค้า ไม่ใช่เป็นการซื้อสินค้า หรือ รับของเข้าคลังสินค้า แต่เป็นการทำรายการสั่งซื้อสินค้า
เพื่อส่งรายการที่เราต้องการสั่งซื้อ ไปให้กับผู้จำหน่าย เพื่อเป็นการยืนยันกับผู้จำหน่ายว่า
เราต้องการสั่งซื้อสินค้าอะไร, จำนวนเท่าไหร่ และ ราคาเท่าไหร่บ้าง
สั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) มีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้
- จากรูปด้านบน สามารถแบ่งขั้นตอนการใช้งาน เรียงตามตัวเลขดังนี้
1. ส่วนระบุข้อมูลใบสั่งซื้อสินค้าส่วนบน - ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ระบุข้อมูลของใบสั่งซื้อนี้ เช่น
สั่งซื้อจากใคร, เลขที่บิลอะไร, มีภาษีหรือไม่มีภาษี (ถ้ามีภาษี เป็นแบบแยกนอกหรือรวมใน) เป็นต้น
โดยสามารถอธิบายข้อมูลที่จะต้องป้อนตามนี้คือ
- ปุ่ม
Supplier - มีไว้สำหรับเลือกผู้จำหน่าย ว่าใบสั่งซื้อใบนี้เราสั่งซื้อสินค้าจากใคร
ซึ่งจำเป็นต้องระบุ ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถบันทึกใบสั่งซื้อได้ ซึ่งถ้ากดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าต่างสำหรับเลือก
Supplier (ผู้จำหน่าย) ดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
A . ให้ค้นหาผู้จำหน่ายที่ต้องการ โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาผู้จำหน่ายแล้วกดปุ่ม
Search (ค้นหา)
B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการผู้จำหน่ายที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Supplier Detail
(รายการเจ้าหนี้) ให้ Click เลือกรายการผู้จำหน่ายที่ต้องการ จากในตาราง
- หากยังไม่เคยมีข้อมูลผู้จำหน่าย
สามารถเพิ่มรายการผู้จำหน่ายใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่ม)
C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกผู้จำหน่าย
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการผู้จำหน่ายในตาราง
เพื่อยืนยันการเลือกผู้จำหน่าย ก็ได้
- หรือ Click เลือกรายการผู้จำหน่ายในตารางแล้วกดปุ่ม Enter
เพื่อยืนยันการเลือกผู้จำหน่ายก็ได้
- เมื่อเลือกรายการผู้จำหน่ายแล้ว ชื่อผู้จำหน่ายก็จะปรากฏอยู่ในหน้าสั่งซื้อ
- Bill
Number (เลขที่ใบกำกับใบสั่งซื้อ) - ตรงนี้จะเป็นส่วนให้ป้อนเลขที่ใบกำกับใบสั่งซื้อ
โดยสามารถป้อนเลขที่ใบกำกับเอง หรือสามารถตั้งให้โปรแกรมป้อนให้แบบอัตโนมัติ (Auto Bill Number)
โดยการไปตั้งในหน้า Data (ข้อมูล) -> Branch (สาขา) -> Set Default Property
(กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab สั่งซื้อสินค้า -> สร้างเลขที่บิลแบบอัตโนมัติ
(สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน
สาขา (Branch) ) - ถ้าหากไม่มีการป้อนเลขที่ใบกำกับใบสั่งซื้อ เวลาพิมพ์ใบสั่งซื้อ โปรแกรมจะใช้
เลขที่เอกสาร (Doc Number) แสดงแทน
- Date
Time (วันที่) - ระบุวันที่ออกใบสั่งซื้อสินค้า
- Credit
(วัน) - ป้อนจำนวนวันที่เราต้องการขอ Credit จากผู้จำหน่าย
- Tax
(ภาษี) - ให้เลือกว่า ใบซื้อใบนี้ มีภาษีหรือไม่มีภาษี โดยสามารถเลือกได้ดังนี้
- ยกเว้นภาษี (ไม่มีภาษี)
- คิดภาษี (มีภาษี)
- VAT
Status (ลักษณะภาษี) - ระบุลักษณะภาษี ซึ่งการระบุนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อเลือก Tax (ภาษี)
ให้เป็น คิดภาษี โดยสามารถเลือกได้ดังนี้
- ราคาสินค้า ยังไม่รวมภาษี
(แยกนอก) - เช่น สินค้า 100 บาท ต้องคิดภาษีอีก 7% เป็น 107
บาท
- ราคาสินค้า รวมภาษีแล้ว
(รวมใน) - เช่น สินค้า 100 บาท รวมภาษี 7% แล้ว
และราคาก่อนคิดภาษี = 93.46 บาท
- Comment
(หมายเหตุ) - ป้อนหมายเหตุกำกับใบสั่งซื้อ (ถ้ามี)
- ID - แสดง ID ของใบสั่งซื้อที่โปรแกรมสร้างขึ้น ถ้าหากเป็นการเปิดใบสั่งซื้อใบใหม่ ID
ตรงนี้จะแสดงเป็น 0 แต่พอบันทึกโปรแกรมจะใส่ค่า ID ให้เอง แต่ถ้าหากเป็นการแก้ไขใบสั่งซื้อ ID
ตรงนี้จะแสดง ID ของใบสั่งซื้อ ที่กำลังแก้ไขอยู่
- DocNo - แสดงหมายเลขเอกสาร (Document Number) ของใบสั่งซื้อที่โปรแกรมสร้างขึ้น
ถ้าหากเป็นการเปิดใบสั่งซื้อใบใหม่ DocNo ตรงนี้จะแสดงเป็น 0 แต่พอบันทึกโปรแกรมจะใส่ค่า DocNo
ให้เอง แต่ถ้าหากเป็นการแก้ไขใบสั่งซื้อ DocNo ตรงนี้จะแสดง DocNo ของใบสั่งซื้อ ที่กำลังแก้ไขอยู่
2. ส่วนตาราง Product (รายการสินค้า) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง รายการสินค้า
ที่จะสั่งซื้อในใบสั่งซื้อใบนี้ โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
- ลำดับ - ลำดับที่ เริ่มตั้งแต่ 1 ลงไป (หรือหมายถึงบรรทัดที่)
- ID - ID ของสินค้า
- รหัสสินค้า - รหัสของสินค้า
- Barcode - บาร์โค้ดของสินค้า
- ชื่อสินค้า - ชื่อสินค้า
- จำนวน - จำนวนที่ซื้อ
- หน่วย - หน่วยที่ซื้อ
- ราคาก่อนลด - ราคาซื้อสินค้าต่อหน่วยก่อนได้รับส่วนลด
- ส่วนลด
% - ส่วนลดของสินค้าต่อหน่วยเป็น %
- ราคาหลังลด - ราคาซื้อสินค้าหลังจากหักส่วนลดแล้ว
- จำนวนเงิน - จำนวนเงินรวมหลังหักส่วนลดแล้วของสินค้าที่ซื้อในบรรทัดนี้ (จำนวน x ราคาหลังลด
)
- จำนวนสินค้าเป็นทศนิยมได้ - เช็คถูกหมายความว่าสินค้ารายการนี้สามารถ
ป้อนจำนวนเป็นทศนิยมได้
3. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตาราง Product (รายการสินค้า) - สามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
- ปุ่ม
Add (เพิ่มสินค้า) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะสั่งซื้อลงในตาราง Product (รายการสินค้า)
โดยการเลือกสินค้า ซึ่งเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าเลือกรายการสินค้า Pop up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ A . ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม
Search (ค้นหา)
B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Product
Detail ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ จากในตาราง
- หากยังไม่เคยมีข้อมูลสินค้า
สามารถเพิ่มรายการสินค้าใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า)
C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า
- ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการสินค้าในตาราง
เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า ก็ได้
- หรือ Click เลือกรายการสินค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter
เพื่อยืนยันการเลือกสินค้าก็ได้
- เมื่อเลือกรายการสินค้าแล้ว สินค้าจะเข้ามาอยู่ในหน้าสั่งซื้อสินค้า
โดยสามารถเลือกรายการสินค้าที่ต้องการ มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close
เพื่อปิดหน้าเลือกรายการสินค้า
- ปุ่ม
[F2] Add Barcode (เพิ่มโดยใช้ Barcode) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะซื้อลงในตาราง Product
(รายการสินค้า) โดยการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งเมือกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เพิ่มสินค้าโดยใช้ Barcode
ดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบน Cursor จะกระพิบที่ช่อง Barcode ให้ทำการอ่านบาร์โค้ด
โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด โดยให้อ่านบาร์โค้ดของสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อแค่ครั้งเดียวต่อ 1 ชนิด
แล้วค่อยไปป้อนจำนวน กับ ราคาเอาทีหลัง
- ถ้าหากว่าอ่านสำเร็จ จะมีชื่อสินค้าขึ้นมาที่ช่องแสดงชื่อสินค้าที่ป้อนโดยใช้
บาร์โค้ดรายการล่าสุด
- ในหน้านี้ให้เราใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดอ่านรายการที่จะสั่งซื้อจนพอใจแล้ว ให้กดปุ่ม Close
เพื่อปิดหน้าเพิ่มสินค้าโดยใช้ Barcode นี้
- ปุ่ม
Edit (แก้ไขสินค้า) - ใช้สำหรับแก้ไข จำนวน, หน่วย, ราคาก่อนลด, ส่วนลด
ของรายการสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ ในบรรทัดที่เลือกอยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า)
ซึ่งเมื่อกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า ต่างขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนจะมีรายการสินค้าอยู่
3 บรรทัดโดยบรรทัดกลาง
จะแสดงรายการสินค้าที่ต้องการแก้ไข ส่วนบรรทัดบนจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า
ที่อยู่บนบรรทัดที่ต้องการแก้ไข และ บรรทัดล่างจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า
ที่อยู่ล่างบรรทัดที่ต้องการแก้ไข
- เราสามารถแก้ไขจำนวน, หน่วย, ราคาก่อนลด ส่วนลด % ในแต่ละบรรทัด
- วิธีการเลื่อนบรรทัดสามารถทำได้
3 วิธีคือ
A. กดลูกศร ขึ้น เพื่อเลื่อนบรรทัดขึ้น
B. กดลูกศร ลง เพื่อเลื่อนบรรทัดลง
C. กดปุ่ม Enter จนกว่าจะเลื่อนบรรทัด - การกดปุ่ม Enter นี้จะใช้ประโยชน์ได้มาก
และประหยัดเวลาที่เราจะต้องเอา Mouse ไปเลือกแก้ไขทีละรายการ โดยเมื่อป้อนจำนวนเสร็จ ให้กด Enter
จากนั้นก็ป้อน ราคาก่อนลด แล้วกด Enter แล้วป้อนส่วนลด % แล้วกด Enter ก็จะเป็นการเลื่อนบรรทัด
- ในหน้าจอนี้เราสามารถเลือกหน่วยได้ โดย Click ที่ Unit (F2)
ก็จะมีหน้าต่างสำหรับเลือกหน่วยขึ้นมาดังภาพ
โดยให้เราเลือกหน่วยที่ต้องการแล้วกดปุ่ม
OK เพื่อกลับไปหน้า แก้ไขจำนวน,
หน่วย และ ราคาสินค้า
- ข้อมูลจะถูกแก้ไขก็ต่อเมื่อทำการเลื่อนบรรทัดแล้วเท่านั้น
- ปุ่ม
Del (ลบสินค้า) - ใช้สำหรับลบของรายการสินค้าที่อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า)
โดยเลือกรายการที่ต้องการลบออกจากตาราง Product (รายการสินค้า) แล้วกดปุ่ม Del (ลบ)
- ปุ่ม
Last Buy Price (ดูราคาซื้อล่าสุด) - ปุ่มนี้ใช้สำหรับดูว่าราคาที่ซื้อล่าสุด ซื้อมาจากใคร และ
ราคาเท่าไหร่บ้าง วิธีใช้ก็ให้เลือกรายการสินค้าที่อยู่ใน รายการซื้อในตาราง Product (รายการสินค้า)
แล้วกดปุ่มนี้ (หากเลือก Supplier (ผู้จำหน่าย) ก่อนกดปุ่มนี้จะเป็นการดูราคาซื้อล่าสุด
เฉพาะของผู้จำหน่ายรายนี้เท่านั้น) แล้วจะมีหน้า ดูราคาซื้อล่าสุดขึ้นมา ดังภาพด้านล่าง
- จากภาพด้านบนจะแสดงให้เห็นราคาของสินค้าชื่อ Product 2 ที่ซื้อมา 5 รายการล่าสุด
ว่าซื้อมาจากใคร วันที่เท่าไหร่ และ ราคาเท่าไหร่ - ถ้าต้องการออกจากหน้านี้ให้กดปุ่ม Close
4. ส่วนระบุข้อมูลใบสั่งซื้อส่วนล่าง - ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ระบุข้อมูลส่วนท้ายของใบสั่งซื้อนี้
มีข้อมูลที่สามารถป้อนได้ตามนี้คือ
- ส่วนลด
% - ช่องนี้มีไว้สำหรับป้อนส่วนลด % โดยส่วนลดนี้จะเป็นส่วนลดทั้งใบสั่งซื้อ
ที่ลดหลังจากรวมราคาสินค้าทุกรายการแล้ว
- ส่วนลดเงินสด - ช่องนี้มีไว้สำหรับป้อนส่วนลดเงินสด โดยส่วนลดนี้จะเป็นส่วนลดทั้งใบสั่งซื้อ
ที่ลดหลังจากรวมราคาสินค้าทุกรายการแล้ว
- หลังจากเราป้อนข้อมูล ในใบสั่งซื้อทั้งหมดครบถ้วนแล้ว ให้กดปุ่ม [F9] OK (Save)
เพื่อทำการบันทึกรายการสั่งซื้อสินค้าใบนี้ แล้วของก็จะเข้าคลังสินค้า
- ถ้าหากต้องการออกจากหน้าสั่งซื้อสินค้า โดยไม่ต้องการบันทึกรายการสั่งซื้อ ให้กดปุ่ม
Cancel
เพื่อยกเลิกการทำรายการสั่งซื้อสินค้า